ฟีดอาหาร (Feeding)
ฟีดอาหาร ( Feeding ) คือ กระบวนการในการให้อาหารกับผู้ป่วย เป็นการให้อาหารผ่านทางสายยางที่เชื่อมต่อกับทางเดินอาหาร เพื่อให้สารอาหารกับพลังงานที่จำเป็น และเพื่อตอบสนองความต้องการทางอาหาร และสุขภาพของผู้ป่วย ส่วนใหญ่การฟีดอาหารจะทำกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่ห้ามรับประทานอาหารทางปาก รวมไปถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ส่วนการให้อาหารผู้ป่วยผ่านทางสายยางนั้น สามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น การให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูก และการให้อาหารทางสายยางผ่านทางหน้าท้อง ส่วนเหตุผลที่ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านช่องทางเหล่านี้ ก็เพื่อความปลอดภัย และเพื่อความสะดวกสบายในการให้อาหารกับผู้ป่วย
ทำไมถึงต้องให้อาหารผู้ป่วยผ่านสายยาง
การให้อาหารผู้ป่วยผ่านทางสายยาง มีความสำคัญต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ป้องกันการขาดสารอาหาร และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการสำลัก ที่อาจทำให้อาหาร หรือของเหลวหลุดเข้าไปในปอด นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง ไม่สามารถทานอาหารได้ตามปกติ โดยการให้อาหาร ผ่านเครื่องให้อาหารทางสายยางจะช่วยเรื่องการรักษา การฟื้นตัว และยังช่วยลดความผิดปกติ ลดการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคเส้นเลือดตีบ รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติต่างๆทางระบบประสาท และที่สำคัญ การให้อาหารทางสายยางยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับโภชนาการ ความชุ่มชื้นในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุพโภชนาการ ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันทางเดินอาหาร โรคลำไส้อักเสบ หรือโรคกระเพาะ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
การดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง
1. ก่อนเริ่มทำการฟีดอาหาร ควรสอบถามแพทย์ พยาบkล เพื่อขอคำแนะนำในการให้อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และเพื่อดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
2. รักษาบริเวณท่อให้อาหารให้สะอาดและแห้ง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง
3. ตรวจสอบว่าสายยางอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีรอยแตกหรือชำรุด รวมทั้งตรวจสอบการติดตั้งท่อและสายยางให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
4. ล้างสายยางให้อาหารด้วยน้ำ ทั้งก่อนและหลังการให้อาหาร เพื่อป้องกันการอุดตัน และเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
5. ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง และควรใส่ถุงมือที่สะอาด ไม่มีรูและไม่ชำรุด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้ป่วย
6. ตรวจสอบน้ำหนักตัวของผู้ป่วย สัญญาณชีพ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้อาหาร และเพื่อปรับเปลี่ยนอาหารให้กับผู้ป่วย
7. สังเกตสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อ ท่อหลุด การรั่วซึม หรือการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่มีการเจาะท่อ
8. ให้ความมั่นใจและให้การสนับสนุนทางอารมณ์กับผู้ป่วย เพื่อบรรเทาความวิตกกังวล หรือความทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการฟีดอาหาร
วิธีเลือกซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยาง
เนื่องจากการฟีดอาหาร ด้วยเครื่องให้อาหารทางสายยางสำคัญต่อสุขภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยาง ผู้ซื้อควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อประเมินความต้องการ ความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากนี้ยังควรเลือกซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยางที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการฟีดอาหาร และตรงตามข้อกำหนดทางการรักษา และที่สำคัญควรเลือกซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยางจากบริษัทที่มีการประกันสินค้า เพื่อให้สามารถเคลมสินค้า หรือส่งคืนสินค้าในกรณีที่สินค้ามีปัญหา
นอกจากนี้ผู้ซื้อควรมองหาบริษัทจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง เชี่ยวชาญด้านการจัดหาเครื่องให้อาหารทางสายยาง อย่างบริษัท Rakmor เพราะทางบริษัทมีเครื่องให้อาหารทางสายยางที่มีคุณภาพ สามารถตั้งเวลาการให้อาหาร ปริมาตร และอัตราการไหล เพื่อให้อาหารกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารทางปากได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ จัดจำหน่ายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สายให้อาหารผู้ป่วย ถุงให้อาหารทางสายยาง เครื่องควบคุมการให้สารละลายด้วยกระบอกฉีดยา เครื่องดูดเสมหะ อุปกรณ์ฉีดยา และอุปกรณ์เสริมอื่นๆอีกมากมาย
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก