ปอดรั่ว (Pneumothorax) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โดยภาวะปอดรั่วจะส่งผลทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าการเป็นโรคปอดรั่วหรือภาวะปอดทะลุ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นมันอาจรุนแรงจนสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้เลยทีเดียว แต่ความกลัวเหล่านั้นจะถูกกำจัดไปหากคุณรู้และเข้าใจ รู้เท่าทันโรคร้ายสามารถรับมือกับมันได้อย่างมีสติ วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่วหรือภาวะปอดทะลุให้มากขึ้น มาดูกันว่ามันคืออะไร มีอันตรายอย่างไร มีสาเหตุและวิธีป้องกันรักษาอย่างไรบ้าง
ปอดรั่ว คืออะไร ?
ปอดรั่ว คือ ภาวะที่ลมรั่วในปอด โดยลมในถุงลมปอดจะรั่วเข้าไปยังช่องเยื่อหุ้มปอด หากลมรั่วออกมาในปริมาณมากจะทำให้เนื้อปอดถูกกดลงจนแฟบส่งผลต่อการหายใจทำให้หายใจหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก หากมีลมรั่วออกมาในปริมาณมากเสี่ยงต่อภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นปอดรั่วยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ การอักเสบ การติดเชื้อหรือการมีของเหลวคั่งในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด ไตเสื่อม ไตวาย เป็นต้น
อาการปอดรั่ว มีลักษณะเป็นอย่างไร
อาการปอดรั่วมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป บางรายมีอาการเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งแต่บางรายพบหลายอาการ สำหรับปอดรั่วอาการ มีดังนี้
- มีอาการแน่นหน้าอก
- ไอหายใจถี่ขึ้น หรือหายใจหอบเหนื่อย
- มีอาการอ่อนเพลียวิงเวียนศีรษะหัวใจเต้นเร็ว
- ผิวหนังเขียวคล้ำเป็นบางจุด
- มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
- มีภาวะช็อค เหงื่อออกมากกว่าปกติ
ปอดรั่วเกิดจาก สาเหตุอะไรบ้าง
โรคปอดรั่วหรือปอดทะลุมีสาเหตุเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการเจ็บป่วย หรือเกิดขึ้นจากการรักษาทางการแพทย์ สรุปสาเหตุ มีดังนี้
- ปอดรั่วอาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดจากการบาดเจ็บที่บริเวณหน้าอก อย่างเช่น ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าอก เป็นต้น
- ปอดรั่วหรือปอดทะลุเกิดจากถูกอาวุธหรือของมีคมยิงหรือถูกแทงที่บริเวณปอด
- ปอดรั่วอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น การส่องกล้อง การผ่าตัด หรือการใส่ท่อในทรวงอก เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคปอด ที่เนื้อเยื่อปอดมีความผิดปกติหรือได้รับความเสียหาย ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะปอดรั่ว เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง ไฟโบรซิส โรคซิสติก ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โรคปอดบวม โรคมะเร็งปอด โรคหอบหืด เป็นต้น
- การดำน้ำลึกหรือการขึ้นที่สูงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถพบได้เนื่องจากในน้ำลึกและบนที่สูงนั้นพบว่ามีแรงดันอากาศที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจึงทำให้มีภาวะปอดรั่วตามมา
- ปอดรั่วพบในผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้สูง
- อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้เองอย่างเต็มที่ เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจอาจทำให้แรงดันอากาศภายในทรวงอกผิดปกติจนเป็นสาเหตุทำให้เยื่อหุ้มปอดเกิดความเสียหาย
- ปอดรั่วมักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 จนถึง 40 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดถุงลมในปอดแตกหักมีรูปร่างสูงและผอมมากยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ
โรคปอดรั่ว สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างไร
ในการวินิจฉัยโรคปอดรั่ว นั้นไม่สามารถประเมินจากอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างเดียวได้ ดังนั้นหากพบความผิดปกติ อย่างอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหายใจ แนะนำให้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายโดยใช้อุปกรณ์หูฟังเพื่อฟังเสียงการหายใจ
หากปอดมีอากาศแทรกแต่ทำให้ได้ยินเสียงการหายใจไม่ชัดเจน หรืออาจไม่ได้ยินเสียงเลย หรืออาจใช้วิธีการตรวจด้วยการคลำปอดเพื่อดูว่าขณะหายใจเข้า-ออกนั้นปอดขยายตัวออกเท่ากัน 2 ข้างหรือไม่ หากตรวจพบว่ามีปัญหาหรือสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะปอดรั่ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัยอีกครั้ง หรืออาจใช้วิธีการตรวจอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการทำอัลตร้าซาวด์
- การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือด
วิธีในการรักษาปอดรั่ว
1.นอนพักรักษาบนเตียง
สำหรับภาวะปอดรั่วที่เกิดความเสียหายไม่มากหรือมีอาการไม่รุนแรง ร่างกายสามารถดูดซึมอากาศส่วนเกินในปอดออกไปได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่แพทย์จะให้ผู้ป่วยหยุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องออกแรงมาก โดยทำการนอนพักรักษาตัวบนเตียงและมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ในระหว่างนี้แพทย์จะต้องเอกซเรย์ปอดเพื่อดูอากาศที่แทรกอยู่ในปอด ว่าลดลงหรือไม่ และสามารถขยายตัวเต็มที่แล้วหรือยัง หากผู้ป่วยมีภาวะขาดออกซิเจนหรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ แพทย์จะให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย ด้วยการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนหรือถังออกซิเจน ร่วมกับอุปกรณ์อย่างเกจ์ออกซิเจน และกระบอกออกซิเจนสำหรับให้ความชื้นขณะให้ออกซิเจน เพื่อทำออกซิเจนบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และช่วยเร่งอัตราการดูดกลับของลมในช่องปอดด้วยทำให้ปอดสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นนั่นเอง
2.สอดเข็มหรือท่อเข้าไปในช่องปอด
ลมรั่วในปอดการรักษา สามารถทำได้ด้วยการสอดเข็มหรือท่อเข้าไปในช่องปอด ในกรณีที่อากาศแทรกเข้าไปในปอดเป็นบริเวณกว้าง แพทย์จะใช้วิธีการสอดเข็มหรือสอดท่อเข้าไปยังช่องปอด เพื่อทำให้อากาศถูกระบายออกโดยจะพิจารณาเลือกวิธีการระบายตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วย วิธีการรักษานี้ถือว่าปลอดภัยไม่ต้องผ่าตัดแต่ผู้ป่วยอาจต้องสอดท่อทิ้งไว้ในร่างกายเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้การรักษาต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
3.การเชื่อมเยื่อหุ้มปอด
การรักษาด้วยการเชื่อมเยื่อหุ้มปอด เป็นหนึ่งในวิธีรักษาปอดรั่วที่ได้รับความนิยม โดยทำการฉีดสารบางชนิดเพื่อทำให้เยื่อหุ้มปอดทั้งสองข้างเชื่อมติดกัน ทำให้อากาศหรือของเหลวที่ค้างอยู่ในระหว่างเยื่อหุ้มปอดนั้นออกไปจนหมดก่อน จึงสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติแต่วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะปอดรั่วแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง
4.เข้ารับการผ่าตัด
การรักษาภาวะปอดรั่วด้วยการผ่าตัดถือเป็นวิธีการสุดท้ายหากรักษาด้วยวิธีการต่างๆ แล้วไม่ได้ผลหรือเป็นซ้ำหลายรอบแพทย์จะผ่าตัดโดยสอดกล้องเข้าไปในปอด โดยเริ่มจากการดูความเสียหายหากสามารถซ่อมแซมได้ แพทย์อาจยึดเยื้อหุ้มปอดเข้าด้วยกันปิดรอยรั่วหรือทำให้รอยรั่วเชื่อมกันสนิท เพื่อจัดการอากาศแต่ในกรณีรุนแรงแพทย์จะผ่าตัดปอดที่มีปัญหาทิ้งไป
การดูแลและป้องกันโรคปอดรั่วหลังการรักษา
วิธีดูแลปอดรั่วหรือการป้องกันภาวะปอดรั่ว ต้องยอมรับเลยว่าภาวะนี้ไม่สามารถป้องกันได้ ผู้ที่เคยมีปัญหานี้มาก่อนแล้วก็มีโอกาสสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามวิธีดูแลปอดที่สามารถทำได้ไม่ยาก ก็คือเราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างเช่น การเลิกสูบบุหรี่หรือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายของปอดช่วย ลดความเสี่ยงในการเกิดปอดรั่วและลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำได้อีก
โรคทางระบบทางเดินหายใจอย่าง ปอดรั่ว หากปล่อยไว้ให้มีอาการรุนแรงและไม่รีบรักษา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเรารู้เท่าทันสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปอดรั่ว และรีบไปพบแพทย์เพื่อหารักษา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรุนแรงและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ เพราะหากมีอาการที่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัด หรือสอดเข็มเพื่อทำการรักษา
แต่หากอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยสามารถนอนพักฟื้น งดกิจกกรมที่ใช้แรงมากๆ ควบคู่กับการให้ออกซิเจนด้วยอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจนหรือถังออกซิเจน ใช้ร่วมกับเกจ์ออกซิเจน กระบอกออกซิเจน ท่อหรือสายออกซิเจน เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำนั่นเอง
ช่องทางสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า