หายใจลำบาก คืออะไร ?
หายใจลำบาก (Dyspnea) คือ อาการที่แสดงถึงความลำบาก ความอึดอัด ความไม่สบายในการหายใจ เป็นความรู้สึกส่วนบุคคล หรือความรู้สึกของผู้ป่วยบางราย ที่สามารถอธิบายได้ถึงการหายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจลำบาก สำหรับอาการความลำบากทางการหายใจอาจแตกต่างกันไปตามอาการ ตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรง โดยขั้นรุนแรงจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล และอาจบ่งชี้ถึงภาวะสุขภาพที่ต้องการได้รับการรักษา
อาการหายใจลำบาก มีลักษณะอย่างไร
อาการหายใจลำบากของแต่ละบุคคล จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม อาการลักษณะอาการทั่วไปของการหายใจลำบาก มีดังนี้
- สูดอากาศเข้าสู่ร่างกายได้ไม่เต็มที่ มีอาการใจสั่นร่วมด้วย
- หายใจแล้วมีเสียงหวีด จนทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ
- หิวอากาศตลอดเวลา และในตอนที่หายใจเข้าก็จะรู้สึกลำบากมากกว่าหายใจออก
- อึดอัดตอนหายใจ หายใจไม่สะดวก รู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย
- ต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อหายใจ หรือรู้สึกว่าต้องหายใจเพื่อเอาออกซิเจนเพิ่มขึ้น
- หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดขัดอยู่ที่ทางเดินหายใจ และรู้สึกเหมือนจะขาดใจ
- แน่นหน้าอกหายใจลำบาก หายใจเอาอากาศเข้าสู่ปอดได้น้อยมากๆ
- หายใจเร็วและลึกขึ้นมากขึ้น เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว
สาเหตุของอาการหายใจลำบาก มีอะไรบ้าง
อาการหายใจลำบากหรือหายใจถี่ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- สภาวะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เส้นเลือดอุดตันในปอด พังผืดในปอด ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ และโรคปอดอื่นๆ
- ภาวะหัวใจและหลอดเลือด มักเกิดขึ้นกับบุคคลหัวใจทำงานได้ไม่ดี กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย รวมไปถึงภาวะทางหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย (หัวใจวาย) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะหัวใจอื่นๆ
- ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยความผิดปกติที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ จะมีตั้งแต่ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงด้านข้างเส้นโลหิตตีบ (Amyotrophic Lateral Sclerosis – ALS) โรคกล้ามเนื้อเสื่อม หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)
- โรคต่างๆ เช่น โลหิตจาง เพราะระดับเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินในเลือดต่ำทำให้หายใจลำบาก หรืออาจเกิดจากโรคอ้วน เพราะคนที่มีโรคจะมีน้ำหนักและชั้นไขมันที่หนาจนไปกดดันระบบทางเดินหายใจและทำให้หายใจลำบาก
- ความวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด ความตื่นตระหนก รวมไปถึงความกลัวต่างๆ เช่น กลัวที่แคบ กลัวที่สูง เป็นต้น
การประเมินอาการหายใจลำบากของผู้ป่วย
การประเมินอาการหายใจลำบากของผู้ป่วย ควรประเมินร่วมกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการ โดยเริ่มจากการสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ ระยะเวลา และความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก รวมถึงอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น มีอาการไอ เจ็บหน้าอก หรือหายใจมีเสียงหวีดหรือไม่ จากนั้นทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วย พร้อมกับสังเกตอาการของผู้ป่วย ซึ่งบางทีอาจจำเป็นต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของอาการหายใจลำบาก เช่น การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก การทดสอบการทำงานของปอด หรือการตรวจเลือด
การรักษาอาการหายใจลำบาก
การรักษาอาการหายใจลำบากสามารถรักษาได้หลายวิธี สำหรับวิธีที่ได้รับความนิยม คือ การรักษาโดยการให้ออกซิเจนหรือออกซิเจนบำบัด ด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนหรือถังออกซิเจน ร่วมกับเครื่อง High Flow หรือเครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง เพราะเครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือทางแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการหายใจลำบาก ทำงานโดยการรับอากาศจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ พร้อมกับกำจัดไนโตรเจน เพื่อผลิตอากาศที่อุดมไปด้วยออกซิเจน จากนั้นออกซิเจนกับผู้ป่วยผ่านทางสายฉีดจมูกหรือหน้ากากอนามัย เพื่อรักษาอาการหายใจลำบาก
ถึงแม้ว่าอาการหายใจลำบาก จะเป็นอาการที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย แต่อาการนี้ก็สามารถรักษาได้ โดยจะเริ่มจากการประเมินอาการเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ถ้าอาการหายใจลำบากเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จะต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีสาเหตุมาจากสภาพของปอดหรือหัวใจที่ทำงานผิดปกติ ก็จะต้องรักษาด้วยใช้ยา ร่วมกับการบำบัดโดยการให้ออกซิเจน ด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน ควบคู่กับเครื่อง High Flow หรือเครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง
สำหรับสถานพยาบาล โรงพยาบาลต่างๆ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ และต้องการหาซื้อเครื่อง High Flow ไว้ใช้รักษาอาการหายใจลำบาก สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ Rakmor.com ร้านขายเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์อย่างครบวงจร มีสินค้าคุณภาพดี จากหลากหลายแบรนด์ดัง ในราคาที่คุ้มค่า จัดส่งฟรี พร้อมการรับประกันสินค้านาน 1 ปี
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก