หม้อนอน อุปกรณ์ขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียงในท่านอน พร้อมวิธีการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย
หม้อนอน
หม้อนอน ฟังดูอาจจะงงๆ หลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ถ้าได้พบเห็น เชื่อว่าทุกคนต้องร้อง อ๋อ.. ขึ้นมาทันที อุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วย และยังมีประโยชน์ต่อผู้ดูแลอีกด้วย ใช้งานโดยการสอดหม้อนอน เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สะดวกที่จะเดินไปเข้าห้องน้ำ เพื่อให้การขับถ่ายหรือการปัสสาวะเป็นเรื่องง่าย หม้อนอน คืออะไร มีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้หม้อนอนแบบไหนดี อย่าพลาดเพราะบทความนี้เรามีคำตอบ รวมถึงจะมาบอกเล่าขั้นตอนการใช้งานหม้อนอน อย่างปลอดภัยด้วย
หม้อนอน คืออะไร
หม้อนอน คือ อุปกรณ์สำหรับรองรับการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะบนเตียง เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้ สามารถรับถ่ายได้บนเตียง สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำให้ยากลำบาก อีกทั้งยังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย อุปกรณ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งกับผู้ป่วยผู้หญิงและผู้ป่วยผู้ชาย เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล เหมาะที่จะนำมาใช้งานทั้งในโรงพยาบาลและใช้งานที่บ้าน
หม้อนอนสำหรับผู้ป่วย ปัจจุบันมีด้วยกันหลายขนาดและผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกันออกไป เช่น หม้อนอนสแตนเลส หม้อนอนพลาสติก หม้อนอนกระดาษ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนซื้อมาใช้งานกับผู้ป่วยต้องพิจารณาก่อนว่าแบบไหนเหมาะสม ขนาดเท่าไหร่ ความกว้าง ความยาวและความสูงเป็นอย่างไร เหมาะกับผู้ป่วยหรือไม่ แบบไหนคุ้มค่า มากที่สุด ที่สำคัญเลยการใช้งานต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วย รวมทั้งการรักษาความสะอาดหลังจากการใช้งาน เพื่อสุขอนามัยที่ดี
หม้อนอน มีกี่ชนิด
1.หม้อนอนแบบธรรมดา (regular bedpan)
หม้อนอนแบบธรรมดาหรือชนิดธรรมดา สามารถพบเจอได้ทั่วไป ใช้กับผู้ป่วยเคสปกติ สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ แถมยังขายในราคาไม่แพง ปัจจุบันมีทั้งที่ผลิตมาจากพลาสติกและผลิตจากโลหะ มีความแข็งแรง ทนทาน หม้อนอนแบบธรรมดา บริเวณขอบด้านบนจะมนและเตี้ยกว่า ขอบด้านล่างมีความลึกประมาณ 2 นิ้ว
2.หม้อนอนแบบใช้สำหรับผู้ป่วยกระดูก (fracture pan)
หม้อนอนแบบใช้สำหรับผู้ป่วยกระดูก หม้อนอนชนิดนี้ผลิตและออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยกระดูกที่ต้องใส่เฝือกที่ลำตัว ที่ขา หรือผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดห้ามอยู่ในท่านอนกึ่งนั่ง หม้อนอนแบบใช้สำหรับผู้ป่วยกระดูก ผลิตขึ้นจากพลาสติกหรือโลหะที่มีความแข็งแรง บริเวณขอบด้านบนจะมีความมน มีลักษณะที่เตี้ยกว่าขอบด้านล่าง โดยมีความลึกประมาณ 1/2 นิ้ว
เลือกใช้หม้อนอน แบบไหนดี
ปัจจุบันมีหม้อนอนให้เลือกใช้หลายแบบด้วยกัน เช่น หม้อนอนพลาสติก หม้อนอนสแตนเลส และหม้อนอนกระดาษ แต่ละแบบจะมีข้อดี-ข้อเสียดังนี้
1.หม้อนอนพลาสติก
หม้อนอนพลาสติกได้รับความนิยมในปัจจุบัน ความแข็งแรง ทนทานมีมากพอสมควร แถมยังสามารถหาซื้อหม้อนอนพลาสติกได้ง่ายๆ มีจำหน่ายหลายสีสัน ตามความต้องการและมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งหม้อนอนพลาสติกสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ก่อนซื้อให้พิจารณาว่าขนาดเหมาะสมกับผู้ใช้งานหรือไม่
ข้อดีของหม้อนอนพลาสติก- มีให้เลือกหลายสีสัน
- น้ำหนักเบา
- ทำความสะอาดง่าย
- ราคาถูก
- แข็งแรงทนทาน
- แม้จะแข็งแรงทนทานแต่ก็มีโอกาสแตกหักง่ายเพราะทำจากพลาสติก
- รองรับน้ำหนักได้ไม่มาก
- เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ อาจมีการชำรุด เสียหายและเปราะบาง
2.หม้อนอนสแตนเลส
หม้อนอนสแตนเลส สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ เป็นหม้อนอนที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ซื้อมองว่าหม้อนอนสแตนเลส คุ้มค่าเพราะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่า อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
ข้อดีของหม้อนอนสแตนเลส- มีความแข็งแรง ทนทาน
- คุ้มค่าต่อการใช้งาน
- รองรับน้ำหนักได้ดี
- การทำความสะอาดง่าย
- มีราคาค่อนข้างสูง
- ถ้าเลือกขอบแหลมคมอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
3.หม้อนอนกระดาษ
หม้อนอนกระดาษ ออกแบบมาเพื่อใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องทำความสะอาดอะไรให้ยุ่งยาก เหมาะกับผู้ดูแลที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือไม่ต้องการทำความสะอาด สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ ในราคาถูก
ข้อดีของหม้อนอนกระดาษ- มีราคาถูก
- ใช้แล้วทิ้งไม่ต้องทำความสะอาด
- เหมาะกับผู้ดูแลที่ไม่ค่อยมีเวลา
- ราคาถูกแต่ต้องซื้อจำนวนมาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง
- ไม่แข็งแรง ทนทาน
ขั้นตอนการใช้งานหม้อนอน อย่างปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 1 : ทำความสะอาดมือแล้วเช็ดให้แห้ง พร้อมสวมถุงมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรีย
ขั้นตอนที่ 2 : นำหม้อนอนไปที่เตียงของผู้ป่วย หากหม้อนอนมีอุณหภูมิที่เย็นให้นำหม้อนอนไปผ่านน้ำอุ่นก่อนแล้วเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 3 : บอกให้ผู้ป่วยนอนตะแคง งอเข่า พร้อมเปิดผ้าที่ผู้ป่วยสวมใส่อยู่ เพื่อที่จะสอดหมอนอนเข้าไปได้สะดวก วางมือซ้ายของผู้ดูแลในลักษะที่หงายมือในบริเวณของก้นกบ นำหม้อนอนช้อนลงที่มือซ้าย โดยการหันขอบด้านบนหันไปทางศีรษะของคนไข้
ขั้นตอนที่ 4 : บอกผู้ป่วยให้ค่อย ๆ ยกสะโพก พร้อมพลิกตัวนอนหงาย แล้วเลื่อนหม้อนอนไปอยู่ที่ใต้ก้น ทำให้หม้อนอนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 : เลื่อนเสื้อผ้า จัดแจงเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 6 : เมื่อผู้ป่วยขับถ่ายเสร็จแล้วให้ผู้ป่วยยกสะโพกขึ้น แล้วเลื่อนหม้อนอนออกมา
ขั้นตอนที่ 7 : เสร็จแล้วทำความสะอาดโดยเช็ดด้านหน้าและด้านหลังที่บริเวณอวัยวะเพศไปถึงทวารหนัก
ขั้นตอนที่ 8 : นำสิ่งที่ผู้ป่วยขับถ่ายออกมาไปทิ้ง แล้วทำความสะอาดหม้อนอน พร้อมถอดถุงมือ ล้างมือทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
หาซื้อหม้อนอน ได้ที่ไหนบ้าง
อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่าง หม้อนอน สามารถหาซื้อได้ที่ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วไปได้ แต่หากต้องการหม้อนอนของผู้ป่วยติดเตียงที่ได้มาตรฐานขอแนะนำ RAKMOR ร้านจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพ ขายของแท้และมีการให้บริการหลังการขาย สามารถติดต่อสั่งซื้อและขอนำแนะนำได้ที่ Rakmor.com หรือซื้อผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง Shopee และ Lazada ติดต่อเราได้ที่นี่ คลิก