ดูดเสมหะทารก อย่างไรดี อันตรายไหม มีวิธีการดูเสลดในเด็กอย่างไรบ้าง ให้น้องไม่เจ็บ !

ดูดเสมหะทารก มีวิธีอย่างไร ใช้อุปกรณ์ที่ดูดเสมหะอะไรบ้าง

ดูดเสมหะทารก

การดูดเสมหะในเด็กทารกแรกเกิด เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะเมื่อเกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ และไม่สามารถขับออกมาได้ อาจทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และอาจทำให้เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจและปอดของเด็กทารกได้ ดังนั้นจึงต้องมีการดูดเสมหะทารกออก เพื่อให้เด็กทารกหายใจได้สะดวกและนอนหลับได้สบายขึ้น ซึ่งการ ดูดเสมหะทารก จะมีวิธีการทำและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการดูดเสมหะทารกอย่างไรบ้าง Rakmor จะพาทุกท่านไปหาคำตอบกัน

ควรดูดเสมหะทารกตอนไหน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะต้อง ดูดเสมหะทารก ในช่วงเวลาไหนบ้าง สามารถสังเกตและประเมินได้จากช่วงเวลาต่อไปนี้

  • ควรดูดเสมหะทารกเมื่อลูกหายใจครืดคราด สังเกตได้จากเสียงหรือเมื่อเอามือไปวางไว้ที่หลังหรือหน้าอกจะรู้สึกได้ถึงเสียงครืดคราด
  • ควรดูดเสมหะทารกเมื่อลูกคัดแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก มีอาการกระสับกระส่าย
  • ควรดูดเสมหะทารกเมื่อลูกมีน้ำมูกในจมูกหรือในคอมีเสมหะ
  • ควรดูดเสมหะทารกเมื่อลูกดูดนมได้ไม่ค่อยดีเหมือนปกติ
  • ควรดูดเสมหะทารกเมื่อลูกมีริมฝีปากซีดหรือเขียวคล้ำ

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตอาการของเด็กทารกอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ดูแลให้เด็กทารกหายใจได้อย่างสะดวกอยู่เสมอ ไม่มีอะไรอุดกั้นในทางเดินหายใจ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ให้นานเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ ฉะนั้นแล้วเมื่อลูกมีอาการตามด้านบน ก็ควรทำการดูดเสมหะเด็กทารกให้ลูกด้วยเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม : การดูดเสมหะ มีวิธีดูดเสลดในเด็ก และผู้ใหญ่อย่างไรบ้างให้รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด

ขอบคุณคลิปจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

ดูดเสมหะทารก อันตรายไหม

การ Suction ในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องดูดเสมหะโดยตรง ต้องยอมรับเลยว่ามีความเสี่ยงพอสมควร เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ การใช้เครื่องดูดเสมหะถ้าไม่ได้ทำโดยผู้เชี่ยวชาญก็จะเป็นอันตรายต่อลูกรักได้

แล้วจะดูดเสมหะทารกอย่างไรดี ไม่ให้อันตราย และปลอดภัยมากที่สุด ?

อีกหนึ่งวิธีการดูดเสมหะทารกที่ได้รับความนิยมก็จะเป็นการดูดเสมหะทารกด้วย ” ลูกยางแดง “ วิธีดูดเสมหะด้วยลูกยางแดงนับว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

แต่ถ้าจำเป็นต้องดูดเสมหะในปากทารก หรือในคอ ก็ควรที่จะให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูดเสมหะให้ เพราะจะปลอดภัยต่อเด็กทารกมากกว่า

อุปกรณ์ดูดเสมหะในเด็กทารก มีอะไรบ้าง

ก่อนที่จะทำการดูดเสมหะทารก ผู้ดูแลต้องเตรียม อุปกรณ์ดูดเสมหะทารก ให้พร้อม เพื่อที่จะได้ทำการดูดเสมหะทารกได้อย่างเรียบร้อย รวดเร็ว ไม่ฉุกละหุก ซึ่งอุปกรณ์การดูดเสมหะทารกที่จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนดูดเสมหะทารกมีดังนี้

  • ลูกยางแดง : เลือกขนาดให้เหมาะสมกับเด็กทารก เพื่อป้องกันการระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ และสามารถดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเด็กเล็กในขวบปีแรก ควรเลือกใช้ลูกยางแดงดูดเสมหะเบอร์ 0-2 ส่วนเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ควรเลือกลูกยางแดงดูดเสมหะเบอร์ 2-4
  • หากเสมหะข้นเหนียวมาก : ต้องเตรียมน้ำเกลือ 0.9 % normal saline solution ที่สามารถหาซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาทั่วไป โดยควรเลือกซื้อขวดเล็กมาใช้ เพราะเมื่อเปิดแล้วจะได้ใช้อย่างต่อเนื่องจนหมด ไม่ต้องเปิดทิ้งเอาไว้นานเหมือนขวดใหญ่, ภาชนะสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ และกระบอกฉีดยาขนาดเล็ก โดยที่ยังไม่ต้องใส่เข็ม ขนาด 2-5 ซีซี สำหรับใช้หยอดน้ำเกลือลงในจมูกเพื่อช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียว
  • กระดาษทิชชู : สำหรับเช็ดทำความสะอาด
  • ภาชนะสำหรับรองเสมหะและสารคัดหลั่ง : ที่ดูดออกมาจากจมูกหรือปากของทารก
  • ผ้าห่อตัวสำหรับเด็กทารก : เพื่อนำมาห่อตัว ป้องกันการดิ้นในขณะที่ทำการดูดเสมหะ

การดูดเสมหะในเด็กทารก ทำได้ท้ังหมดกี่แบบ

1.การดูดเสมหะทารกทางจมูกและปาก

การดูดเสมหะทางปากและจมูกให้ทารกสามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ 2 แบบ คือ เครื่อง Suction เด็ก และ ลูกยางแดง

ซึ่งวิธีดูดเสมหะเด็กที่มีความปลอดภัยมากที่สุดก็จะเป็นการใช้ลูกยางแดง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถดูดเสมหะทารกได้ด้วยตัวเอง

แต่ถ้าพบว่าลูกมีเสมหะเยอะ ก็จำเป็นอย่างที่จะต้องดูดเสมหะด้วย ” เครื่องดูดเสมหะเด็ก ” ซึ่งควรทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกรักได้นั่นเอง

ขอบคุณคลิปจาก : ramapediatrics

2.การดูดเสมหะในคอทารก

การดูดเสมหะทารกด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ควรทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ พ่อ แม่ ผู้ปกครองไม่ควรดูดเสมหะในคอทารกด้วยตัวเอง เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับลูกรักได้

วิธีดูดเสมหะทารกด้วยลูกยางแดง

ก่อนที่จะ ดูดเสมหะทารก ผู้ทำควรล้างมือให้สะอาดก่อน เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าไปสู่เด็กทารก และเมื่อพร้อมแล้วก็ลงมือดูดเสมหะทารกได้จากขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ใช้ผ้าห่อตัวเด็กทารกให้แน่นหนา เพื่อป้องกันการดิ้น แต่ถ้าเป็นเด็กโตอาจต้องมีคนคอยช่วยจับหากเด็กดิ้นมาก โดยเตรียมเด็กให้นอนอยู่ในท่านอน พร้อมยกศีรษะให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการสำลัก

2.หากเสมหะค่อนข้างข้นเหนียว ต้องเตรียมน้ำเกลือสำหรับหยอดจมูกเพื่อละลายเสมหะ โดยต้องเตรียมอุ่นน้ำเกลือก่อนแล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือขึ้นมา จากนั้นสอดปลายกระบอกเข้าไปในจมูกอย่างเบามือ ตามด้วยการหยอดน้ำเกลือลงไปก่อนประมาณ 2-3 หยด

3.บีบลูกยางแดงเพื่อไล่ลมออกแล้วค่อย ๆ สอดลูกยางแดงดูดเสมหะเข้าไปในจมูกอย่างเบามือให้ลึกพอสมควร จากนั้นให้ค่อย ๆ ปล่อยลูกยางแดงช้า ๆ เพื่อดูดน้ำมูก จากนั้นบีบเสมหะหรือน้ำมูกในลูกยางแดงทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้

4.ทำการดูดเสมหะทารกซ้ำตามขั้นตอนข้างต้นจนกว่าจะไม่มีน้ำมูก

อ่านเพิ่มเติม : การดูดเสมหะผู้ใหญ่ มีวิธีการอย่างไรบ้าง

ขอบคุณคลิปจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

ที่ดูดเสมหะทารก

ที่ดูดเสมหะทารก ที่เห็นกันอย่างคุ้นตาจะเป็นลูกยางสีแดง ที่ผู้ดูแลจะทำการบีบลูกยางแล้วปล่อยเพื่อให้ลูกยางดูดน้ำมูกและเสมหะขึ้นมาก่อนจะนำไปบีบทิ้ง ซึ่งในการซื้อที่ดูดเสมหะทารกนี้ต้องตรวจสอบดูวัสดุที่ใช้ทำว่ามีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย และลูกยางไม่รั่ว เพราะอาจทำให้ดูดเสมหะทารกไม่ขึ้นนั่งเอง

อ่านเพิ่มเติม : เครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดี

ควรหยุดดูดเสมหะให้ลูกตอนไหน

  • เมื่อเด็กไม่น้ำมีน้ำมูก และเสมหะในปอด
  • เมื่อเด็กสั่งน้ำมูกได้ด้วยตัวเอง
  • เมื่อเด็กไอขับเสมหะออกจากปอดได้

การดูดเสมหะทารก ต้องระวังอะไรบ้าง

1.ระวังการสำลักเมื่อดูดเสมหะทารก เนื่องจากทารกอาจเพิ่งกินนมไปไม่นาน ดังนั้นควรดูดเสมหะทารกในช่วงก่อนมื้ออาหาร และควรจัดท่าให้อยู่ในท่าศีรษะสูง

2.การดูดเสมหะทารกแรงเกินไปจะทำให้เจ็บ และเนื้อเยื่ออาจเกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้นควรทำ การดูดเสมหะในทารก อย่างนุ่มนวลและเบามือที่สุด

3.หากเด็กทารกไม่ให้ความร่วมมือ หรือดิ้นในขณะที่ทำการดูดเสมหะทารก วิธีแก้คือ ให้ห่อตัวเด็กอย่างแน่นหนา หรือหากยังไม่ชำนาญควรมีคนช่วยจับขณะที่ลงมือดูดเสมหะทารก

4.อุปกรณ์ในการดูดเสมหะทารกที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตจากวัสดุที่เป็นอันตราย หรือแข็งเกินไป จะทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กทารกในขณะที่ดูดเสมหะในเด็กได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อที่ดูดเสมหะทารกที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานรับรอง

5.หากอุปกรณ์ในการดูดเสมหะทารกไม่สะอาด จะทำให้มีความเสี่ยงที่เด็กจะติดเชื้อโรคจากอุปกรณ์เหล่านี้ ดังนั้นก่อนใช้งานต้องแน่ใจว่าที่ดูดเสมหะทารกได้รับการทำความสะอาดอย่างดี ด้วยการล้างที่ดูดภายนอกด้วยน้ำสะอาดผสมสบู่จากนั้นต้มน้ำให้เดือดแล้วใช้ลูกยางดูดน้ำที่เดือดขึ้นมา แล้วปล่อยทิ้งประมาณ 3-4 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าที่ดูดเสมหะทารกนั้นสะอาดจริง ๆ

การดูดเสมหะทารกนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะการปล่อยให้เสมหะหรือน้ำมูกอุดกั้นทางเดินหายใจของเด็กทารกเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ทั้งนี้การดูดเสมหะเด็กทารกต้องเลือกอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัย ผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างดี รวมทั้งใช้วิธีการดูดที่เหมาะสมและปลอดภัย เพื่อให้การ ดูดเสมหะทารก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กทารกมีความเสี่ยงน้อยที่สุด แถมทางเดินหายใจยังโล่งและนอนหลับได้สบายขึ้น ทั้งการดูดเสลดทารกยังช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนในทางเดินหายใจอื่น ๆ ลงได้อีกด้วย

หากท่านต้องการที่จะติดต่อซื้อ ที่ดูดเสมหะทารก ก็สามารถติดต่อสอบถามทางทีมงาน Rakmor ได้ตลอด 24 ชม. พร้อมบริการจัดหา จัดจำหน่าย ราคาส่ง-ปลีก แอบกระซิบว่าบางช่วงเรามีโปรจัดส่งฟรีด้วยค่ะ 😊

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *