เราควรจะเลือก วัดความดันแขนข้างไหน และวัดส่วนไหนให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด

วัดความดันแขนข้างไหนดี

วัดความดันแขนข้างไหนดี ถึงจะได้ค่าวัดแม่นยำ

การวัดความดันโลหิต ส่วนใหญ่คนทั่วไป มักจะวัดกับแขนข้างขวามากกว่าแขนข้างซ้าย เพราะคนส่วนใหญ่ถนัดขวา แต่จริงๆแล้วการวัดความดันโลหิต สามารถวัดจากแขนข้างไหนก็ได้ เพราะค่าความดันที่ได้ออกมาก็เหมือนกัน แต่อย่างนั้นก็ยังมีคนอีกหลายคนที่เกิดความสงสัยว่าวัดความดันแขนข้างไหนถึงจะแม่นยำ วัดค่าความดันจากแขนข้างไหนจะไม่มีความคลาดเคลื่อน ทำให้เรื่องนี้มีการศึกษาและวิจัย จนพบว่าค่าความดันที่วัดได้จากแขนข้างที่ถนัดกับแขนข้างที่ไม่ถนัดไม่เท่ากัน เป็นเพราะขนาดของแขนข้างที่ถนัดมักจะมีขนาดใหญ่กว่าแขนข้างที่ไม่ถนัด และแขนข้างที่ถนัดก็มักจะมีแรงดันสูงกว่าอีกข้างที่ไม่ถนัด ทำให้ค่าความดันที่วัดได้แขนข้างที่ถนัดสูงกว่าปกติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการวัดหาค่าความดันโลหิตที่แม่นยำที่สุดคือ วัดจากแขนข้างที่ไม่ถนัด โดยคนที่ถนัดขวาจะต้องวัดค่าความดันจากแขนข้างซ้าย ส่วนคนที่ถนัดซ้ายก็จะต้องวัดค่าความดันจากแขนข้างขวานั่นเอง

สามารถวัดความดันโลหิตส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง

การวัดความดันแขนข้างไหนแม่นยำที่สุด อาจจะไม่ใช่ข้อสรุปของการวัดค่าความดัน เพราะจริงๆแล้วการวัดหาค่าความดัน สามารถวัดได้จากหลายส่วนของร่างกาย ไม่ได้วัดได้จากแขนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะนอกจากแขน ก็ยังมีอวัยวะส่วนอื่นที่สามารถใช้วัดค่าความดันโลหิตได้เช่นกัน โดยจะวัดค่าความดันได้จากส่วนไหนบ้างนั้น เราจะมาอธิบายให้ได้รู้ดังนี้

1.ข้อมือ

สำหรับการวัดความดันที่ข้อมือจะต้องใช้เครื่องวัดความดัน ที่ออกแบบมาให้สามารถวัดค่าความดันได้จากข้อมือเท่านั้น ใครที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตข้อมือ จะสามารถตรวจวัดได้อย่างสะดวกสบาย ตรวจวัดได้ทั้งที่บ้านและสถานพยาบาล ส่วนค่าความดันที่ได้จากการวัดความดันโลหิตที่ข้อมือก็จะเหมือนกันกับการวัดที่แขน เพราะเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ สามารถแสดงค่าความดันออกมาให้ทราบ ทั้งเลขตัวบนและเลขตัวล่าง

2.ข้อขา

ข้อขาเป็นอวัยวะภายในร่างกาย ที่สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ แม้ว่าต้นขาก็สามารถวัดค่าความดันได้ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะต้นขามีมวลกล้ามเนื้อเนื้อที่เยอะ จึงอาจทำให้ค่าความดันคลาดเคลื่อน แต่ในส่วนของข้อขา มักจะมีมวลกล้ามเนื้อที่น้อยกว่า ทำให้ยังสามารถคลำหาเส้นเลือดและจับชีพจรได้ ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการวัดค่าความดันที่ขา อาจจะเนื่องมาจากว่า ผู้ป่วยไม่สามารถวัดความดันที่แขนได้ โดยผู้ป่วยอาจจะแขนหัก สูญเสียแขนหรือมีความพิการที่แขน ส่วนวิธีการวัดค่าความดันที่ขา จะวัดแบบเดียวกันกับที่แขน โดยสามารถใช้เครื่องวัดความดันแบบที่ใช้กับแขนได้เลย เพราะในปัจจุบันยังไม่มีการออกแบบเครื่องวัดความดันโลหิตมาเพื่อใช้กับการวัดที่ขาโดยตรง 

อ่านเพิ่มเติม : วิธี การอ่านค่าความดันโลหิต พร้อมสัญลักษณ์ที่น่าสนใจ
ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันแบบไหนดี

ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันแบบไหนดี

การเลือกใช้เครื่องวัดความดัน ควรเลือกใช้แบบที่มีความแม่นยำและได้มาตรฐาน โดยเราขอแนะนำเครื่องวัดความดันที่วัดค่าความดันได้อย่างแม่นยำ ให้กับทุกๆคนได้รู้ดังนี้

1.เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล

เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เป็นเครื่องวัดความดันสมัยใหม่ที่ไม่ต้องการเชื่อมต่อกับหูฟังและลูกยางบีบ เป็นเครื่องมือที่มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก จะใช้งานที่บ้านหรือสถานพยาบาลก็สะดวกสบาย สามารถอ่านค่าความดันโลหิตได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ มีความผิดพลาดต่ำ โดยสามารถแสดงค่าออกมาได้ถึง 3 ค่า คือ ตัวเลขบนสุด เป็นค่าความดันกระแสเลือดขณะหัวใจบีบตัว ตัวเลขด้านล่าง เป็นค่าความดันกระแสเลือดขณะหัวใจคลายตัว ส่วนตัวเลขด้านล่างสุดจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจ

2.เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ

เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ เป็นเครื่องมือวัดความดันชนิดพกพาที่ใช้งานง่าย มีความแม่นยำสูง ใช้สำหรับตรวจวัดค่าความดันที่ข้อมือโดยเฉพาะ นับว่าเป็นเครื่องวัดความดันที่มีความสะดวกต่อการใช้งาน โดยใช้งานได้ทุกสถานการณ์ วิธีใช้งานก็ง่าย แค่สวมเครื่องมือเข้าที่ข้อมือ แล้วทำการกดปุ่มเปิดเครื่อง เครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อเครื่องทำงานเสร็จก็จะแสดงค่าความดันที่ตรวจวัดได้ออกมาให้ทราบผ่านทางหน้าจอ LED 

3.เครื่องวัดความดันแบบปรอท

เครื่องวัดความดันแบบปรอท เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัววัด โดยเครื่องมือชนิดนี้จะมีการเชื่อมต่อผ้าพันแขนและลูกยางบีบเข้ากับตัวเครื่อง เพื่อใช้ในการวัดค่าความดัน แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยเห็นเครื่องมือชนิดนี้บ่อยนัก เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล แต่เครื่องวัดความดันแบบปรอทก็ยังถือว่ามีประสิทธิภาพสูง สามารถวัดค่าความดันออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งยังมีความคลาดเคลื่อนต่ำมากๆ

4.เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน

เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมภายในสถานพยาบาล โดยสามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายตามสถานพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจวัดค่าความดันโดยรวมให้กับผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษา สำหรับวิธีการใช้งานเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนทำได้ง่ายมากๆ เพียงแค่ผู้ป่วยสอดแขนเข้าไปในตัวเครื่องแล้วทำการกดเปิดเครื่อง เครื่องจะทำการบีบรัดที่แขน หลังจากนั้นจะทำการตรวจวัดค่าความดัน เมื่อตรวจวัดค่าความดันเสร็จ ตัวเครื่องจะแสดงค่าความดันออกมาให้ทราบผ่านทางหน้าจอ LED แต่ในกรณีที่เป็นเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนรุ่นเก่า จะแสดงค่าความดันออกมาทางกระดาษ ซึ่งผู้ป่วยก็สามารถฉีกเก็บไว้ให้กับแพทย์ผู้รักษาได้

แนะนำเครื่องวัดความดันโลหิต ได้มาตรฐาน Rakmor

ก่อนที่จะไปเลือกดูเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้มาตรฐาน เราขอพาท่านมาทำความรู้จักกับ Rakmor เว็บไซต์ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์เกรดโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน จำหน่ายทั้งเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รถเข็นวีลแชร์ เตียงผู้ป่วยและเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเครื่องวัดความดันโลหิตก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือแพทย์ที่เว็บได้จัดจำหน่าย โดยทางเว็บมีเครื่องวัดความดันโลหิตจำหน่ายหลายชนิด มีทั้งแบบดิจิตอล แบบสอดแขน แบบปรอทและแบบข้อมือ ใครที่อยากจะวัดความดันแขนข้างไหน ก็สามารถมาหาซื้อเครื่องวัดความดันแบบที่ต้องการไปใช้ได้เลย

สำหรับเว็บไซต์ Rakmor ไม่ได้จัดจำหน่ายแค่เพียงเครื่องมือวัดความดันเท่านั้น เพราะยังมีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด หูฟังแพทย์ เครื่องกระตุกหัวใจ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ดูแลผู้ป่วยอีกมากมาย สำหรับใครที่ได้เข้ามาหาซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆในเว็บไซต์ รับรองว่าจะได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานในระดับสากลไปใช้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ใครที่เลือกซื้อสินค้าของทางเว็บ ทางเว็บยังมีการรับประกันสินค้าจากการใช้งานปกติ อีกทั้งยังมีการบริการหลังการขาย ใครที่ยังสงสัยว่าควรวัดความดันแขนข้างไหน สามารถทำการติดต่อสอบถามได้ทันที ทางเว็บมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการตลอดเวลา

——-

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *