Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คืออะไร ทั้ง 2 ด้าน ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คืออะไร ทั้ง 2 ด้าน ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) หรือที่มักเรียกกันว่า หูฟังทางการแพทย์ เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความสำคัญ และมักถูกใช้เป็นขั้นตอนแรก ๆ ในการตรวจสุขภาพ หรือตรวจหาความผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับด้านของ Stethoscope จะมี 2 ด้านด้วยกัน ซึ่งบทความในวันนี้จะพาไปดูข้อมูลกันว่าแต่ละด้านของหูฟังการแพทย์เป็นแบบไหน ?

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คืออะไร

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คืออะไร

ก่อนที่จะไปดูข้อมูลเกี่ยวกับด้านของ Stethoscope หากใครยังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง Stethoscope คืออะไร ? ก็ขอแนะนำว่าให้ลองแกล้งคลิกเข้าไปอ่านสักนิด เผื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น 😊

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คือ หูฟังทางการแพทย์ที่มีส่วนรับเสียงหรือแรงสั่นสะเทือน 2 ด้าน โดยด้านหนึ่งจะมีลักษณะแบนเรียกว่า ไดอะแฟรม ส่วนอีกด้านจะมีลักษณะคล้ายกรวยขนาดเล็กเรียกว่า Bell

ซึ่งส่วนรับเสียงทั้งสองด้านนี้ จะทำหน้าที่และเหมาะกับการฟังเสียงของอวัยวะที่แตกต่างกัน

โดยด้านไดอะแฟรมจะเหมาะกับการใช้ฟังเสียงปอด

สำหรับด้าน Bell จะเหมาะกับการใช้ฟังเสียงหัวใจ

ถึงแม้ว่าทั้งสองด้านจะเหมาะใช้ฟังเสียงของอวัยวะที่ต่างกัน แต่ทั้งคู่จะใช้หลักการเดียวกัน คือการรับแรงสั่นสเทือนที่เกิดขึ้นภายในอวัยวะ และส่งต่อผ่านท่อนำเสียงขึ้นไปยังส่วนที่เป็นหูฟัง

คลิกอ่านเพิ่มเติม : คลายข้อสงสัย หูฟังแพทย์ ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง ? สเต็ทโตสโคป ทำมาจากอะไรบ้าง

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) แต่ละด้านไว้ใช้ทำอะไรบ้าง

1.ด้านกรวย (Bell)

หูฟังทางการแพทย์ด้านกรวย (Bell) จะเป็นด้านที่มีลักษณะนูนขึ้นมาคล้ายกรวยขนาดเล็ก ตรงส่วนปลายที่สัมผัสกับร่างกายจะมีขอบยาง ที่ทำมาจากยางซิลิโคนหรือโพลีไวนิลคลอไรด์ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการป้องกันการสั่นสะเทือน ช่วยให้สามารถฟังเสียงได้ดียิ่งขึ้น โดยด้าน Bell จะเหมาะกับการฟังเสียงที่มีความถี่ต่ำ เช่น เสียงฟู่ และนิยมนำไปใช้ฟังเสียงหัวใจ

2.ด้านแบน (Diaphragm)

สำหรับด้านแบน (Diaphragm) หรือ ไดอะแฟรม จะเป็นส่วนรับเสียงของ Stethoscope ที่มีลักษณะแบน และมีแผ่นพลาสติกที่เรียกว่า Membrane ที่ทำมาจากสารประกอบอีพ็อกซี่ไฟเบอร์กลาส หรือพลาสติกชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะทำหน้าในการช่วยให้เสียงที่ได้ยินมีความคมชัดขึ้น โดยด้านไดอะแฟรมนี้จะเหมาะกับการฟังเสียงที่มีความถี่สูง และมักนิยมนำไปใช้ฟังเสียงปอด

การใช้งาน Stethoscope แต่ละด้าน มีลักษณะเป็นอย่างไร

1.นำแต่ละด้านไปวางไว้ตรงผิวหนังบริเวณที่ต้องการฟังเสียง โดยในการใช้งานที่ถูกต้องควรจับตรงด้านและกดลงไปเล็กน้อยให้แนบไปกับผิวหนังของผู้ป่วย

2.ในการใช้หูฟังด้านไดอะแฟรมเพื่อฟังเสียงปอด จะทำการฟังเสียงอยู่ 4 จุด คือ บริเวณใต้ไหปลาร้าด้านซ้ายและด้านขวา บริเวณอกบุ๋มเหนือลิ้นปี่ด้านซ้านและด้านขวา

3.สำหรับด้าน Bell ที่ใช้ฟังเสียงหัวใจ จะฟังเสียงด้วยกัน 4 จุดเช่นกัน คือ บริเวณซี่โครงที่สองด้านซ้ายและด้านขวา บริเวณซี่โครงที่ห้า และบริเวณใต้ราวนม

คลิกดูวิธีการใช้งาน Stethocsope ได้ที่บทความนี้ : 4 วิธีใช้หูฟังทางการแพทย์ หรือ หูฟังสเต็ทโตสโคป ( stethoscope ) เพื่อฟังเสียงปอดและหัวใจ !

วิธีการเก็บรักษา Stethoscope ทั้ง 2 ด้าน หลังการใช้งาน

วิธีการเก็บรักษา Stethoscope ทั้ง 2 ด้าน หลังการใช้งาน

  • ทำความสะอาดหลังใช้งานเสร็จ
  • ก่อนทำความสะอาด ให้ถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออก
  • เช็ดชิ้นส่วนที่เป็นโลหะด้วยน้ำยาขจัดคราบสนิม
  • ใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องหนัง มาเช็ดส่วนที่เป็นสายหรือท่อนำเสียง
  • นำชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน และจัดเก็บให้เรียบร้อย

ข้อควรระวังในการใช้ Stethoscope ทั้ง 2 ด้าน

  • เวลาใส่หูฟังให้หันส่วนที่เป็น ear plug ชี้ไปทางด้านหน้า
  • ควรนำแต่ละด้านไปแนบสนิทกับผิวหนังโดยตรง ไม่ควรฟังผ่านเสื้อผ้า เพราะจะทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน
  • ควรทำความสะอาด Stethoscope ก่อนนำไปใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคจากการใช้งานต่อๆ กัน

การที่ส่วนรับเสียงของ Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) มี 2 ด้าน ก็เพื่อเป็นการออกแบบมาให้ใช้ฟังเสียงความผิดปกติของบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายหรืออวัยวะที่แตกต่างกัน ดังนั้นในฐานะของผู้ใช้งานก็ควรที่จะเข้าใจความแตกต่างและลักษณะการใช้งานของแต่ละด้านให้ดี เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับบริเวณที่ต้องการฟังเสียงได้ และช่วยให้สามารถฟังเสียงได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้การตรวจเช็กและวินิจฉัยอาการผู้ป่วยนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *