ผู้สูงอายุ คือ ?
ผู้สูงอายุตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของประเทศไทยคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 56 – 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้ สูงวัย “โดยสมบูรณ์” ตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมานับจากเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเมื่อปี 2548 เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย ร่างกายจะเสื่อมถอยอย่างเห็นได้ชัด การเคลื่อนไหวช้าลง การตอบสนองทั้งสองและร่างกายช้าลง โรคภัยเริ่มมาเยือนมากยิ่งขึ้น ผู้เป็นลูกหลานจึงควรให้ความรักและการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้คนสูงวัยรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้งเอาไว้ตามลำพัง
10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ที่ลูกหลานควรใส่ใจ
แม้ว่าผู้สูงวัยหลายคนจะยังคงแข็งแรงและดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่ลูกหลานก็ยังควรใส่ใจดูแลในส่วนที่พวกท่านอาจละเลยการดูแลตัวเอง ทั้งนี้เชื่อว่าหลายคนกังวลเรื่องการดูแลสมาชิกสูงวัยและกลัวว่าจะไม่สามารถรับมือกับบางปัญหาได้ แต่ขอบอกเลยว่าหากดูแลผู้สูงวัยด้วยความรักและความใส่ใจ เรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
1.เลือก อาหารให้เหมาะกับ ผู้สูงอายุ
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราโดยปกติแล้วจะทานอาหารได้น้อยลง อันเนื่องมาจากระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง นอกจากนี้ผู้สูงวัยยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพเหงือกและฟันที่ไม่แข็งแรงด้วย การเคี้ยวอาหารจะไม่ละเอียดเหมือนเก่า อาหารจะย่อยยากและมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อตามมา หลายคนอาจเจ็บเหงือกจนเบื่ออาหารหรืออาจดื่มน้ำน้อยจนท้องผูกร่วมด้วย ดังนั้นอาหารที่เหมาะกับผู้สูงวัยจึงควรเป็นอาหารที่อ่อนนิ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย โดยต้องจัดสรรให้ครบถ้วน 5 หมู่ งดอาหารรสจัดไม่ว่าจะหวาน มัน เค็มและดื่มน้ำให้เพียงพอ พยายามลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุหลับยากยิ่งขึ้นในเวลากลางคืน
2.ควรพาไปหา หมอ เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี
ผู้สูงอายุรายไหนไม่มีโรคประจำตัว แม้จะยังดูแข็งแรงดีอยู่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากพบความผิดอะไรจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ส่วนใครที่ป่วยอยู่ก่อนแล้วก็ต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ห้ามลด/เพิ่ม/หยุดตาด้วยตัวเอง ซึ่งตรงนี้ลูกหลานจะต้องดูแลให้ดี หากผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วย เช่น ท้องเสีย หอบเหนื่อย เซื่องซึมฯลฯ ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
3.ความสะอาดของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุจะมีภูมิคุ้มกันโรคไม่ดีเท่าคนวัยหนุ่มสาว จึงมักเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยจัดการเรื่องทำความสะอาดทั้งในส่วนของร่างกายผู้สูงอายุและพื้นที่อยู่อาศัยโดยรอบด้วย
4.กิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุและลูกหลาน
แม้จะดูแลอย่างดีแต่ถ้าปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเป็นส่วนใหญ่โดยไม่มีกิจกรรมใดๆร่วมกันเลยระหว่างลูกหลาน ก็อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยวหรือโดนทอดทิ้งได้ ดังนั้นลูกหลานควรหาเวลาว่างมาทำกิจกรรมร่วมๆกับสมาชิกสูงวัยภายในบ้านบ้าง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง เต้นรำ ทำอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าไม่ค่อยมีเวลาจริงๆ การหาสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กมาให้ผู้สูงวัยเลี้ยงก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องเป็นสัตว์ขนาดเล็กเท่านั้นโดยเฉพาะสุนัข เพราะหากตัวใหญ่เกินไปอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5.ระบบขับถ่ายที่ไม่ควรมองข้าม
อย่าลืมสังเกตการขับถ่ายของผู้สูงวัยด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับเสีย ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด อุจจาระมีมูกเลือดปน เป็นต้น เพราะความผิดปกติเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงโรคภัยบางอย่างได้ ทั้งนี้ผู้สูงวัยก็ไม่ควรจะอายในการบอกเรื่องเหล่านี้แก่ผู้ดูแลด้วยเช่นเดียวกัน
6.ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประเภทยาต่างๆที่ไม่เหมาะสม
งดให้ผู้สูงอายุทานยาที่เก็บไว้นานเกินไป งดเพิ่ม/ลด/หยุดยาด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือไม่ควรซื้อยามาให้ผู้สูงอายุทานเองโดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน หากมีอาการเจ็บป่วยอะไร ควรไปพบแพทย์แล้วทานยาตามแพทย์สั่งจะดีกว่า
7.พาผู้สูงอายุออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายสำคัญต่อคนทุกวัย แม้กระทั่งผู้สูงอายุด้วยเช่นเดียวกัน แต่ว่าผู้สูงอายุหลายคนอาจไม่กล้าออกกำลังกายมากนักเพราะกังวลเรื่องอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลอย่าลืมส่งเสริมให้สมาชิกสูงวัยในบ้านออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการจัดกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย รวมทั้งคอยให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด หมั่นขยับร่างกายบ่อยๆ ยืดแขนยืดขาอย่างน้อย 10-20 นาที/วัน ซึ่งถ้าผู้สูงยังคงแข็งแรงและออกกำลังกายได้อยู่ ก็สามารถออกกำลังกายครบ 3 รูปแบบทั้งเวท คาร์ดิโอและยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้เลย แต่อย่าลืมว่าต้องออกอย่างเหมาะสม ห้ามหักโหมเด็ดขาด
8.ควบคุมน้ำหนักของผู้สูงวัย
ไม่ว่าจะวัยหนุ่มสูงหรือสูงอายุ ก็ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากอ้วนหรือผอมเกินไปจะมีความเสี่ยงทางสุขภาพต่างๆตามมาอีกมากมาย ถ้าเจ็บป่วยอยู่ก่อนแล้วน้ำหนักต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ โรคที่เป็นอยู่ก็อาจกำเริบรุนแรงมากขึ้นได้ ดังนั้นอย่าลืมควบคุมน้ำหนักของผู้สูงวัยกันให้ดี
9.อุปกรณ์ ช่วยเดิน และ เตียงที่เหมาะสม
คนสูงวัยมักมีปัญหาเรื่องการเดินหรือการเคลื่อนไหวเป็นปกติ แต่อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ผู้ดูแลควรหาอุปกรณ์ช่วยเดินมาให้ผู้สูงวัยใช้เพื่อให้ทรงตัวและเคลื่อนไหวได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์ช่วยเดินควรมีขนาดน้ำ น้ำหนักและความสูงที่เหมาะสม บริเวณพื้นต้องยึดเกาะกับพื้นได้ดีป้องกันการลื่นล้ม การมีอุปกรณ์ช่วยเดินจะทำให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ ลดความเสี่ยงในการนอนติดเตียง นอกจากอุปกรณ์ช่วยเดินแล้วอย่าลืมมองหาเตียงที่เหมาะสมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้เตียงผู้ป่วยมีให้เลือกซื้อทั้งเตียงแบบมือหมุน เตียงไฟฟ้าและเตียงแบบปรับระดับได้ เตียงพวกนี้จะมีฟังก์ชันพิเศษมากมายทั้งการปรับระดับ แผงกั้นกันตก ล้อฯลฯ หากบ้านใครมีสมาชิกสูงวัยที่มีอาการเจ็บป่วย เตียงเหล่านี้ตอบโจทย์มาก
10.ความอบอุ่นของคนในบ้าน
นอกจากสุขภาพกายที่ต้องดูแลแล้ว สุขภาพจิตของผู้สูงอายุก็ต้องถูกใส่ใจให้มากไม่แพ้กัน ในวัยนี้แม้จะผ่านโลกมามากมาย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำให้ผู้สูงอายุมีสภาพจิตใจอ่อนไหวง่ายได้ด้วยเช่นเดียวกัน หากปล่อยให้อยู่คนเดียวบ่อยๆโดยไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำ ผู้สูงอายุอาจรู้สึกโดดเด่นและมองว่าตัวเองไร้คุณค่าหรือเป็นภาระแก่ลูกหลานได้ ดังนั้นลูกหลานควรผลัดเปลี่ยนกันมาดูแล ให้ความรัก ความเอาใจใส่ หมั่นหากิจกรรมสนุกๆมาลองทำร่วมกับญาติผู้ใหญ่ที่สูงวัยและอย่าลืมรับฟังคำพูดของท่านอย่างให้เกียรติ ท่านจะรู้สึกดี รู้สึกได้รับการยอมรับจากลูกหลานอยู่เสมอ นี่เป็นวิธีการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจที่ทำได้ไม่ยาก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุเหล่านี้รู้สึกดีขึ้นแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์กับสมาชิกภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
สำหรับบ้านใครที่มีสมาชิกสูงวัยแล้วกังวลเรื่องการดูแล ก็สามารถนำแนวทางข้างต้นไปปรับใช้กันดูได้ แม้อาจจะดูยุ่งยากเพราะดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่เชื่อว่าถ้าดูแลท่านด้วยความรักและความเอาใจใส่อย่างแท้จริง การดูแลผู้สูงวัยนั้นสามารถรับมือได้ไม่ยากเลย
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical