7 วิธีแก้อาการนอนกรน ต้องทำอย่างไรดีที่สุด ถึงจะจบปัญหานอนกรนเสียงดังได้แบบจริง ๆ

7 วิธีแก้อาการนอนกรน

การแก้ปัญหานอนกรน ในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่ามีวิธีแก้อาการนอนกรนที่หลากหลายมากๆ ซึ่งหลายๆก็อาจจะสงสัยว่าการนอนกรนนั้นเป็นปัญหาอย่างไร ทำไมต้องหาวิธีการแก้ไขไม่ให้นอนกรน บทความนี้ก็เลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนกรนเสียงดัง ข้อดีของการรักษาการนอนกรนเสียงดังขณะนอนหลับไม่ให้รบกวนผู้อื่นขณะนอนหลับ พร้อมกับวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนกรนเสียงดังที่ได้ผลมากที่สุด จะเป็นอย่างไรบ้างมาดูไปพร้อมๆกกันเลยค่ะ

วิธีแก้นอนกรน

การนอนกรน เกิดจากสาเหตุอะไร

    • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
    • ต่อมทอนซิลโต ขวางทางเดินหายใจ
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
    • มีอายุมากขึ้น
    • มีความเหนื่อย
    • เป็นประจำเดือน
    • สันจมูกเบี้ยว คด
    • ทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง
    • เป็นภูมิแพ้
    • สรีระผิดปกติ
    • ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

การรักษาอาการนอนกรน มีข้อดีอย่างไรบ้าง

    • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสำหรับคนที่นอนกรนเสียงดัง
    • ทำให้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
    • เป็นวิธีจัดการกับคนนอนกรน ให้สามารถกลับมานอนหลับได้อย่างสบายแบบปกติอีกครั้ง

วิธีแก้อาการนอนกรน แบบที่ได้ผลต้องทำอย่างไร

1.เปลี่ยนท่าในการนอนใหม่

เนื่องจากคนส่วนมากจะนอนหงายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการนอนหงายนั้นเป็นท่าที่ทำให้เกิดการกรนมากที่สุด เราจึงอาจจะต้องมีการลองปรับเปลี่ยนท่านอนเป็นท่านอนตะแคงก็ได้ หรือหากต้องการที่จะนอนหงายเหมือนเดิมก็ให้หาหมอนมาหนุนหัวให้สูงขึ้นก็ได้เช่นกันค่ะ

2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพราะการออกกำลังกายจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อในทางเดินหายใจของเรามีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ในตอนที่หลับอยู่นั้น กล้ามเนื้อคอจะไม่หย่อนลงาขวางทางเดินหายใจ ส่งผลให้เราสามารถหายใจได้ดีขึ้นและไม่เกิดการกรนขณะนอนอีกด้วย

3.ลดน้ำหนัก

การที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานนั้นแน่นอนว่าส่งผลเสียต่อร่างกายอยู่แล้ว การลดน้ำหนักจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่นอกจากจะทำให้เรามีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ก็ยังช่วยทำให้ไขมันต่างๆในช่องคอลดลง ซึ่งส่งผลให้เราหายใจได้สะดวกขึ้นมากขึ้น

4.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่

ก็อย่างที่รู้กันดีกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ ถือเป็นสารเสพติดที่นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตนเองแล้ว ก็ยังส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและทำให้เกิดการนอนกรนอีกด้วย

5.ทำความสะอาดห้องนอนอย่างสม่ำเสมอ

ภายในห้องนอน หากไม่ได้มีการทำความสะอาดอย่างมสม่ำเสมอ แน่นอนว่าก็จะต้องมฝุ่นมาเกาะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดภูมิแพ้ได้ ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำความสะอาดห้องนอนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเป็นภูมิแพ้ที่จะส่งผลต่อการนอนกรนนั้นเอง

6.ล้างจมูกบ่อยๆ

วิธีการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยลดการนอนกรนได้ ซึ่งก็มีวิธีการทำที่ง่ายมากๆเพียงแค่ใช้สลิงยาดึงน้ำเกลือแล้วฉีดเข้าทางจมูกเป็นประจำ ก็จะช่วยทำให้จมูกของเราสะอาด ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้และการนอนกรนได้เป็นอย่างดี

7.ปรับเวลาในการนอนใหม่ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

เพราะการที่เราพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้เราสามารถใช้พลังงานได้อย่างพอดี โดยไม่เหนื่อยเกินไป ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาคนนอนกรนเสียงดังได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ

การนอนกรนแบบไหนที่ควรพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด

สำหรับคนที่มีอาการนอนกรนเสียงดังมากแม้แต่ปิดประตูก็ยังสามารถได้ยินอยู่ ปวดศีรษะหลังจากตื่นนอน ตื่นเพราะหายใจแรง ติดขัด สำลัก หรือมีความต้องการทางเพศลดลง เป็นอาการของคนที่นอนกรนเสียงดังที่ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการอย่างเร็วที่สุดเลยค่ะ

การนอนกรนแบบไหนที่ควรพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด

สามารถรักษา โรคนอนกรน ได้ที่ไหนบ้าง ?

หากต้องการที่จะรักษาการนอนกรนเสียงดังเพื่อไม่ให้รบกวนคนในบ้าน ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกรักษาการนอนกรนโดยเฉพาะได้เลยแต่หากอาการกรนยังไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วยต้อนเองที่บ้านได้โดยการออกกำลังกาย โดย Rakmor.com มีจำหน่าย เครื่องออกกำลังกาย ที่มีมาตรฐานระดับสากล ในราคาถูก เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่มีผู้เชี่ยวชาญในการรักษาการนอนกรนเสียงดังให้นอนไม่ให้กรนได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ

 

ก็จะเห็นได้ว่าการนอนกรนเสียงดังนั้นมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งการนอนกรนเสียงดังก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆและส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลาหรือหากมีอาการนอนกรนขณะหลับ ก็ให้รีบหาวิธีการรักษาให้เร็วที่สุดเลยค่ะ นอกจากนี้เราก็หวังว่าข้อมูลที่เราได้นำมาเสนอนั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณไม่มากก็น้อยนะคะ

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *