การเรียนรู้วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน จะช่วยให้ผู้ดูแลหรือผู้ป่วยสามารถทำการวัดความดันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ค่าความดันและอัตราการเต้นของหัวใจที่มีความแม่นยำ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องได้รับการวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็คสภาพร่างกาย และประเมินอาการของผู้ป่วย โดยหากมีการใช้งานเครื่องวัดความดันอย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้ค่าที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ไม่สามารถทราบอาการที่แท้จริงของผู้ป่วยได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน และทำให้การรักษาเป็นไปอย่างล่าช้าอีกด้วย
ก่อนวัดความดันต้องเตรียมตัวอย่างไร
- ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่คาเฟอีนสูงอย่างชา และกาแฟ ก่อนทำการวัดความดัน
- ควรงดการสูบบุหรี่อย่างน้อยประมาณ 30 นาที ก่อนวัดความดัน
- ก่อนเริ่มวัดความดันควรพักให้หายเหนื่อยประมาณ 5 – 10 นาที เพื่อให้สามารถวัดค่าได้อย่างแม่นยำ
- ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาว หรือเสื้อที่รัดแขนแน่นจนเกินไป
- ควรใช้แขนข้างที่ไม่ถนัดในการวัดความดัน
- ไม่ควรทำการวัดความดันหลังทานอาหารเสร็จ ควรทิ้งระยะห่างซักพักหนึ่งก่อน
- ไม่ควรพูดคุย หรือขยับตัวไปมาในระหว่างการวัดความดัน
- ควรนอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการวัดความดัน
วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน
1. จัดท่านั่งของผู้ป่วยให้ถูกต้อง
ในการวัดความดันผู้ป่วยด้วยเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนควรอยู่ในท่านั่งหลังตรง และไม่ควรนั่งไขว้ขา ควรวางเท้าทั้งสองข้างให้ราบไปกับพื้นจะดีที่สุด หรือหากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถนั่งได้ ก็อาจจะให้อยู่ท่านอนก็ได้เช่นกัน
2. สอดแขนข้างที่ไม่ถนัดเข้าไปในอุโมงค์วัดความดัน
สอดแขนข้างที่ไม่ถนัดของผู้ป่วยเข้าไปในอุโมงค์วัดความดัน โดยให้แขนอยู่ในลักษณะหงายมือขึ้น จากนั้นปรับระดับท่านั่งและองศาของแขนให้เหมาะสม เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายในขณะวัดความดัน และสามารถวัดค่าออกมาได้อย่างแม่นยำ
3. กดปุ่มใช้งานเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน
ทำการกดปุ่มเปิดให้เครื่องทำงาน โดยการใช้มืออีกข้างที่เหลือในการกด หรือหากทำการวัดความดันที่โรงพยาบาล อาจให้พยาบาลหรือผู้ดูแลเป็นคนกดให้ก็ได้
4. ผู้ป่วยไม่ควรขยับตัวไปมาในขณะที่วัดความดันแบบสอดแขน
ให้ผู้ป่วยพยายามอยู่นิ่งๆ และไม่ขยับตัวไปมาขณะทำการวัดความดัน เพื่อให้เครื่องสามารถทำการวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ต้องเสียเวลาทำการวัดใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังไม่ควรกำมือหรือเกร็งมือในขณะวัดความดัน
5. รอเวลาเพื่อวัดความดันให้เรียบร้อย
เมื่ออยู่ในท่าที่สบายที่สุดแล้ว ก็เพียงแค่รอให้เครื่องทำการวัดความดันให้เสร็จ โดยเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในการใช้งานจะต้องเสียบปลั๊กไฟก่อน หรือสามารถใช้งานจากแบตเตอรี่ก็ได้เช่นกัน
6. ให้ผู้ป่วยนำแขนออกจากอุโมงค์วัดความดัน
หลังจากทำการวัดความดันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องจะมีเสียงสัญญาณเตือน และแสดงผลขึ้นบนหน้าจอ LED ผู้ป่วยก็สามารถนำแขนออกจากอุโมงค์วัดความดันได้เลย
7. อ่านความวัดความดันได้วัดผลได้
ในการอ่านค่าที่วัดได้จากเครื่องวัดความดัน สามารถดูได้บนหน้าจอแสดงผลของตัวเครื่อง หรือจะดูจากใบแสดงผลการวัดที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องก็ได้ โดยผลการวัดที่ได้จะประกอบไปด้วย ค่าความดันบน ค่าความดันล่าง ชีพจร ความดันชีพจร และความดันเลือดแดงเฉลี่ย
8. หากเกิดเหตุฉุกเฉินให้กดปุ่มหยุดวัดความดัน
กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น ไฟฟ้าดับ ในขณะที่ทำการวัดความดัน ผู้ป่วยสามารถที่จะทำการกดปุ่ม Emergency เพื่อหยุดการวัดความดันได้ หรือจะกดปุ่มปิดเครื่องไปเลยก็ได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และเพื่อให้อุโมงค์วัดความดันคลายตัวให้ผู้ป่วยเอาแขนออกมาได้
การใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในการนำมาวัดความดันให้กับผู้ป่วย เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดเวลาในการวัดความดันได้ดี โดยที่ไม่ต้องมาคอยพันผ้าพันแขน ผู้ป่วยเพียงแค่สอดแขนเข้าไปในอุโมงค์และสามารถกดเริ่มวัดความดันได้เองเลย นอกจากนี้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขนยังสามารถทำงานหนักหรือใช้งานต่อเนื่องยาวนานได้ และมีความแม่นยำที่มากกว่าเครื่องแบบธรรมดา ซึ่งถึงแม้ว่าวิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน นั้นจะมีความสะดวกและใช้งานง่าย แต่ก็มีขั้นตอนและข้อควรระวังที่ผู้ป่วยควรเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด
นอกจากนี้การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน ก็จำเป็นอย่างมากๆ ที่จะต้องเลือกซื้อยี่ห้อที่ได้มาตรฐาน และมีการรับประกันการใช้งาน ซึ่งท่านสามารถสอบถามข้อมูลกับทีมงานร้านขายอุปกรณ์การแพทย์กับเราได้ ว่าควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนยี่ห้อไหนดี เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ มากที่สุด
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical