วัดไข้เด็ก
เมื่อลูกน้อยมีไข้ ย่อมหมายถึงอุณหภูมิของร่างกายจะขึ้นสูงกว่าปกติ การวัดไข้เด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกแรกเกิดสามารถทำได้โดยการใช้ที่วัดไข้สำหรับเด็ก ด้วยการวัดทางหน้าผาก ทางปาก รักแร้ ทวารหนัก โดยการวัดไข้เด็กจะเป็นตัวบอกค่าวัดผลอุณหภูมิว่ามีเท่าไร ซึ่งอุณหภูมิมาตรฐานของคนเรา คือ 37 องศาเซลเซียส หากสูงกว่านี้แสดงว่าลูกน้อยมีไข้แล้ว คุณแม่ต้องรีบเช็ดตัวลูกน้อยก่อนในเบื้องต้นและหายาลดไข้ให้ทานในบทความนี้ Rakmor จะพาไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดไข้เด็ก ว่ามีวิธีการอย่างไร มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง !
ควรวัดไข้ทารกเมื่อไหร่
คุณแม่ย่อมทราบดีว่า เด็กทารกจะยังไม่สามารถสื่อสารออกเป็นคำพูดได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่จะทราบได้ว่าลูกน้อยไม่สบายได้อย่างไร คุณแม่ต้องสังเกตอาการจาก ตัวร้อน ดูดนมได้น้อยลง ไม่อึ ท้องอืดบวม อาเจียน ซึม ร้องไห้งอแง แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแม่ทราบถึงอาการที่แน่ชัดว่าลูกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว คือ การวัดไข้ทารก ดังนั้นคุณแม่ควรทราบก่อนว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ บ่งบอกถึงอาการไข้ในเด็กอย่างไร
- ไข้ต่ำ ๆ (Low Fever) หมายถึง อุณหภูมิที่ 37.5-38.4 องศาเซลเซียส
- ไข้ปานกลาง (Moderate Fever) หมายถึง อุณหภูมิที่ 38.5-39.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูง (High Fever) หมายถึง อุณหภูมิที่ 39.5-40.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูงมาก (Hyperpyrexia) หมายถึง อุณหภูมิที่ 40.5 องศาเซลเซียส
โดยปกติแล้วอุณหภูมิปกติของคนเราอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่ถ้าวัดอุณหภูมิเด็กทารกทางปาก รักแร้ หู แล้วเกิน 37.5 องศาเซลเซียส หรือ วัดไข้เด็ก ทางทวารหนักเกิน 38 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีไข้แล้วอย่างแน่นอน 100%
ทีนี้เราควรวัดไข้เด็กเมื่อใด บ่อยแค่ไหนกันแน่ ?
การวัดไข้เด็ก สามารถวัดได้ตามความเหมาะสม แต่หลังจากทานยาลดไข้แล้วสัก 2 ชั่วโมง สามารถวัดไข้เด็กได้เพื่อดูว่าไข้ลดหรือไม่ แต่หากไข้ไม่ลด คุณแม่สามารถเช็ดตัวลูกน้อยได้ก่อนในระหว่างนี้ รอจนครบ 4-6 ชั่วโมง จึงให้ทานยาลดไข้ได้อีก และหากลูกน้อยยังมีไข้หรือไข้สูงมาก แนะนำให้คุณแม่พาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันที เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานลูกน้อยอาจมีอาการชักได้
วัดไข้เด็กได้ทางไหนบ้าง
การวัดไข้เด็ก เราสามารถวัดได้หลายทางในวิธีที่เหมาะสมกับอายุของเด็ก ซึ่งการวัดไข้เด็กมีหลายทาง คือ การวัดไข้เด็กทางปาก, วัดไข้เด็กทางรักแร้, วัดไข้เด็กทางหู ,วัดไข้เด็กทางผิวหนัง ฯลฯ เรามาดูว่าการวัดไข้เด็กแต่ละวิธีวัดอย่างไร เหมาะกับเด็กวัยไหน
1.วัดไข้เด็กทางปาก (Oral Thermometer)
การวัดไข้เด็กทางปากเหมาะสำหรับเด็กที่สื่อสารได้รู้เรื่อง ควรเป็นเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการวัดไข้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะเด็กอาจกัดปรอทแตกได้ โดยในการวัดไข้เด็กทางปากก็มีสิ่งที่ต้องระวังดังนี้
- ก่อนวัดไข้เด็ก คุณแม่ควรตรวจดูภายในช่องปากว่าไม่มีสิ่งใดตกค้างอยู่ เช่น ลูกอม หมากฝรั่ง ขนม รวมถึงหลีกเลี่ยงการวัดไข้เด็กทันทีหลังการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม เพราะอาจมีผลต่ออุณหภูมิให้รอเวลา 20 -30 นาที จากนั้นค่อยลงมือวัดไข้เด็ก
- นำเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้เด็กสอดเข้าในปาก ให้ส่วนปลายที่วัดอุณหภูมิอยู่ตำแหน่งใต้ลิ้น ปิดปากให้สนิท ห้ามเคี้ยวหรือกัด ให้รอประมาณ 3-4 นาที เมื่อสารปรอทหยุดนิ่งก็อ่านค่าได้
- สำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล ให้รอจนกว่าสัญญาณเสียงดัง
คลิกอ่านเพิ่มเติม : วัดไข้ทางปาก วัดไข้ใต้ลิ้น กี่นาที มีวิธีการวัดอุณหภูมิผ่านปรอทอย่างไรบ้าง
2.วัดไข้เด็กทางรักแร้ Under The Armpit Thermometer
เป็นวิธีการวัดไข้เด็กที่นิยมที่สุด เพราะว่ามีความสะดวกและง่ายดาย แต่สำหรับผลอ่านค่าอาจให้ผลได้ไม่แม่นยำเท่ากับการวัดไข้เด็กทางปาก หรือการวัดไข้เด็กทางทวารหนัก ซึ่งการวัดไข้เด็กทางรักแร้เหมาะกับเด็กแรกเกิด และเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป การวัดไข้เด็กทางรักแร้มีข้อความระวังดังนี้
- ให้นำเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้เด็กสอดเข้าที่รักแร้ ให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางรักแร้ และทิ้งไว้สักพักสัก 3-5 นาที จนกว่าแถบสารปรอทหยุดนิ่ง
- หากใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้เด็กแบบดิจิทัล ให้สอดเข้าที่รักแร้รอจนสัญญาณเสียงดังขึ้น
- การอ่านค่าที่วัดได้ของอุณหภูมิทางรักแร้ จะต่ำกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การวัดไข้ทางรักแร้ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เวลาทั้งหมดกี่นาที
3.วัดไข้เด็กทางหู Ear Thermometer
เป็นการวัดไข้เด็กด้วยเทอร์โมมิเตอร์ทางหู การวัดไข้เด็กประเภทนี้เหมาะกับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะรูหูมีขนาดใหญ่พอที่ โดยแสงอินฟาเรดจะเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู ขณะที่วัดไข้เด็กควรดึงใบหูไปทางด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้รูหูตรง โดยคุณแม่หรือคุณพ่อควรวัดไข้เด็กทางหูอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย โดยมีสิ่งที่ควรระวังดังนี้
- ก่อนวัดไข้เด็กทางหู ควรตรวจเทอร์โมมิเตอร์ว่ามีสิ่งสกปรกอยู่หรือไม่ หากมีให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดออก จากนั้นค่อยใส่ฝาครอบเทอร์โมมิเตอร์
- หากเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ให้ดึงติ่งหูลงเอียงไปทางด้านหลัง แต่สำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 เดือน ให้ดึงติ่งหูขึ้นด้านบนและเอียงไปทางด้านหลังแทน
- ค่อย ๆ นำเทอร์โมมิเตอร์สอดเข้าในช่องหู ให้ตำแหน่งตัวรับอุณหภูมิอยู่ตรงตำแหน่งรูหู แล้ววัดอุณหภูมิเพื่ออ่านค่าการวัดไข้เด็ก
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การวัดไข้ทางหู ตรวจวัดอุณหภูมิแม่นยำไหม ทีขั้นตอนวิธีการวัดอย่างไรบ้าง
4.วัดไข้เด็กทางผิวหนัง Forehead Thermometer
เป็นการวัดไข้เด็กที่บริเวณหน้าผาก เหมาะสำหรับเด็กเล็กแต่ความแม่นยำอาจจะน้อยกว่าวิธีอื่น ก่อนวัดไข้เด็กด้วยวิธีนี้ควรทำความสะอาดผิวบริเวณหน้าผากก่อน แล้วใช้เทอร์โมมิเตอร์ลักษณะเป็นแผ่นแปะทาบตรงกลางหน้าผาก และอ่านผลจากตัวเลขที่แสดงบบนแถบด้านบน หรือจะใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบใช้แสงอินฟาเรดในการวัดแบบไม่ต้องสัมผัสร่างกาย แต่การวัดไข้เด็กด้วยวิธีการใช้แสงอินฟาเรดจะได้ความแม่นยำที่น้อยกว่าวิธีอื่น ทั้งนี้หากอยากได้ผลการวัดที่แม่นยำคุณพ่อคุณแม่ควรวัดไข้เด็กซ้ำอีกทีเพื่อวามแม่นยำ
วิธีวัดไข้ทารก
ในการวัดไข้เด็กทารก มีวิธีการวัดไข้ที่เหมาะกับเด็กเล็กหลายวิธี อย่างเช่น การวัดไข้เด็กทารกทางหู ทางหน้าผาก ทางรักแร้ ฯลฯ ซึ่งแต่ละทางจะมีวิธีการวัดไข้ที่แตกต่างกัน
วิธีการวัดไข้เด็กทารกทางหู
1. จับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบาย
2. ให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ ค่อย ๆ ส่องเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในบริเวณรูหูให้ตรงจุด
3. รอจนกระทั่งเสียงดังปิ๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จ
วิธีการวัดไข้ทางหน้าผาก
1. ให้วางแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากลูกน้อง โดยอย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัว
2. วางไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อย ๆ ปรากฎชัดขึ้น
3. คุณแม่สามาถอ่านค่าอุณหภูมิหลังจากตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวได้เลย
วิธีการวัดไข้เด็กทารกทางรักแร้
1. คุณแม่ต้องซับรักแร้ของลูกให้แห้งก่อน
2. สลัดปรอทให้ต่ำลงถึง 35 องศาเซลเซียส
3. ค่อย ๆ กางแขนลูก
4. นำปรอทวัดไข้เด็กใส่บริเวณกึ่งกลางรักแร้ให้พอดี โดยปลายปรอทต้องไม่โผล่จากด้านหลัง
5. ทิ้งปรอทไว้ 3-5 นาที จึงอ่านค่าผลการวัดไข้เด็ก
6. การอ่านค่าผลวัดไข้เด็ก ให้คุณแม่อ่านค่าอุณหภูมิที่ได้บวกเพิ่มอีก 0.5 องศาเซลเซียส
วิธีวัดไข้เด็กโต
สำหรับการวัดไข้เด็กโตจะง่ายกว่าวัดไข้เด็กทารก เพราะเด็กโตสามารถสื่อสารเป็นคำพูดกับคุณแม่ได้แล้ว เข้าใจว่าทำไมต้องวัดไข้ และวัดอย่างไร วิธีการวัดไข้เด็กโตที่ง่าย ทำได้ไม่ยุ่งยาก คือ ให้วัดทางปาก โดยก่อนการวัดไข้เด็กห้ามดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก่อนวัดไข้อย่างน้อย 15 นาที ให้วางปรอทที่ใต้ลิ้น วัดค่าประมาณ 1 นาที หรือสามารถวัดทางรักแร้ได้โดยวางปรอทวัดไข้เด็กตรงกึ่งกลางรักแร้ หนีบปรอทให้แน่น ๆ ใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที ทั้งนี้ให้บวกเพิ่มอีก 0.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าถ้าวัดปรอททางรักแร้ได้ 37.5 องศาเซลเซียส แสดงว่าอุณหภูมิร่างกายจริงเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวังเมื่อวัดไข้เด็ก
ข้อควรระวังในการวัดไข้เด็กในเรื่องของการใช้เทอร์โมมิเตอร์ มีดังนี้
- การวัดไข้เด็กโดยใช้ ปรอทวัดไข้แบบแก้ว ที่มักจะทำจากวัสดุแก้วปรอท จึงต้องระวังอย่าให้เกิดการแตก เพราะจะเกิดการบาดเจ็บและพิษจากปรอทวัดไข้เด็กได้
- การวัดไข้ทางปาก ต้องระวังขณะมีปรอทวัดไข้เด็กอยู่ในปาก ไม่ควรหายใจทางปาก และไม่ควรดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็นก่อนวัดปรอทสัก 15 นาที
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภทก่อนการวัดไข้เด็ก เช่น การอาบน้ำ การออกกำลังกาย การทานอาหาร เพราะอาจส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะได้ค่าตัวเลขที่วัดออกมาผิดเพี้ยน
- ในการวัดไข้เด็กที่บริเวณอื่น เช่น ช่องหู ฝ่ามือ อาจทำให้การวัดได้ผลที่ผิดพลาด และโหมดการวัดอาจใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ควรดำเนินการตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด
ข้อควรระวังในการวัดไข้เด็กสำหรับตัวเด็กทารกเอง มีดังนี้
- หากคุณแม่วัดไข้เด็กทางปาก ต้องระวังอย่าให้ลูกกัดปรอทเด็ดขาด ซึ่งคุณแม่เองต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์ให้เหมาะสมกับอายุของลูกน้อย
- การวัดไข้เด็กทางรักแร้ ต้องเช็ดรักแร้ให้แห้งก่อน และขณะ วัดอุณหภูมิเด็ก ให้คุณแม่อุ้มน้องหรือจับน้องนอน และพูดคุยกับน้อง ร้องเพลง เพื่อให้น้องสนใจคุณแม่ น้องจะได้นอนนิ่ง ๆ ทำให้ง่ายต่อการวัดไข้เด็ก
- หากวัดไข้เด็กทางทวารหนัก ให้คุณแม่จัดเตรียมเด็กในท่าที่เหมาะสม โดยให้เด็กนอนหงาย จับเท้าทั้งสองยกขึ้น หรือจะให้นอนตะแคงงอขาทั้งสองข้าง ใช้นิ้วหัวแม่มือดันแก้มก้นของเด็กให้เปิดออกจนมองเห็นรูทวารหนัก สอดปรอทวัดไข้เข้าไปทางทวารหนักลึกประมาณ 1 นิ้วในเด็กโต หรือ ½ นิ้วในเด็กทารก
เมื่อลูกน้อยตัวร้อนสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณแม่ต้องคำนึงถึงไว้เสมอ คือ ต้องรู้จักวิธี วัดไข้เด็ก ในเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบอาการลูกน้อยว่ามีอุณหภูมิที่สูงกว่าผิดปกติหรือไม่ หากมีไข้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของคนเรา สิ่งแรกที่คุณแม่ต้องรีบจัดการเลย คือ การเช็ดตัวลูกน้อยด้วยน้ำอุณหภูมิปกติทันที หายาลดไข้ให้ลูกน้อยทาน และคอยเฝ้าดูอาการตลอดเวลา หากเห็นว่าอุณหภูมิสูงตลอดเวลาไม่ลดเลย ให้คุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันทีอย่าปล่อยไว้เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical