อันตรายจากถังออกซิเจน
อันตรายจากถังออกซิเจน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการใช้งานถังออกซิเจน โดยถังออกซิเจน คือ อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการให้ออกซิเจนผู้ป่วย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ถังออกซิเจนจะบรรจุก๊าซออกซิเจนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่ขนาดของถัง โดยมีหลายขนาดมีตั้งแต่ถังขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้สะดวกไปจนถึงถังขนาดใหญ่
ถังออกซิเจนมีค่าความเข้มข้นของออกซิเจนสูงถึง 99% เหมาะสำหรับการใช้งานในสถานพยาบาลทั่วไป รวมถึงการใช้งานที่บ้าน แต่รู้หรือไม่ว่าถังออกซิเจนมีอันตรายกว่าที่คิด แม้ก๊าซออกซิเจนจะไม่สามารถติดไฟได้ แต่สามารถเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงได้
อันตรายจากถังออกซิเจน มีอะไรบ้าง ? ที่ต้องระวังขณะใช้งาน
อันตรายจากการใช้งานถังออกซิเจนมีอะไรบ้างเรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้ เมื่อรู้และเข้าใจคุณจะสามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเหล่านี้ขึ้นได้ โดยอันตรายจากถังออกซิเจนมี ดังนี้
1.ความเย็นจากก๊าซออกซิเจน
ออกซิเจนเหลวมีอุณหภูมิต่ำมาก อาจทำให้เกิดอันตรายจากความเย็นได้โดยอุณหภูมิอยู่ที่ติดลบ 183 องศาเซลเซียส เมื่อร่างกายของมนุษย์ไปสัมผัสความเย็นที่อุณหภูมินี้ ผิวหนังอาจแสดงอาการเหมือนโดนไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก อาการบาดเจ็บจะรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิต่ำแค่ไหนและระยะการสัมผัสนานหรือไม่ อวัยวะที่อันตรายมากที่สุดคือดวงตาเนื่องจากมีเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อนมากๆ ถึงแม้ว่าสัมผัสออกซิเจนเหลวเพียงเล็กน้อยแต่เนื้อเยื่ออาจถูกทำลายได้ดังนั้นต้องระมัดระวัง รวมถึงอุปกรณ์ที่ไม่มีการหุ้มฉนวนไว้เมื่อผิวหนังไปสัมผัสอาจติดแน่นกับโลหะจนยากที่จะดึงออกได้และอาจทำให้ผิวหนังส่วนนั้นฉีกขาด
2.การลุกไหม้และการระเบิด
การใช้งานถังออกซิเจนอาจมีอันตรายจากการลุกไหม้หรือระเบิดได้ ถึงแม้ว่าก๊าซออกซิเจนจะไม่สามารถลุกติดไฟได้แต่อย่าลืมว่าองค์ประกอบของไฟ นั้นมีเชื้อเพลิง ความร้อนและอากาศหรือออกซิเจน หมายความว่าหากในบริเวณที่ใช้งานถังออกซิเจนมีประกายไฟหรือมีเชื้อเพลิง มีความร้อนเกิดขึ้นก็อาจเกิดการลุกติดไฟและเกิดการระเบิดได้ดังนั้นไม่ควรจัดเก็บหรือตั้งถังออกซิเจนใกล้กับความร้อนหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงอาจเกิดประกายไฟ
3.ความดันและความหนาแน่นสูงของออกซิเจน
เนื่องจากก๊าซออกซิเจนมีความหนาแน่นสูงเมื่อเทียบกับก๊าซทั่วไปหลังจากมีการบรรจุออกซิเจนเข้าไปในถังออกซิเจนเป็นที่เรียบร้อยออกซิเจนจะถูกกักเก็บไว้โดยไม่มีทางระบายออก ก๊าซออกซิเจนเมื่อบรรจุใส่ถังหรือภาชนะจะใช้พื้นที่น้อยมาก หากเกิดปัญหาที่อุปกรณ์ ภาชนะหรือถังบรรจุออกซิเจนความดันของก๊าซอาจรั่วและอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระเบิดหรือไฟลุกไหม้ได้ในที่สุดหลังจากการใช้งานควรปิดวาล์วถังออกซิเจนให้สนิทและอย่าลืมหมั่นตรวจสอบการรั่วไหล
📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : ถังออกซิเจน ใช้ได้กี่ชั่วโมง? แต่ละขนาดใช้งานได้นานต่างกันเท่าไหร่ เลือกแบบไหนดีที่สุด
วิธีป้องกันอันตรายของออกซิเจน จากการใช้งานถังออกซิเจน
เมื่อได้รู้แล้วว่าอันตรายจากถังออกซิเจนมีอะไรบ้าง โดยหลักๆ แล้วมี 3 อย่างคืออันตรายจากความเย็นของก๊าซออกซิเจน อันตรายจากการลุกไหม้และการระเบิด รวมถึงความดันและความหนาแน่นสูงของออกซิเจน สำหรับวิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานถังออกซิเจนทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- ถังออกซิเจนต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน บรรจุในถังสีเขียวมีสัญลักษณ์ มอก. 540-2555
- เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าถังออกซิเจนเป็นสนิมไม่ควรใช้งานข้อต่อถังต้องใช้เกลียวมาตรฐาน CGA 540
- ในขณะใช้งานถังออกซิเจนต้องวางถังในแนวตั้งและยึดให้แน่น
- ในขณะเคลื่อนย้ายถังออกซิเจนต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดการกระแทกอาจทำให้ระเบิดได้
- ไม่วางถังออกซิเจนในห้องโดยสารรถยนต์อาจเกิดการรั่วไหลและอาจทำให้เป็นอันตรายได้
- การใช้งานถังออกซิเจนต้องห่างจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตรไม่วางถังออกซิเจนใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ
- ไม่ใช้สเปรย์ฉีดผม สเปรย์ปรับอากาศใกล้กับจุดจ่ายออกซิเจนเนื่องจากละอองฝอยมีความไวไฟสูง
- ไม่ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือในขณะใช้งานควรรอให้มึงแห้งสนิทก่อนหยิบจับอุปกรณ์
- หลังใช้งานถังออกซิเจนควรปิดวาล์วให้สนิทและหมั่นตรวจสอบการรั่วหรือการชำรุดของถังออกซิเจน
- เมื่อส่งถังออกซิเจนคืนควรฆ่าเชื้อโดยการเช็ดที่ผิวขอบนอกของถังด้วยแอลกอฮอล์ 70% และต้องแน่ใจว่าวาล์วปิดสนิทไม่มีการรั่วไหล
📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : อุปกรณ์ถังออกซิเจน มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? ที่สำคัญต่อการให้ออกซิเจนผู้ป่วย
ถังออกซิเจนรั่วอันตรายไหม ?
ถึงแม้ว่าก๊าซออกซิเจนจะไม่สามารถติดไฟได้แต่มันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงได้ การที่ถังออกซิเจนรั่วนั้นมีอันตรายมาก อาจทำให้เกิดการระเบิดหรือการลุกติดไฟได้ ดังนั้น จะต้องปิดวาล์วให้สนิทหลังการใช้งานและจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบการรั่วด้วยและไม่ควรวางถังออกซิเจนในห้องโดยสารรถเพราะอาจทำให้เกิดการรั่วและเป็นอันตรายได้
ถังออกซิเจนตากแดดได้ไหม ?
ถังออกซิเจนไม่ควรนำไปวางตากแดดหรือจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงเพราะอาจทำให้ถังมีความร้อนสะสมและทำให้ระเบิดได้ มีอันตรายอย่างมากและไม่ควรจัดเก็บถังออกซิเจนในสถานที่ปิดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ตู้เสื้อผ้า ควรจัดเก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อนหรือเปลวไฟอย่างน้อยประมาณ 1.5 เมตร
อันตรายจากถังออกซิเจน มีอะไรบ้าง เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงในการให้ออกซิเจน และเข้าใจวิธีการป้องกันอันตรายจากการใช้งานถังออกซิเจน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยกับผู้ป่วย สำหรับผู้ที่สนใจสั่งซื้อถังออกซิเจนที่ได้มาตรฐาน ก็สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ Rakmor เรามีถังออกซิเจนจำหน่ายหลายขนาด ตั้งแต่ถังออกซิเจนขนาด 0.5 คิวไปจนถึง 6 คิวบรรจุได้มากถึง 40 ลิตร ในราคาคุ้มค่า จัดส่งฟรีทั่วประเทศ พร้อมการรับประกันสินค้านาน 1 ปี
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก