การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน มีวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้ปลอดภัยมากที่สุด !

การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน มีขั้นตอนวิธีทำอย่างไร

ดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ

การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่กลับมาพักฟื้นอยู่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจทางจมูกหรือปากได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการมีเนื้องอก หรือเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ จึงจำเป็นต้องทำการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น ป้องกันการสะสมของเสมหะ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้ แต่ถึงอย่างนั้นการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ ก็จะมีรายละเอียดและขั้นตอนบางอย่างที่เพิ่มเติมจากปกติเล็กน้อย เพื่อให้สามารถดูดเสมหะได้อย่างปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด ว่าแล้วเราลองไปดูข้อมูลกันเลยว่าการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอมีวิธีการอย่างไรบ้าง

การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ อันตรายไหม ?

ในการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ เป็นวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่สามารถทำได้โดยไม่เป็นอันตราย แถมยังถือเป็นวิธีที่จำเป็นในการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างสะดวก และลดการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เพียงแต่ผู้ดูแลควรจะทำการดูดเสมหะให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ โดยต้องทำอย่างระมัดระวัง และเบามือมากที่สุด เพื่อให้สามารถดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยกับผู้ป่วย เพราะว่าการดูดเสมหะนั้นจะต้องมีการสอดสายเข้าไปในท่อเจาะคอของผู้ป่วย ซึ่งหากทำรุนแรงเกินไปก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ การภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในได้

คลิกอ่านภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะได้ที่นี่ : 5 ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ มีอะไรบ้าง หากไม่ระมัดระวังให้ดี อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอที่บ้านได้หรือไม่ ?

สำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่แพทย์อนุญาตให้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจทางจมูกหรือปากได้ ทำให้ไม่สามารถขับเสมหะออกได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะอย่างสม่ำเสมอ ผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถทำการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอที่บ้านได้อย่างสะดวก โดยการใช้เครื่องดูดเสมหะ ที่มีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะมีหลายรุ่นและหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความต้องการใช้งาน แต่ทางที่ดีควรจะปรึกษากับแพทย์ก่อนเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องดูดเสมหะที่เหมาะสมที่สุด

คลิกดูรีวิวเครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดีได้ที่นี่ : แนะนำ 7 เครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดี กำจัดสเลดของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อุปกรณ์สำหรับการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ มีอะไรบ้าง

– เครื่องดูดเสมหะ : เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งต้องเลือกขนาดและแรงดูดให้เหมาะกับการใช้งาน

– สายดูดเสมหะ : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอดเข้าไปในท่อเจาะคอของผู้ป่วย เพื่อดูดเสมหะออกมา

–  สารหล่อลื่น : ใช้ในการทาสายดูดเสมหะ เพื่อให้มีความลื่นและสามารถสอดเข้าไปในท่อเจาะคอได้ง่ายขึ้น

ถุงมือยางทางการแพทย์ สำหรับให้ผู้ดูแลสวมก่อนดูดเสมหะให้กับผู้ป่วย เพื่อความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค

– ถังขยะพร้อมฝาปิด : ควรเป็นถังขยะที่ใช้สำหรับการดูดเสมหะโดยเฉพาะ ไม่ควรนำไปใช้งานร่วมกับอย่างอื่น

ขอบคุณคลิปจาก : TROPMED Youtube

วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ ต้องทำอย่างไร

1. เช็คความพร้อมของอุปกรณ์ดูดเสมหะก่อนการใช้งาน

ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์สำหรับการดูดเสมหะ และจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการดูดเสมหะ รวมถึงควรทำการวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันของผู้ป่วยก่อนการดูดเสมหะ เพื่อใช้เปรียบเทียบดูอาการในภายหลัง

2. เริ่มต้นสอดสายดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยเจาะคอ

สอดสายดูดเสมหะเข้าไปในท่อเจาะคอของผู้ป่วย ให้มีความลึกประมาณ 5 – 6 นิ้ว และห้ามเปิดสายดูดเสมหะในระหว่างที่กำลังสอดเข้าไป โดยต้องสอดเข้าไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าสายสัมผัสกับผนังหลอดลมแล้วจึงหยุด

3. เปิดเครื่องดูดเสมหะให้ทำงาน

เปิดเครื่องเพื่อทำการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วย โดยจะทำการดูดครั้งละ 10 – 15 วินาที เมื่อดูดเสร็จหนึ่งครั้งแล้วควรให้ผู้ป่วยหยุดพักประมาณ 20 – 30 วินาที เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องรับภาระหนักเกินไป จากนั้นจึงค่อยทำการดูดต่อจนกว่าเสมหะจะหมด

4. ทำความสะอาดเครื่องดูดเสมหะหลังการใช้งาน

ทำความสะอาดสายดูดเสมหะเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว โดยจะใช้สายดูดเสมหะดูดน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุกเข้าไป เพื่อล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกภายใน

5. ทิ้งอุปกรณ์ดูดเสมหะแบบแยกขยะ

หลังจากทำการดูดเสมหะเสร็จแล้ว ให้ทิ้งสายที่ใช้ดูดเสมหะ และถุงมือที่ใช้แล้วลงในถุงขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อความสะอาดเรียบร้อย และเพื่อไม่ให้ไปปนกับขยะชนิดอื่น

📃 คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

📌 ดูดเสมหะเจ็บไหม การดูดเสลดในผู้ใหญ่เจ็บกว่าเด็กจริงหรือไม่ อ่านได้ที่นี่ มีข้อมูลจาก Pantip มาฝาก

📌 การดูดเสมหะ มีวิธีดูดเสลดในเด็ก และผู้ใหญ่อย่างไรบ้างให้รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด

📌 ดูดเสมหะทารก อย่างไรให้น้องไม่เจ็บ มีวิธีการดูเสลดในเด็กอย่างไรบ้าง

ข้อควรระวังเมื่อต้องดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ

  • ไม่ควรทำการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอในขณะที่ผู้ป่วยเพิ่งทานอาหารเสร็จ เพราะอาหารที่ทานเข้าไปยังย่อยไม่หมด หากทำการดูดเสมหะเลยก็อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสำลักอาหารได้
  • ใช้สายดูดเสมหะที่มีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อเจาะคอ เพราะหากสายมีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้สอดเข้าไปในท่อเจาะคอลำบาก และอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บได้
  • ไม่ควรสอดสายดูดเสมหะเข้าไปลึกจนเกินไป ควรสอดเข้าไปให้มีความลึกเหมาะสม ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้สามารถดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ป่วยเจาะคอ
  • ปรับเครื่องดูดเสมหะให้มีแรงดันที่เหมาะสม ตามปริมาณเสมหะหรืออาการของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่างปอด หรือหลอดลม
  • ไม่ควรใช้ระยะเวลาดูดเสมหะนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ เช่น ภาวะปอดแฟบ หรือปอดอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรใช้ระยะเวลาในการดูดเสมหะให้เหมาะสม

ในการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอนั้น จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าการดูดเสมหะทางปากหรือทางจมูกแบบปกติ เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องได้รับการสอดสายดูดเสมหะเข้าไปในท่อเจาะคอ ซึ่งเป็นบริเวณที่ค่อนข้างเปราะบาง ดังนั้นจึงควรทำการดูดเสมหะอย่างเบามือ โดยต้องทำให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงใช้แรงดันในการดูดที่เหมาะสม และไม่ใช้ระยะเวลาดูดนานจนเกินไป เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดเสมหะ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

นอกจากนี้แล้วการมองหาเครื่องดูดเสมหะ หรือ เครื่อง Suction ที่มีคุณภาพ เป็นยี่ห้อที่คนนิยมใช้งานก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ควรซื้อเครื่องดูดเสมหะจากแบรนด์ที่ไม่ได้มาตรฐานมา เพราะอาจทำให้เกิดอัตรายกับผู้ป่วยเจาะคอในขณะที่ลงมือดูดเสมหะก็ได้ค่ะ ซึ่งถ้าท่านต้องการเครื่องดูดเสมหะยี่ห้อที่ดี ได้มาตรฐาน ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ RAKMOR ได้เลยนะคะ เราพร้อมให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับท่านเสมอ แถมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยค่ะ 😊

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *