การดูดเสมหะ มีวิธีดูดเสลดในเด็ก และผู้ใหญ่อย่างไรบ้างให้รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด

การดูดเสมหะ มีขั้นตอนวิธีอย่างไร

ดูดเสมหะ ( Suction )

การดูดเสมหะ หรือ การ Suction เป็นการเคลียร์ทางเดินหายใจให้โล่ง เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ปราศจากสิ่งอุดกั้นในทางเดินหายใจ ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ โดยอาจจะหมายถึงผู้ป่วยติดเตียง, เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยเรื้อรังจนไม่สามารถขับเสมหะออกมาได้ด้วยตนเอง

โดยการดูดเสมหะนั้นจะต้องทำตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์และทำให้การดูดเสมหะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้เราก็จะมาพูดถึงการดูดเสมหะด้วยเครื่องดูดเสมหะอย่างถูกวิธี การดูดเสมหะเจ็บไหม ทำอย่างไรจึงจะดูดเสลดในเด็กและผู้ใหญ่ให้รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด แถมยังสามารถดูดเสมหะเองที่บ้านได้ด้วย Rakmor มีคำตอบมาฝาก

การดูดเสมหะในปัจจุบันนิยมดูดเสมหะด้วย เครื่องดูดเสมหะ หรือ เครื่อง Suction ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้แรงดันลมเพื่อช่วยในการดูดเสมหะที่อยู่ลึกเข้าไปในช่องทางเดินหายใจออกมา โดยผ่านทางสายยางปลอดเชื้อ ( สายดูดเสมหะ ) ซึ่งเครื่องดูดเสมหะในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เพื่อให้ได้เป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น เหมาะสำหรับการดูดเสมหะเพื่อใช้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ที่บ้าน และหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี

ดูดเสมหะ ดูดเสลด เพื่ออะไร

  • ดูดเสมหะเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
  • ดูดเสมหะเพื่อป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม เช่น เลือด,อาเจียน,น้ำเข้าสู่ปอด
  • ดูดเสมหะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

อุปกรณ์ดูดเสมหะ มีอะไรบ้าง

1.เครื่องดูดเสมหะ

ซึ่งในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายแบรนด์ที่สามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสม

2.ขวดสะอาด ปากแคบ

ขนาดประมาณ 500 ซีซีสำหรับรองรับเสมหะและสารคัดหลั่งที่ดูดออกมา

3.สายยางดูดเสมหะ

โดยต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งในเด็กทารกต้องเลือกใช้สายดูดเสมหะขนาด 5-8 French ส่วนเด็กโตเลือกใช้สายดูดเสมหะขนาด 8-10 French และผู้ใหญ่ควรเลือกใช้สายดูดเสมหะขนาด12-14 French เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

4.ถุงมือปลอดเชื้อ

สำหรับสวมใส่เพื่อทำการดูดเสมหะ ซึ่งถุงมือปลอดเชื้อจะช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายในระหว่างที่ทำการดูดเสมหะได้

ใครบ้างที่ควรดูดเสมหะ ?

1.ดูดเสมหะในเด็กทารก

การดูดเสมหะในทารกก็เพื่อช่วยเคลียร์ทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจากทารกยังไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกมาเองได้ ดังนั้นจึงต้องมีการดูดเสมหะเพื่อช่วยเคลียร์ทางเดินหายใจ ซึ่งการดูดเสมหะในเด็กทารกจะต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก เพราะเด็กอาจไม่ให้ความร่วมมือ จึงต้องทำอย่างนุ่มนวลและปลอบโยนเด็กทารกหลังการดูดเสมหะเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : ดูดเสมหะทารก อย่างไรให้น้องไม่เจ็บ มีวิธีการดูเสลดในเด็กอย่างไรบ้าง

2.ดูดเสมหะในผู้ใหญ่

มีข้อบ่งชี้ใน การดูดเสมหะในผู้ใหญ่ คือ เป็นผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ รวมถึงผู้ป่วยที่เจาะคอหรือใส่ท่อทางเดินหายใจเทียม เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งขึ้น ลดการอุดกั้น และการสะสมของเสมหะที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้

คลิกอ่านเพิ่มเติม : การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน มีวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้ปลอดภัยมากที่สุด !

วิธีดูดเสมหะ ทำได้กี่แบบ

1.การดูดเสมหะในลำคอ

เป็นการดูดเสมหะผ่านทางท่อเจาะคอ ซึ่งเป็นท่อที่เจาะผ่านผิวหนังและกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยจะต้องมีความระมัดระวังในการดูดเสมหะและการรักษาความสะอาด เริ่มต้นก่อนที่จะดูดเสมหะจะต้องล้างมือให้สะอาด จากนั้นเตรียมผู้ป่วยด้วยการให้ออกซิเจนในระดับความเข้มข้น 100% เป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 นาทีก่อนดูดเสมหะ

จากนั้นหยิบสายดูดเสมหะที่ต่อกับเครื่องดูดขึ้นมา เปิดแรงดันที่พอเหมาะแล้วหยิบสายดูดใส่เข้าไปในท่อหายใจ ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบ ๆ เพื่อให้สามารถดูดเสมหะได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ก่อนจะค่อย ๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา โดยใช้เวลาในการดูดครั้งละประมาณ 10 – 15 นาที ไม่ควรดูดเสมหะนานกว่านี้ และควรหยุดพักนาน 20 – 30 วินาทีในระหว่างการดูดเสมหะแต่ละครั้งเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน

ขอบคุณคลิปจาก :
TROPMED Youtube

2.การดูดเสมหะทางปาก

การดูดเสมหะวิธีนี้มักใช้ในเด็กเล็ก โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้ลูกยางแดงที่สะอาดแล้วบีบลมออก จากนั้นทำการสอดปลายท่อลูกยางแดงเข้าไปในปากจนเกือบถึงโคนลิ้น แล้วคลายลูกยางที่บีบออกอย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกยางดูดเสมหะออกมา

ส่วนในผู้สูงอายุสามารถใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดสอดเข้าไปในปากเพื่อทำการดูดเสมหะออกมา หากผู้ป่วยมีอาการเกร็งหรือสำลักสามารถใช้ mouth gag ช่วยได้

ขอบคุณคลิปจาก TROPMED Youtube

3.การดูดเสมหะทางจมูก

การดูดเสมหะวิธีนี้มักใช้กับเด็กเล็กหรือในผู้ป่วยที่ชอบกัด Oral airway บ่อย ๆ โดยในเด็กเล็กสามารถใช้ลูกยางแดงที่สะอาดทำการสอดเข้าไปในจมูกเพื่อทำการดูดเสมหะออกมา ส่วนเด็กโตหรือผู้ใหญ่จะใช้วิธีการสอดสายดูดเสมหะเข้าไปในช่องโพรงจมูกอย่างเบามือ จากนั้นก็ค่อย ๆ ทำการดูดเสมหะออกมา

ขอบคุณคลิปจาก : amapediatrics

4.การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม

ก่อนดูดเสมหะให้เตรียมอุปกรณ์เช่นเดียวกับการดูดเสมหะผ่านทางท่อเจาะคอ โดยผู้ทำควรล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับสายดูดเสมหะสอดเข้าไปในท่อทางเดินหายใจเทียม แล้วค่อย ๆ ทำการดูดเสมหะในท่อ โดยตอนที่ดึงออกมาให้หมุนสายดูดเสมหะไปรอบ ๆ เพื่อที่จะได้ทำการดูดเสมหะออกมาได้อย่างหมดจด

ขอบคุณคลิปจาก : Nurse PBRU

อ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 7 เครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดี กำจัดสเลดของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การดูดเสมหะเป็นการดูดโดยใช้แรงดันลบที่ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดความระคายเคือง และเกิดความเจ็บปวด ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยโดยการบอกกล่าวให้ทราบว่ากำลังจะทำการดูดเสมหะ จากนั้นเตรียมผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สบาย ใช้แรงดูดที่น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยลงให้มากที่สุด และในการดูดเสมหะควรใช้เวลาไม่เกิน 10-15 นาที เพื่อป้องกันการเกิดหลอดลมหดเกร็งที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดได้

ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ

1.การใช้แรงดูดเสมหะที่มากเกินไป

การดูดเสมหะแบบแรง ๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ และอาจเกิดการพร่องออกซิเจน โดยควรปรับแรงดูดเสมหะให้เบาที่สุดเท่าที่จะสามารถดูดเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความเจ็บปวด

2.ภาวะพร่องหรือขาดออกซิเจนขณะที่ดูดเสมหะ

การเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเป็นเพราะว่าใช้เวลาในการดูดเสมหะนานเกินไป ซึ่งการดูดเสมหะในแต่ละครั้งควรใช้เวลาในการดูดเสมหะไม่เกิน 10-15 วินาทีหรือเท่ากับที่กลั้นหายใจหนึ่ง

3.ความสะอาดขณะดูดเสมหะ

ควรล้างมือก่อนและหลังการดูดเสมหะ รวมถึงเลือกใช้สายดูดและอุปกรณ์การดูดเสมหะที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วเพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าไปสู่ผู้ป่วย

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 5 ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ มีอะไรบ้าง หากไม่ระมัดระวังให้ดี อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การดูดเสมหะนั้นถ้าทำอย่างถูกวิธีและนุ่มนวล จะช่วยลดความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยแต่ละครั้ง ผู้ดูแลจึงต้องใช้ความระมัดระวัง โดยใช้วิธีการ ดูดเสมหะ ที่ถูกต้อง ใช้แรงดูดเสมหะที่พอเหมาะในเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้การดูดเสมหะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเจ็บปวดในการดูดเสมหะได้เป็นอย่างดีที่สุด

หากท่านต้องการซื้อเครื่องดูดเสมหะเพื่อไปช่วยกำจัดเสลด ก็สามารถขอรับคำแนะนำจากทีมงาน Rakmor ได้ตลอด 24 ชม. ให้คำแนะนำการเลือกซื้อเครื่องดูดเสมหะโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรงค่ะ 😊

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *