สำหรับใครที่วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดัน ก็อาจจะเจอปัญหา “ ความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง ” ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกช่วงอายุ แต่ที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วค่าความดันปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งผู้ป่วยควรที่จะคอยวัดความดันของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตรวจเช็คว่ามีค่าความดันที่สูงหรือต่ำกว่าภาวะปกติรึเปล่า
ทำความรู้จักค่าวัดความดันตัวบน และ ค่าวัดความดันตัวล่าง ว่าคืออะไร
ในการวัดความดันโลหิตแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทราบด้วยว่าค่าที่วัดได้แต่ละค่านั้นคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นความดันตัวบน หรือ ค่า SYS ความดันตัวล่าง หรือ ค่า DIA รวมถึงค่า Pulse เพื่อให้สามารถอ่านค่าและประเมินอาการได้อย่างถูกต้อง ว่าแล้วเราลองมาดูค่าต่างๆ ที่ควรรู้กันดีกว่าค่ะ
- ค่าความดัน SYS ( Systolic ) คือ ค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว หรือเรียกว่า “ ค่าความดันตัวบน ” โดยจะมีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท
- ค่าความดัน DIA ( Diastolic ) คือ ค่าความโลหิตในขณะที่หัวใจคลายตัว หรือเรียกว่า “ ค่าความดันตัวล่าง ” โดยจะมีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท
- ค่า Pulse คือ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ หรืออัตราชีพจร โดยจะมีหน่วยเป็น ครั้งต่อนาที
ตารางแสดงค่าความดันโลหิต ( มม.ปรอท )
ข้อมูลอ้างอิง : bangkokpattayahospital
ความดันตัวล่างต่ำ ตัวบนสูง
ความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีค่าความดันตัวล่าง หรือ DIA ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันตัวบน หรือ SYS สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันตัวล่างต่ำ อาจเกิดจากการที่หัวใจคลายตัวมากเกินไป เป็นผลจากการมีโรคประจำตัว หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
ส่วนค่าความดันตัวบนสูง อาจเกิดจากการมีน้ำหนักตัวที่มาก มีภาวะเครียด หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งเป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนทั่วไป ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง
ความดันตัวล่างต่ำ ตัวบนสูง อันตรายหรือไม่
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ รวมถึงมีภาวะความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง ส่วนใหญ่แล้วจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาที่เห็นเด่นชัด จึงทำให้ผู้ป่วยบางคนชะล่าใจ ซึ่งหากมีภาวะความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง แล้วหมั่นทำการตรวจวัดความดัน และไปพบแพทย์ทันที ก็จะถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่หากปล่อยเอาไว้นานโดยที่ไม่รีบไปรักษา ก็อาจจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วยได้
ความดันตัวล่างสูง ตัวบนต่ำ อันตรายหรือไม่
อย่างที่บอกไปว่าการมีความดันตัวล่างสูง ตัวบนต่ำ หากทำการตรวจพบได้เร็ว และไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่หากไม่ได้รับการรักษา ก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยอย่างมากเลย เนื่องจากการมีภาวะความดันโลหิตที่ผิดปกติทุกชนิด จะส่งผลเสียต่อหัวใจ หลอดเลือด สมอง และไต ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจนเกินไป ก็อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้
ความดันตัวบนสูง ตัวล่างปกติ
ความดันตัวบนสูง ตัวล่างปกติ หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีค่าความดันตัวบนสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันตัวล่างอยู่ในภาวะปกติ คือมีค่าน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท โดยภาวะนี้มักเกิดกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้น ผนังหลอดเลือดจะมีความหยืดหยุ่นที่ลดลง ส่งผลทำให้มีค่าความดันตัวบนสูงกว่าปกติ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดัน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโอกาสเกิดภาวะ “ ความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง ” ได้อีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องหมั่นวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตอยู่เสมอ เพื่อเป็นการตรวจเช็คสภาพร่างกาย และประเมินอาการต่างๆ โดยหากพบว่ามีค่าความดันที่ผิดปกติ แม้ว่าจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ตาม แต่ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด ซึ่งหากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษา ก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องวัดความดันแบบสม่ำเสมอ ก็ควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล หรือ เครื่องวัดความดันข้อมือ ซึ่งเป็นที่วัดความดันแบบอัตโนมัติ มีรูปแบบการแสดงผลที่ง่ายผ่านหน้าจอ แถมยังสามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อีกด้วย ซึ่งท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่น เครื่องวัดความดันที่สนใจกับทาง RAKMOR ได้เลยนะคะ เราพร้อมให้คำแนะนำที่ดีและเหมาะสมที่สุดเสมอค่ะ 😊
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical