วิธี การจับชีพจร ทำได้ง่ายๆไม่ยาก เอาไว้เช็คอัตราการเต้นของหัวใจได้

วิธีการจับชีพจร ทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

การจับชีพจร

การจับชีพจร คือ การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อเช็คอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งมีผลต่อการประเมินสุขภาพ และการตรวจสอบความผิดปกติของหัวใจ ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ปัญหาระบบการไหลเวียนโลหิต และอื่นๆ นอกจากนี้การจับชีพจรยังมีข้อดีหลายอย่าง หากจับชีพจรหลังการออกกำลังกาย จะทำให้รู้ว่าระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน และยังทำให้รู้ว่าหัวใจสามารถปรับตัวและตอบสนองความต้องการออกซิเจน และสารอาหารที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่

ถึงแม้ว่าการจับชีพจรจะมีข้อดีและมีประโยชน์หลากหลาย แต่ถ้าเทียบกับเครื่องวัดสัญญาณชีพ ต้องบอกเลยว่าเครื่องวัดสัญญาณชีพนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเครื่องวัดสัญญาณชีพสามารถตรวจจับชีพจรได้แม่นยำกว่า สม่ำเสมอมากกว่าการจับชีพจร และที่สำคัญคือสามารถแสดงอัตราการเต้นของหัวใจให้ทราบผ่านทางหน้าจอแสดงผลทันที ดังนั้นการตรวจวัดชีพจรด้วยเครื่องวัดสัญญาณชีพจึงประสิทธิภาพมากกว่า ตอบโจทย์สถานการณ์ต่างๆได้ดีกว่าการจับชีพจรตามปกติ

จับชีพจรร่างกาย จับชีพจรส่วนต่างๆ

การจับชีพจร สามารถจับตรงไหนได้บ้าง โดยไม่ใช้อุปกรณ์

1.ด้านข้างลำคอ Carotid Pulse

Carotid Pulse จะอยู่ด้านข้างของลำคอ บริเวณมุมขากรรไกร ข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ สามารถจับชีพจรได้ง่าย มีความชัดเจนกว่าจุดอื่นๆ ส่วนข้อเสียคือ ความแรงของชีพจร Carotid Pulse ด้านซ้าย และด้านขวาของลำคออาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งนั่นก็อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจที่วัดได้ มีความคลาดเคลื่อน ไม่แม่นยำเท่าที่ควร

2.ด้านในของกล้ามเนื้อแขน Brachial Pulse

Brachial Pulse จะอยู่ด้านในของกล้ามเนื้อแขน (biceps) ซึ่งข้อดีในการจากชีพจรจุดนี้คือ จับชีพจรได้ค่อนข้างง่าย มีอัตราการเต้นของหัวใจที่น่าเชื่อถือ และยังเป็นตำแหน่งตรวจจับชีพจรที่ทำให้สามารถประเมินอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างรวดเร็ว ส่วนข้อเสียคือมีความลำบากต่อการจับชีพจร เพราะจุด Brachial Pulse อยู่ในจุดที่มีเสื้อผ้าบดบังอยู่

3.ข้อมือ Radial Pulse

Radial Pulse อยู่บริเวณข้อมือด้านใน ใกล้กระดูกปลายแขนด้านหัวแม่มือ เป็นจุดที่นิยมจับชีพจรมากที่สุด เพราะเป็นจุดที่จับชีพจรได้ง่าย ไม่รบกวนผู้ป่วย บอกอัตราการเต้นของหัวใจได้แม่นยำ ส่วนข้อเสียคือไวต่อแรงกด หากใช้แรงกดที่มากเกินไป อาจทำให้หลอดเลือดแดงอุดตัน หรือบีบตัว และคนที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็อาจจะจับชีพจรในจุดนี้ได้ค่อนข้างยาก

4.บริเวณขาหนีบ Femoral Pulse

Femoral Pulse อยู่บริเวณขาหนีบ ซึ่งข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ ข้อดี สามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดและความแรงของชีพจรได้อย่างรวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือ ส่วนข้อเสียคือ ไม่เหมาะสม รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และอาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดส่วนล่างหยุดชะงัก

5.บริเวณข้อพับเข่า Popliteal Pulse

Popliteal Pulse อยู่บริเวณข้อพับเข่า ตรงกลางข้อพับเข่า เมื่อจับชีพจรบริเวณนี้แพทย์จะสามารถประเมินความแรงของชีพจร ความสมมาตร และสภาวะความผิดปกติของผู้ป่วยได้ แต่ข้อเสียคือเข้าถึงได้ยาก คลำหาอาจจะไม่เจอ ผู้ป่วยต้องรอเขาขึ้นถึงจะคลำหาได้ง่าย

6.บริเวณขมับ Temporal Pulse

Temporal Pulse คือเส้นเลือดที่ทอดผ่านเหนือกระดูก อยู่บริเวณขมับ เป็นจุดเข้าถึงได้ง่าย สามารถจับชีพจรได้โดยการวางปลายนิ้วเบาๆ บริเวณขมับ ซึ่งการจับชีพจรในบริเวณนี้ก็ค่อนข้างนุ่มนวล มีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนข้อเสียคือมีระยะทางที่ห่างจากหัวใจ จึงอาจส่งผลความแม่นยำของการวัดนั้นลดลง

7.บริเวณหลังเท้า Dorsalis pedis Pulse

Dorsalis pedis Pulse อยู่บริเวณหลังเท้า โดยจะอยู่ตรงกลางหลังเท้า ซึ่งข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ เข้าถึงได้ง่าย มีประโยชน์ในการประเมินโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ส่วนข้อเสียคือมีความผันแปรค่อนข้างสูง ผู้ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตส่วนปลายอ่อนแอ หรือมีภาวะสุขภาพบางอย่าง อาจไม่สามารถจับชีพจรบริเวณนี้ได้

การจับชีพจรข้อมือ ด้วยตัวเอง

วิธีจับชีพจรข้อมือ

1. ยื่นมือข้างใดข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า โดยงอข้อศอกเล็กน้อย

2. หงายฝ่ามือขึ้น แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้าง จับไปที่ข้อมือบริเวณโคนนิ้วโป้ง

3. ขยับนิ้วชี้และนิ้วกลางเล็กน้อย เพื่อคลำหาชีพจร จนกว่าจะรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร

4. เมื่อจับชีพจรได้ ให้เริ่มนับอัตราการเต้นของชีพจรภายใน 1 นาที โดยสามารถจับเวลา หรือดูนาฬิกาในระหว่างจับชีพจรก็ได้

ใช้เครื่องวัดสัญญาณชีพ ช่วยวัดชีพจร เช็คอัตราการเต้นหัวใจ

ผู้ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ หรือต้องการข้อมูลสัญญาณชีพที่มีความแม่นยำ แนะนำให้ใช้ เครื่องวัดสัญญาณชีพจะดีที่สุด เพราะเครื่องวัดสัญญาณชีพเป็นเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพที่มีความแม่นยำสูง อีกทั้งยังมีวิธีการใช้งานที่ง่าย เพียงแค่กดเปิดเครื่อง จากนั้นติดเซ็นเซอร์วัดสัญญาณชีพเข้ากับร่างกายผู้ป่วย เช่น ข้อมือ ด้านในของกล้ามเนื้อแขน จากนั้นกดปุ่ม เริ่มทำงาน ตัวเครื่องก็จะทำการจับชีพจร พร้อมกับแสดงข้อมูลชีพจร และข้อมูลต่างๆออกมาให้ได้ทราบทันทีผ่านทางหน้าจอ LED

สำหรับใครที่ต้องการซื้อ เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ เครื่องวัดความดันโลหิต หรือเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ สามารถหาซื้อได้ที่ Rakmor บริษัทผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย ได้มาตรฐานโรงงาน โดยทางบริษัทมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด และอื่นๆอีกมากมาย ต้องการเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และสั่งซื้อสินค้ากับทางบริษัทได้ทันที 

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *