โรคหัวใจในเด็ก มีสาเหตุมาจากอะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท วิธีการตรวจวินิจฉัยและรักษา มีอะไรบ้าง

โรคหัวใจในเด็ก อันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

โรคหัวใจในเด็ก

โรคหัวใจในเด็ก ถือเป็นเป็นโรคที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคหัวใจในทารกแรกเกิดมีโอกาสเกิดขึ้นกับเด็ก มากพอๆกับผู้ใหญ่ โดยเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจเด็ก ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ก็จะส่งผลเสียต่อผนังหัวใจ ลิ้น หลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจ และนำไปสู่ปัญหาการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่สงสัยว่าบุตรหลานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจในเด็กหรือไม่ จึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

ประเภทของโรคหัวใจในเด็ก

โรคหัวใจในเด็กที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย และมีโอกาสเกิดขึ้นกับเด็กได้มากพอๆ กับผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.โรคหัวใจแต่กำเนิด

เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับเด็กทารกแรกเกิด โดยโรคนี้เกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่ที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงพันธุกรรม แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีปัจจัยที่ชัดเจน บางครั้งอาจเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ อย่างเช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ของแม่ที่ตั้งครรภ์ ในส่วนของความรุนแรง โรคโรคหัวใจแต่กำเนิดจะมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงเป็นอันตราย แต่ปัจจัยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคด้วย

2.โรคหัวใจในเด็กที่เกิดขึ้นภายหลัง

เป็นโรคหัวใจที่มีความรุนแรง ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจในเด็กที่เกิดขึ้นภายหลัง อาจมาจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจแต่ก่อนเกิด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคไข้คาวาซากิ ที่มักเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โรคหัวใจรูมาติก ที่เกิดจากไข้รูมาติก, โรคความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อเยื่อบุช่องปอด เป็นต้น

สาเหตุของโรคหัวใจในเด็ก มีอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจในเด็ก 

โรคหัวใจในเด็กเป็นโรคที่พบได้ในเด็กทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเด็กทารกหรือเด็กที่กำลังโต สำหรับสาเหตุของโรคหัวใจในเด็ก มีดังนี้

  1. เกิดจากสาเหตุที่ไม่แน่ชัด หรือไม่ทราบสาเหตุ สูงถึง 90% 
  2. แม่เด็กเกิดการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อหัดเยอรมัน เป็นต้น
  3. แม่เด็กถูกรังสีเอกซเรย์ หรือได้รับสารพิษในช่วง 3 เดือนแรกๆ ของการตั้งครรภ์ 
  4. แม่เด็กมีภาวะโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง หรือมีการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดอื่นๆ 
  5. พันธุกรรม โดยมีความเป็นไปได้ว่าโรคหัวใจในเด็กอาจถูกสืบต่อมาจากพ่อแม่ หรือญาติที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน
  6. เกิดจากภาวะความผิดปกติ เช่น มีการตีบอกในช่องท้อง หรือมีความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจในเด็ก

อาการโรคหัวใจในเด็ก มีอะไรบ้าง

แม้โรคหัวใจในเด็กจะพบได้น้อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อาการของโรคหัวใจในเด็กจะแตกต่างกันไปตามประเภท และความรุนแรงของอาการ ซึ่งหลักๆโรคหัวใจในเด็กมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ตัวเขียว และที่ริมฝีปากมีสีฟ้าหรือสีม่วง ไปจนที่ผิวหนังและเล็บ อาจบ่งบอกว่าเด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ
  • เจ็บหน้าอก โดยเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจในเด็กอาจมีอาการเจ็บหน้าอก โดยจะรู้สึกเหมือนถูกบีบ หรือถูกกดทับ
  • หายใจถี่ หรือดูเหมือนหายใจไม่ออก อาจจะเป็นสัญญาณว่าเด็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจในเด็ก
  • เจริญเติบโตได้ไม่ดี โดยเด็กมีปัญหาในการเพิ่มน้ำหนัก หรือเติบโตในอัตราปกติ
  • มีความเหนื่อยล้า หากเด็กดูเหนื่อยตลอดเวลา อาจบ่งบอกได้ว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคหัวใจ 
  • เป็นลมหรือเวียนศีรษะ เพราะการเป็นลมหรือวิงเวียนศีรษะอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิดโรคหัวใจในเด็ก 
วิธีตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็ก มีอะไรบ้าง

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กและทารก

การวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กและทารกมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาการและสภาพของเด็กและทารก แต่หลักๆแล้ววิธีตรวจวินิจฉัย มีดังนี้

  1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหัวใจ โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่อง EKG เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจ หรือภาวะทางระบบไหลเวียนเลือด
  2. ตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่หัวใจสูง คือการทดสอบอัลตราซาวนด์โดยใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพที่มีรายละเอียดของหัวใจ เพื่อตรวจความผิดปกติในโครงสร้างของหัวใจ
  3. การใช้เครื่องวัดระดับออกซิเจน เป็นการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด เพื่อตรวจหัวใจเด็กทารกแรกเกิด
  4. X-ray ทรวงอก เป็นการเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อดูขนาดหัวใจและปอด และเพื่อดูความผิดปกติของเส้นเลือด รวมไปถึงการสะสมของของเหลวในปอด
  5. การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อเพื่อประเมินสุขภาพและความสมบูรณ์ของหัวใจเด็กในครรภ์

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : การใช้งานเครื่องฟังเสียงหัวใจทารกอันตรายไหม ? จำเป็นต้องอ่านก่อนซื้อไปใช้งาน

การรักษาโรคหัวใจในเด็ก

การรักษาโรคหัวใจในเด็กจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการ ซึ่งการรักษาอาจจะต้องรักษาด้วยยา เพื่อจัดการกับอาการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หรืออาจจะรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมความผิดปกติของโครงสร้างในหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาได้โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะทาง เพื่อจัดการกับอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ 

ปัจจุบันโรคหัวใจในเด็ก นั้นเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเด็กได้มากพอๆ กับผู้ใหญ่ และยังเป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตของเด็ก ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงไม่ควรมองข้ามโรคนี้ ควรตรวจหาและรักษาโรคหัวใจในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด พร้อมกับแพทย์โรคหัวใจในเด็กเพื่อพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสม 

นอกจากนี้ยังควรต้องซื้อและใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจในเด็กอย่างเครื่องฟังเสียงหัวใจทารกจาก Rakmor เพราะเป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดความเร็วของการเต้นของหัวใจในทารกที่ยังไม่เกิด เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบสุขภาพของทารก และตรวจภาวะโรคหัวใจในเด็กได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *