การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของอาการของผู้ป่วย

การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ

การให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นหนึ่งในวิธีการให้สารอาหารกับผู้ป่วย หรือบุคคลที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ตามปกติ เช่น ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ที่ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ในส่วนของวิธีการให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ ปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบแรก คือ การให้อาหารทางสายท่ออาหาร ร่วมกับเครื่องให้อาหารทางสายยาง แบบที่ 2 ก็คือ การให้อาหารทางสายยาง ซึ่งการให้อาหารแต่ละแบบก็จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในส่วนของวิธีการ และกระบวนการทำงาน

การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร

1.การให้อาหารทางสายท่ออาหาร (Nasogastric Tube: NG Tube)

เป็นการให้อาหารทางสายท่ออาหาร ด้วยการสอดสายยางที่บางและยืดหยุ่นเข้าทางจมูก ลงไปในคอ และเข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อให้สารอาหารกับผู้ป่วย หรือบุคคลที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ เนื่องจากสภาวะต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน หรือมะเร็ง นอกจากนี้ยังอาจใช้กับบุคคลที่ได้รับการผ่าตัดหรือมีโรคระบบทางเดินอาหาร

สำหรับข้อดีของการให้อาหารทางสายท่ออาหาร ก็คือผู้ป่วยจะไม่รู้สึกอึดอัดในตอนที่รับอาหารหรือของเหลวผ่านทางสายยาง เพราะโดยทั่วไป NG tube ทำมาจากพลาสติกหรือยาง และก่อนที่จะทำการให้อาหารทางท่ออาหาร แพทย์อาจใช้สเปรย์หรือเจลเพื่อทำให้ชา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหรือคนที่รับอาหารทางสายยางรู้สึกสบายขึ้น นับว่าเป็นหนึ่งในการให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบที่มีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก

2.การให้อาหารทางสายยาง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG Tube)

เป็นการให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วย หรือบุคคลที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ ด้วยการใส่ท่อเข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านผนังหน้าท้อง โดยใช้งานร่วมกับกล้องเอนโดสโคป โดยก่อนที่จะมีการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยจะได้รับยาชาที่บริเวณรอบๆ จากนั้นจะมีการสอดกล้องเอนโดสโคปแบบยืดหยุ่นเข้าทางปาก และเข้าไปในกระเพาะอาหาร เมื่อใส่ท่อ PEG แล้ว สามารถใช้สำหรับการให้อาหารเหลวสูตรพิเศษ ยา ให้กับผู้ป่วยได้

สำหรับข้อดีของการให้อาหารทางสายยาง คือ มีความปลอดภัย มีภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อย แต่การให้อาหารทางสายยางแบบนี้จะแตกต่างจากการให้อาหารทางสายท่ออาหาร เพราะท่อ PEG จะถูกเชื่อมต่อไว้ในร่างกายของผู้ป่วยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ทำให้ต้องมีการดูแลและทำความสะอาดทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะการให้อาหารทางสายยาง

แม้ว่าโดยทั่วไป การให้อาหารทางสายยางจะมีความปลอดภัยและให้อาหารเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การให้อาหารทางสายยางก็อาจมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

  • ท่อหลุด หากท่อให้อาหารหลุดออก หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกไม่สบาย และอาจจะได้รับบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อรอบๆ
  • อาหารอุดตัน หากท่อป้อนอาหารอุดตัน จะทำให้เกิดการสะสมของอาหาร หรือยาตกค้างที่สายยางให้อาหาร ทำให้การให้อาหารหยุดลง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดสารอาหารหรือภาวะขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยท้องเสีย ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้บ่อยๆในช่วงที่ให้อาหารผ่านสายยาง โดยผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ
  • ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะสำลัก เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมระหว่างการป้อนอาหาร หรืออาจเกิดจากหากการป้อนอาหารที่เร็วเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะสำลัก และถ้าหากมีการสำลัก ผู้ป่วยก็จะเป็นโรคปอดบวม หรือเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • เกิดการติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามหลักด้านสุขอนามัยที่เหมาะสม หรือไม่ได้ดูแลท่อป้อนอาหารดีเท่าที่ควร จนทำให้บริเวณที่สอดท่อป้อนเกิดการติดเชื้อ
  • เลือดออก การมีเลือดออกระหว่างการให้อาหารทางสายยาง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การระคายเคืองที่ทำลายเยื่อบุของหลอดอาหาร แผลในทางเดินอาหาร ผลข้างเคียงของยา เป็นต้น

ควรเลือกใช้เครื่องให้อาหารทางสายยางให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

ด้วยที่ว่าเราไม่รู้ว่าการให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบนั้น เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย คนส่วนใหญ่อยากรู้ว่าจริงๆแล้ว ควรเลือกใช้เครื่องให้อาการทางสายยางแบบไหน จึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วย สำหรับการเลือกใช้เครื่องให้อาการทางสายยางที่เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้น ควรเลือกตามประเภทของการให้อาหาร และประเภทของผู้ป่วยต้องการอาหาร ถ้าผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยหนัก อ้วนเกินไป ก็ควรใช้เครื่องให้อาหารทางสายยาง ที่ทำงานร่วมกับการให้อาหารแบบ PEG Tube ได้ และในส่วนของประเภทปั๊ม ควรเลือกประเภทให้เหมาะสม ซึ่งประเภทปั๊มในปัจจุบันก็มีอยู่มากมาย เช่น ปั๊มสูบจ่ายเพอริสแตลติค ปริมาตร และกระบอกฉีดยา ส่วนการเลือกจากอัตราการไหลก็สำคัญ หากผู้ป่วยที่ต้องการอัตราการไหลที่ช้าและสม่ำเสมออาจ ก็ควรใช้เครื่องให้อาหารที่สามารถควบคุมให้ไหลช้าได้ และอาจจะเลือกเครื่องให้อาหารแบบพกพา ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการอาหารบ่อยๆ แต่ต้องเคลื่อนย้ายตัวในขณะรับอาหาร แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ควรเลือกความต้องการและความชอบส่วนบุคคลของผู้ป่วย รวมถึงเลือกตามคำแนะนำของแพทย์ และผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *