ควรให้ออกซิเจนตอนไหน ? กับผู้ป่วยที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำ อาการที่ต้องเฝ้าระวัง มีอะไรบ้าง

ควรให้ออกซิเจนตอนไหนกับผู้ป่วย ถึงจะเหมาะสมที่สุด

ควรให้ออกซิเจนตอนไหน ?

การให้ออกซิเจนผู้ป่วยและรู้ว่าควรให้ออกซิเจนตอนไหน ? นั้นเกี่ยวข้องกับการส่งออกซิเจนไปยังปอดด้วยวิธีการและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายฉีดจมูก หน้ากาก หรือเครื่องช่วยหายใจ เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดและในเนื้อเยื่อ และเพื่อบรรเทาความลำบากทางเดินหายใจ ในส่วนของการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยว่าควรให้ออกซิเจนตอนไหน ในบางกรณีจะให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยในตอนที่ผู้ป่วยหายใจลำบาก จังหวะหายใจเร็ว หรือมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เพื่อรักษาชีวิต แต่ในบางกรณีก็ให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยในตอนที่ผู้ป่วยมีภาวะความเจ็บป่วยที่เบาบาง หรือไม่รุนแรงมากนัก 

ทำไมถึงต้องรู้ว่าควรให้ออกซิเจนตอนไหน

การรู้ว่าควรต้องให้ออกซิเจนตอนไหนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะทำให้ผู้ดูแล หรือแพทย์สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยในตอนที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังสามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยในสถานการณ์ หรือเงื่อนไขทางสุขภาพของแต่ละผู้ป่วยแต่ละคน โดยถ้าหากว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต เช่น หายใจลำบาก ติดขัด หรือมีปัญหาอื่นๆ ทางการหายใจที่รุนแรง การให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ นอกจากนี้ถ้าหากว่าผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ การให้ออกซิเจนก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดที่เป็นปกติ 

ระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่เท่าไหร่ ? ถึงควรให้ออกซิเจน

ระดับออกซิเจนในเลือด เป็นข้อมูลสำคัญในการตรวจสอบสภาวะการทำงานของระบบหายใจ และหัวใจ โดยระดับออกซิเจนในเลือดสามารถตรวจวัดได้ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) ซึ่งปกติแล้ว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติจะอยู่ที่ 96 – 100 % แต่ถ้าหากว่าตรวจวัดระดับออกซิเจนแล้วค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดออกมาต่ำกว่า 96 – 99% ผู้ป่วยจะต้องได้รับออกซิเจนตามวิธีการทางการแพทย์ทันที เพราะตอนนี้ผู้ป่วยกำลังตกอยู่ในภาวะที่ร่างกายมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ 

ควรให้ออกซิเจนตอนไหน มีอาการอะไรบ้าง ที่บ่งบอกว่าควรเพิ่มออกซิเจน

อาการอะไรบ้าง ที่บ่งบอกว่าควรให้ออกซิเจนกับร่างกาย

อาการที่บ่งบอกถึงความต้องการออกซิเจนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาวะ หรือสถานการณ์ทางร่างกาย อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จำเป็นต้องให้การออกซิเจนกับร่างกาย จะมีอาการต่างๆ ดังนี้

  • หายใจลำบาก หรือ รู้สึกเหมือนไม่ได้รับอากาศเพียงพอ
  • หายใจเร็วกว่าปกติ เป็นภาวะอาการที่ร่างกายพยายามชดเชยการขาดออกซิเจน
  • ภาวะตัวเหลือง ริมฝีปาก ปลายนิ้ว หรือผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งบ่งชี้ว่าออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • ความสับสน และสภาวะทางจิตจิตใจ เพราะการขาดออกซิเจนอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดอาการสับสน และไม่มีสมาธิ
  • หัวใจเต้นเร็ว หรืออาการใจสั่น อาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายพยายามชดเชยการขาดออกซิเจน
  • ความเมื่อยล้า หรือรู้สึกอ่อนแรงมากเกินไป อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำกิจกรรม
  • อาการเจ็บหน้าอก แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่อาการเจ็บหน้าอกก็อาจเป็นอาการที่เกิดจากปริมาณออกซิเจนที่ถูกส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 6 วิธีเพิ่มออกซิเจนในเลือด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ และรับออกซิเจนให้ดีขึ้น

หากไม่ให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยอย่างเพียงพอ จะส่งผลเสียอย่างไร ?

เมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จะทำให้อวัยวะเช่น สมอง หัวใจ ไต และตับ เกิดความเสียหายอย่างถาวร และยังทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย โดยจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง หรือ เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะบกพร่องออกซิเจนในเลือด (Hypoxemia) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจอยู่เต้นเฉียบพลัน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดอื่นๆ การไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต หากไม่ได้รับการแก้ไข หรือรักษาอย่างถูกต้องทันที

การรู้ว่าควรให้ออกซิเจนตอนไหน นั้นมีความสำคัญต่อการรักษาและบำบัดผู้ป่วย เพราะทำให้รู้ว่าควรให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยตอนไหน ควรให้ในช่วงเวลาใด เมื่อให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยได้ในเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอ ก็จะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วย และยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นการให้ออกซิเจนจึงจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

ส่วนใครที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการหายใจ ที่ต้องได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แนะนำให้ซื้อถังออกซิเจนจาก Rakmor เพราะทางร้านมีถังออกซิเจนที่ให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ขนาด 0.5 คิว ไปจนถึง 6 คิว โดยทุกขนาดเหมาะกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนได้เป็นอย่างดี

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *