ค่าความดันโลหิตในร่างกายของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีทั้งขึ้นและลงตลอดทั้งวัน ซึ่งค่าความดันโลหิตในร่างกายของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการกระตุ้น ทำให้ต้องมีการตรวจวัดค่าความดันว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สำหรับการอ่านค่าความดันโลหิต หลักๆแล้วจะอ่านอยู่ 2 ค่า คือ ค่าจากเลขตัวบน (Systolic) และค่าจากเลขตัวล่าง (Diastolic) โดยค่าจากตัวเลขทั้งสองนี้ถือว่าเป็นค่ามาตรฐานในการวัดความดันโลหิต ไม่ว่าจะวัดจากเด็ก ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุก็ตาม
เครื่องวัดความดันโลหิต และ การอ่านค่าความดันโลหิต
เครื่องวัดความดันโลหิตคือเครื่องมือที่ใช้ในทางการแพทย์ หน้าที่หลักๆคือใช้ในการวัดค่าความดันโลหิต จากนั้นจะแสดงค่าความดันออกมาที่ตัวเครื่อง ปัจจุบันเครื่องวัดความดันโลหิตมีความสำคัญเป็นอย่างมากในวงการแพทย์ เพราะใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโดยตรง ทำให้รู้ว่าตอนนี้ค่าความดันโลหิตในร่างกายของผู้ป่วยเป็นอย่างไร สุขภาพร่างกายดีหรือไม่ ในส่วนของคนที่ต้องวัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำ การมีเครื่องมือที่ใช้วัดความดันติดบ้านเอาไว้ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมมากๆ
สำหรับการอ่านค่าความดันโลหิต โดยปกติจะอ่านอยู่ทั้งหมด 3 ค่า คือเลขตัวบน เลขตัวล่างและเลขอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งการอ่านค่าความดันโลหิตทั้ง 3 ค่านี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะค่าความดันเป็นเกณฑ์วัดเรื่องของสุขภาพ รวมไปถึงเรื่องของการเกิดโรคความดันโลหิต ซึ่งผู้ป่วยจะรู้ได้เลยว่ามีโอกาสที่ตัวเองจะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะความดันโลหิตต่ำหรือไม่ จากการวัดความดันและการอ่านค่าวัดความดันโลหิตนั่นเอง
วิธี การอ่านค่าความดันโลหิต
การอ่านค่าวัดความดันโลหิต สามารถอ่านได้ค่าจากตัวเลขที่ปรากฏบนเครื่องวัดความดัน ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมดจำนวน 3 ส่วน ส่วนแรกคือเลขตัวบน หมายถึง ค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 90-140 mmHg ส่วนเลขตัวล่าง หมายถึง ความดันโลหิตในขณะที่หัวใจคลายตัว ค่าปกติจะอยู่ที่ 60-90 mmHg ส่วนเลขตัวสุดท้ายจะหมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ค่าปกติจะอยู่ที่ 60-100 MAP โดยค่าทั้งหมดจากทั้ง3 ส่วนนี้คือค่าความดันมาตรฐานที่ได้จากการวัดความดันโลหิต ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต ทั้งในแบบดิจิตอลและแบบบีบมือ รวมไปถึงแบบปรอทด้วย
วิธีใช้งานเครื่องวัดความดันโลหิต
- วางแขนให้ราบลงไปกับโต๊ะ ไม่กำมือ นั่งหลังตรงพิงพนัก ไม่นั่งไขว่ห้าง ให้อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
- พันผ้าพันแขนรอบต้นแขน โดยให้ผ้าพันแขนอยู่เหนือข้อศอกขึ้นไป 1-2 เซนติเมตร พันให้พอดีกับแขน ไม่แน่นจนเกินไป ให้สามารถสอดนิ้วเข้าไปได้ 1 นิ้ว ควรระวังอย่าให้สายงอ ซึ่งวิธีนี้คือวิธีการวัดความดันที่ถูกต้อง
- หากใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล ให้กดปุ่มที่เครื่องวัดความดัน เพื่อให้เครื่องเริ่มทำงาน แต่ถ้าหากใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบมือ ให้ทำการปิดวาล์ว จากนั้นบีบลูกยางเพื่อให้ผ้าพันแขนพองขึ้น เมื่อลมถึงเกณฑ์ที่เครื่องวัดความดันกำหนด ให้ทำการเปิดวาล์วเพื่อปล่อยลมออก
- เมื่อกระบวนการในการวัดความดันเสร็จสิ้น เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลจะแสดงค่าความดันออกมาบนหน้าจอ โดยจะแสดงออกมาได้ทั้งหมด 3 ค่า ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเครื่องวัดความดัน แต่ถ้าเป็นเครื่องวัดความดันแบบปรอท ค่าความดันจะแสดงอยู่ที่ปรอท ต้องสังเกตและจดบันทึกไว้ให้ดี
- กรณีที่ใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล สามารถบันทึกค่าความดันเก็บไว้ในตัวเครื่อง แถมยังสามารถย้อนดูค่าความดันในภายหลังได้ นอกจากนี้เครื่องวัดความดันแบบสมัยใหม่ยังความทันสมัย สามารถแชร์ค่าความดันโลหิตส่งไปให้กับแพทย์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย
ข้อดีของการใช้เครื่องวัดความดันและการอ่านค่าความดันโลหิต
เครื่องวัดความดันนับว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างดีมากๆ เพราะผู้ป่วยสามารถทำการวัดความดันได้จากทุกสถานที่ ไม่ว่าจะทำการวัดค่าความดันในบ้านเรือนหรือวัดค่าความดันในสถานพยาบาลต่างๆก็สามารถทำได้แบบง่ายๆ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนและวิธีการให้ถูกต้อง ก็จะสามารถวัดค่าความดันได้อย่างแม่นยำ แต่วิธีการวัดอาจจะแตกต่างกันอยู่บ้างเพราะเครื่องวัดความดันโลหิตในปัจจุบัน มีการผลิตและคิดค้นขึ้นมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบที่ใช้งานง่าย มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาได้สะดวก ถือว่าเป็นข้อดีหลักๆของเครื่องวัดความดันโลหิตในยุคเทคโนโลยีแบบนี้ แต่ที่เหนือกว่านั้นคือเครื่องวัดความดันในยุคปัจจุบัน สามารถวัดค่าความดันโลหิตออกมาได้อย่างแม่นยำ แสดงค่าความดันออกมาให้เห็นผ่านทางตัวเครื่องได้แบบชัดเจน สังเกตง่าย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ก็สามารถใช้งานแบบได้ง่ายๆ ทำให้ในปัจจุบันการวัดความดันและการอ่านค่าความดันโลหิต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของใครหลายคนอีกต่อไป อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการดูแลรักษาตัว ถ้าหากอ่านว่าค่าความดันได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ก็จะทำให้รู้ว่าค่าความดันในร่างกายตอนนี้อยู่ในระดับไหน สภาพร่างกายดีหรือไม่ดี รวมไปถึงยังได้รู้อีกว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตต่ำและโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ หากว่ามีความเสี่ยงสูงก็จะได้รีบทำการแก้ไขหรือเดินทางเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical