เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) คืออะไร? มีประโยชน์อะไรบ้าง แตกต่างกับเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ แตกต่างจากเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไร มีหน้าที่อะไรในการรักษาผู้ป่วย

เครื่องช่วยหายใจ

ปัจจุบัน เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) ได้เข้ามาบทบาทสำคัญอย่างมากในวงการแพทย์ ถือเป็นเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ถูกพัฒนามาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น สามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเต็มที่ จึงมักถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด 

โดยหลายคนมักจะสับสนระหว่างเครื่องช่วยหายใจ กับเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เพราะจะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งอุปกรณ์ทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของหลักการทำงานและการนำไปใช้งาน

เครื่องช่วยหายใจ คืออะไร ?

เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) คือ อุปกรณ์การแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่หายใจลำบาก ไม่สามารถหายใจได้เอง หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น โดยเครื่องช่วยหายใจจะเพิ่มแรงดันอากาศเข้าสู่ปอดและส่งออกซิเจนให้ผู้ป่วยผ่านทางท่อกลวง ซึ่งเครื่องช่วยหายใจจะใช้งานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อร่างกายผู้ป่วยดีขึ้นและสามารถหายใจเองได้ ก็จะหยุดใช้

ประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจ มีอะไรบ้าง

เครื่องช่วยหายใจ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

เพื่อให้ทุกคนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเครื่องช่วยหายใจ วันนี้เราจะพามาดูกันว่าเครื่องช่วยหายใจนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจ มีดังนี้

  • เครื่องช่วยหายใจ ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจสามารถหายใจได้ดีขึ้น เนื่องจากระบบการทำงานของเครื่องช่วยหายใจใกล้เคียงกับการหายใจปกติของมนุษย์ 
  • เครื่องช่วยหายใจช่วยรักษาและส่งเสริมการฟื้นตัวของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือผู้ป่วยโรคต่างๆ 
  • เครื่องช่วยหายใจมีประโยชน์กับผู้ที่นอนไม่หลับหรือชอบนอนกรน ต้องสะดุ้งตื่นบ่อยๆ 
  • เครื่องช่วยหายใจช่วยป้องกันภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ 
  • เครื่องช่วยหายใจช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนด้วย

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด แนวทางการดูแลสุขภาพ และรักษาผู้ป่วยด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์

เครื่อง Ventilator มีกี่ประเภท

เครื่องช่วยหายใจมีด้วยกันหลายแบรนด์ หลายรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นอาจมีฟังก์ชั่นหรือโหมดการใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรศึกษาขั้นตอนการใช้งานและที่สำคัญควรเลือกเครื่อง Ventilator ช่วยหายใจประเภทที่เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วย โดยเครื่องช่วยหายใจจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ แบ่งได้เป็น 4 ชนิดหลักๆ

1.เครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure)

สำหรับเครื่องช่วยหายใจ CPAP คือ เครื่องช่วยหายใจแบบแรงดันบวกต่อเนื่อง เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งอันตรายมาก บางครั้งร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออาจทำให้มีอาการง่วงและอ่อนเพลียระหว่างวันได้ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เครื่องช่วยหายใจประเภทนี้เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับความนิยมสูงสามารถใช้งานได้สะดวกสบายแถมยังเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดายด้วย 

2.เครื่องช่วยหายใจ BiPAP (Bi-level Positive Airway Pressure)

เครื่อง BiPAP หรือเรียกว่าเครื่องช่วยหายใจแบบแรงดัน 2 ระดับ เหมาะสำหรับเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนกรนรุนแรง นอกจากนั้นยังเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปอดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ไปจนถึงผู้ป่วยที่ต้องเจาะคอ ช่วยให้การหายใจเป็นปกติขึ้นสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องผลิตออกซิเจนได้ 

3.เครื่องช่วยหายใจแบบควบคุมปริมาตร (Volume Controlled Ventilator)

เครื่องช่วยหายใจแบบคุมด้วยปริมาตร นั้นจะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ นิและยมใช้ในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลทั่วไป เครื่องช่วยหายใจประเภทนี้จะแสดงกราฟการหายใจต่างๆ ได้สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เลยทีเดียว 

4.เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง (High Frequency Ventilator)

เครื่องช่วยหายใจชนิดความความถี่สูง คือเครื่องที่จะทำการสูบฉีดออกซิเจนในปริมาณสูงๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบาก หายใจเองไม่ได้ เกิดจากการที่ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากปอดคนเราปกติแล้ว ไม่สามารถรับออกซิเจนในปริมาณมากๆ ได้ ดังนั้นเครื่องจะทำการปรับและส่งออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม

หลักการทำงานของเครื่องออกซิเจนช่วยหายใจ

สำหรับหลักการทำงานของเครื่องช่วยหายใจหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทำงานในส่วนของตัวเครื่อง และส่วนของท่อหายใจ ซึ่งท่อด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องออกซิเจนช่วยหายใจ ส่วนท่ออีกด้านจะเชื่อมต่อเข้ากับทางเดินหายใจของผู้ป่วยอย่างปากหรือจมูก 

โดยแพทย์จะสอดลึกไปถึงหลอดลม บางกรณีอาจต้องเจาะคอเพื่อสอดท่อหายใจเข้าไป เครื่องช่วยหายใจจะทำงานโดยการสูบฉีดอากาศและออกซิเจนปริมาณเข้มข้นส่งไปยังปอดผ่านท่อหายใจ เครื่องช่วยหายใจช่วยให้การหายใจเข้าและหายใจออกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนที่เพียงพอและสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่อง Ventilator แตกต่างจากเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ กับ เครื่องผลิตออกซิเจน แตกต่างกันอย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มแรงดันอากาศทำให้สามารถปรับอากาศหรือออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้เต็มที่ เหมาะกับผู้ป่วยที่ปอดได้รับความเสียหาย หายใจลำบาก หรือไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง 

ส่วนเครื่องผลิตออกซิเจน นั้นเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย เหมาะกับผู้ป่วยที่ปอดไม่สามารถฟอกอากาศได้อย่างเต็มที่ ทำให้ได้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ จึงต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนช่วย 

แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถฟอกอากาศหรือฟอกออกซิเจนได้ รวมถึงปอดไม่สามารถนำอากาศหรือออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ ในการรักษาจะต้องเลือกใช้ทั้งเครื่องช่วยหายใจและเครื่องผลิตออกซิเจนควบคู่กัน

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: เครื่องผลิตออกซิเจน VS ถังออกซิเจน แตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนดีกว่ากัน ?

เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เหมาะกับใคร

เครื่องช่วยหายใจทางการแพทย์ นั้นเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เองหรือหายใจลำบาก และมีภาวะขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนในเลือดต่ำ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพอง รวมไปถึงการใช้ช่วยผู้ป่วยหายใจขณะผ่าตัด นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้อีกด้วย

เครื่องช่วยหายใจ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ลำบากหรือไม่สามารถหายใจเองได้ ซึ่งการนำเอาเครื่องช่วยหายใจมาใช้ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นนั่นเอง แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เอง และปอดไม่สามารถฟอกอากาศได้อย่างเต็มที่ ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ก็ต้องมีการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนในการให้ออกซิเจนร่วมด้วย

แหล่งอ้างอิง:

https://www.pobpad.com

ช่องทางสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *