ผู้สูงวัยคือ หรือ ผู้สูงอายุหมายถึง อะไร ?
ผู้สูงอายุหมายถึง กลุ่มคนสูงวัยไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นวัยที่แตกต่างจากวัยอื่น เป็นช่วงบั้นปลายของชีวิต สังคมผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ผู้สูงอายุช่วงต้น ผู้สูงอายุช่วงกลางและผู้สูงอายุ ช่วงท้าย ปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงประชากรผู้สูงอายุจากทั่วโลกก็เช่นเดียวกันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น
ผู้สูงอายุมีกี่ประเภท ความหมายและประเภทของผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าสังคมสูงวัยนั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ก็คือ ผู้สูงอายุช่วงต้น ผู้สูงอายุช่วงกลางและผู้สูงอายุช่วงปลาย จริงๆ แล้วคำนิยามของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศหรือการให้คำนิยามของแต่ละองค์กร สำหรับประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศทางฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่จะให้คำนิยามผู้สูงอายุว่าเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ส่วนองค์การสหประชาชาติได้ให้คำนิยามว่าผู้สูงอายุคือคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในส่วนสังคมผู้สูงอายุที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรนั้น มาดูกัน
1. ผู้สูงอายุวัยต้น (ช่วงต้น)
ผู้สูงวัยวัยต้น(อายุ 55-69 ปี) เป็นอายุช่วงที่ยังมีแรงช่วยเหลือตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องพาผู้ดูแลหรือยังไม่เป็นภาระของลูกหลาน รวมถึงยังไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนมากนัก สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำกิจกรรมสนุกๆ ได้พอสมควรออกไปเที่ยวกับลูกหลาน ทานอาหารร่วมกัน ผู้สูงอายุในช่วงต้นบางคนพบพรสวรรค์ของตัวเอง ค้นพบในสิ่งที่ตัวเองชอบ ในช่วงวัยนี้เพราะได้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมายเป็นวัยที่ต้องออกมาใช้ชีวิตหลังเกษียณ นำเงินเก็บมาใช้ ได้ไปท่องเที่ยวได้ลองอะไรใหม่ๆ มีเวลาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่า
2. ผู้สูงอายุวัยกลาง (ช่วงกลาง)
ผู้สูงวัยวัยกลาง(อายุ 70-79 ปี) เริ่มเข้าสู่วันเสื่อมหรือ เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ร่างกายเริ่มอ่อนเพลียอ่อนแรง มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง โรคขี้ลืมคนแก่หรืออาการหลงลืมคนแก่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เข้ามาเบียดเบียนที่เห็นได้ชัดเลยคือเรื่องของความจำที่เสื่อมถอย จำใครไม่ค่อยได้ บางครั้งหลงลืมลูกหลานของตนเอง หลงลืมคนใกล้ชิด ต้องรับประทานยาสม่ำเสมอหรือทานยาแบบต่อเนื่อง บางคนป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ผู้สูงอายุวัยนี้มักประสบปัญหาเรื่องของการทรงตัวและมักเกิดอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม หกล้ม จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
3. ผู้สูงอายุวัยปลาย (ช่วงท้าย)
ผู้สูงวัยวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เข้าสู่วัยเสื่อมสภาพ มีอาการป่วยบ่อยขึ้น และอาจมีภาวะทุพพลภาพได้ ผู้สูงอายุวัยปลาย (ช่วงท้าย) ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นผู้สูงอายุที่นอนป่วยติดเตียง โรคคนแก่ไม่มีแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ร่างกายเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เมื่อเจ็บป่วยแล้วมีอาการหนักเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้เลยทีเดียวเพราะร่างกายยากที่จะฟื้นฟูได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในช่วงปลาย ลูกหลานบางคนอาจมองว่าผู้สูงอายุวัยนี้เป็นภาระที่ต้องดูแล ซึ่งไม่อยากให้คิดเช่นนั้นควรให้ความรักให้ความอบอุ่นดูแลเขาให้ดีที่สุดเพราะเมื่อถึงวันสุดท้ายจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง
ดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้อยู่กับลูกหลานไปได้นานๆ
การดูแลผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ภาระแต่เป็นหน้าที่ที่ลูกหลานควรทำวันข้างหน้า วัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะกลายเป็นผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน ถ้าคุณไม่อยากให้ลูกหลานของเราปฏิบัติกับเราอย่างไรในตอนที่เราแก่เฒ่าไป เราก็ไม่ควรปฏิบัติกับผู้สูงอายุอย่างนั้นเช่นเดียวกัน การดูแลผู้สูงอายุให้อยู่กับเราไปนานๆ ทำได้หลายวิธี อย่างเช่น การเลือกอาหารที่เหมาะสมให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอในท่าที่เหมาะสมตามช่วงวัย การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี การหากิจกรรมสร้างสรรค์ทำร่วมกัน การสร้างความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง การให้กำลังใจในยามที่ผู้สูงอายุเจ็บป่วยและการพาผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ กันไม่ให้ผู้สูงอายุกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ถ้าไม่มีเวลาควรให้ผู้สูงอายุของเราได้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุก็ได้ ดีกว่าทิ้งให้พวกเขาอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่อยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ในวันข้างหน้าหนุ่มสาว คนวัยทำงานหรือแม้กระทั่งเด็กๆ ก็จะต้องกลายเป็นผู้สูงอายุในที่สุด ร่างกายเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาหลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็จะเข้ามาเบียดเบียน ผู้สูงอายุคืออะไร สังคมผู้สูงอายุแบ่งออกเป็นกี่ระดับ หวังว่าทั้งหมดนี้จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้น สังคมผู้สูงอายุถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามที่เราได้กล่าวถึงไปแล้ว สำหรับแนวทางการดูแลผู้สูงวัย ก็ตามที่เราแนะนำเลย เพื่อให้ผู้สูงอายุให้อยู่กับเราไปนานๆ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรัก ความอบอุ่น การดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดี กรณีที่
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical