ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก (Musculoskeletal system) หมายถึง ระบบอวัยวะที่รวมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อเส้นประสาทและหลอดเลือดเลี้ยงเนื้อเยื่อ กระดูกเยื่อหุ้มข้อกระดูกและข้อกระดูก รวมถึงหมอนกระดูกสันหลังและกระดูกโครงสร้างร่างกาย
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ เกิดจากอะไร
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการออกแรงเกินกำลัง จากท่าทางซ้ำๆ ท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ อุบัติเหตุ บางครั้งอาจมาจากการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ เช่น การทำงานหนัก การทำงานในลักษณะเดิมนานๆ นั่งหรือยืนนานเกินไป การยกของผิดวิธี แม้แต่การทำกิจกรรมที่บ้าน นอกจากนั้นยังอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย การเสื่อมสภาพตามอายุหรือภาวะจิตใจ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการแยกสาเหตุของโรคกลุ่มนี้ว่ามาจากการทำงานหรือไม่
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ สามารถถ่ายทอดไปทางกรรมพันธุ์ได้ไหม
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นโรคที่สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ โรคที่มีอาการและแสดงอาการอย่างชัดเจน บางคนอาจเกิดจากการป่วยมาตั้งแต่กำเนิดด้วยโรคพันธุกรรม นั่นหมายความว่าความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
10 โรคที่พบบ่อยเกี่ยวกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
1.โรคกระดูกต้นคอเสื่อม
เกิดจากการก้มหน้าบ่อยและนาน จนทำให้กล้ามเนื้อเส้นประสาทและเส้นเอ็นตึงเกร็ง อาการที่พบ ลักษณะเหมือนนอนคอตกหมอนหรือคอเคล็ด แต่หากมีการกดทับรากประสาทจะมีอาการปวดชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
2.ข้อไหล่ติด
ข้อไหล่ติด พบมากในเพศชายและเพศหญิงที่สูงอายุ มีการเสื่อมของเอ็นรอบข้อและปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะรอบข้อ จนอักเสบหรือเกิดจากกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า บางคนเคยได้รับอุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อนจะมีอาการปวดหัวไหล่ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน บางครั้งอาจนอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้เลย เบื้องต้นสามารถใช้ยาและบริหารข้อไหล่ ทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ทุเลา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้รักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง
3.กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย จะมีอาการปวดและบวม ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณที่หัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี เพื่อป้องกันกระดูกทรุดตัว
4.ข้อเข่าคลอนแคลน
โรคข้อเข่าคลอนแคลนหรือโรคข้อเข่าเสื่อมตามวัยมักพบในเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและพบข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นในหนุ่มสาววัยทำงาน นักฟุตบอลหรือนักวิ่งที่ใช้เข่าเยอะ มีอาการปวดอักเสบ บวม แดง ร้อนที่ข้อเข่า ขณะลุกขึ้นยืนและมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : “ โรคเก๊าท์ ” คืออะไร ? ความอันตรายที่เกิดจากอาการปวด อย่างรุนแรง
5.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาไปจนถึงน่องหรือหลังข้อเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการปวดที่ทรมานมาก บางคนเจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา หลังเล่นกีฬาและเข้าใจผิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ แต่เมื่อตรวจอย่างละเอียดด้วย MRI จึงพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะนำให้ทานยา ทำกายภาพบำบัด หรือฉีดยาลดอาการอักเสบ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดที่พัฒนากระดูกสันหลังแบบแผลเล็กบาดแผลเจ็บน้อย
6.โรคปวดศีรษะไมเกรน
ปวดหัวไมเกรน พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการคือปวดหัวข้างเดียวที่หน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและไวต่อเสียงหรือแสง บางครั้งจะรู้สึกปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว โดยจะปวดทั้ง 2 ข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย อาจไม่ใช่การรักษาที่ถูกวิธี หากเป็นบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีการป้องกันแก้ไขและการรักษาในลำดับต่อไป
7.โรคนอนกรน
โรคนอนกรนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างไร โรคนอนกรน ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้อาจเกิดจาก กระดูกคางที่เล็กหรือค่อนไปด้านหลัง หรือลักษณะผิดปกติของโครงสร้างจมูก ซึ่งโรคนอนกรน อาจเป็นสาเหตุของโรคหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งเกิดจากการอุดกั้น ถือได้ว่ามีความเสี่ยงและอันตรายมาก หากพบว่ามีความผิดปกติของการนอนหลับควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอน
8.โรคพาร์กินสัน
คือ โรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขน ขา กราม ใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก เริ่มมีความเศร้า หดหู่ หากปล่อยไว้นานอาจเกิดความรุนแรงทำให้ร่างกายฟื้นตัวยาก โรคนี้สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการตรวจ PET Brain F-DOPA เพื่อหาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างโดยพามีน วินิจฉัยระยะความรุนแรงของโรคหรือผ่าตัดฝังไมโครชิพ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึกและเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ลดการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
9.โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือ Stroke ปัจจุบันพบได้ในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันสูงโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จัดหรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน อาการเริ่มต้นคือปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยว มุมปากตก มีอาการชาครึ่งซีก แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ออก มีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน เวียนหัว ตาพร่ามัวเมื่อเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
10.ข้อสะโพกโยกเยก
สำหรับใครที่มีอาการปวดง่ามขาด้านใดด้านหนึ่ง เจ็บแปลบที่สะโพกขณะเดินหรือวิ่ง ปวดสะโพกและปวดเข่าปวดด้านในเข่าเจ็บเวลาเดิน ต้องระมัดระวังเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุเกิดจากการสึกหรอของผิวข้อต่อ
ทั้งหมดนี้ ก็คือ 10 โรคที่พบบ่อยเกี่ยวกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ หากคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบเช็คตัวเองหรือหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี ไม่ควรละเลย คนที่ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดขา ต้องรีบเช็คด่วนเลยเพราะไม่แน่ว่าคุณอาจเป็น 1 ใน 10 โรคนี้ก็ได้ เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นต้องรีบพบแพทย์ทันทีทันใด ไม่ควรปล่อยไว้นาน
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical