การให้อาหารทางสายยาง คืออะไร มีกี่แบบ ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง พร้อมแนะนำวิธีให้อาหารโดยการใส่สายยางแบบที่ถูกต้อง และปลอดภัย

การให้อาหารทางสายยาง คืออะไร มีทั้งหมดกี่แบบ

การให้อาหารทางสายยาง เป็นวิธีการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารได้เองจากสาเหตุต่างๆ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต รวมไปถึงผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีร่างกายอ่อนแอ และบางรายก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการทานอาหาร ทั้งการไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ หรือมีภาวะกลืนอาหารได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับสารอาหารน้อยและอาจเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยางหรือกินข้าวทางสายยาง ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้สะดวกขึ้น และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจ ซ่อน
การให้อาหารด้วยสายยางคืออะไร

การให้อาหารทางสายยาง คืออะไร ?

            การให้อาหารทางสายยาง คือ การให้อาหารโดยใช้เครื่องให้อาหารทางสายยาง ด้วยการปล่อยให้อาหารผ่านเข้าไปทางท่อของสายยางให้อาหาร ที่เชื่อมต่อไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งอาหารผู้ป่วยติดเตียงหรืออาหารที่เหมาะกับการให้ทางสายยาง จะเป็นอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ที่สามารถกลืนและย่อยได้ง่าย รวมถึงยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 5 เครื่องให้อาหารทางสายยาง ยี่ห้อไหนดี ? ที่ได้มาตรฐาน ราคาดี สำหรับให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง

กลุ่มคนที่จำเป็นต้องให้อาหารในสายยาง มีใครบ้าง ?

  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ทางปาก
  • ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ทำให้ไม่สามารถทานอาหารเองได้
  • ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยเจาะคอ ที่ต้องมีการใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแรง จนไมสามารถเคี้ยวและกลืนอาหารเองได้

การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?

1.การให้อาหารทางสายยางทางจมูก

            การให้อาหารทางสายยางทางจมูก เป็นการใช้สายยางให้อาหารทางจมูก ผ่านเข้าไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วย โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับการใช้ให้อาหารผู้ป่วยในระยะสั้น เนื่องจากหากให้อาหารด้วยวิธีนี้นานเกินไป อาจทำให้จมูกเกิดการอักเสบได้

2.การให้อาหารทางสายยางทางปาก

            การให้อาหารทางสายยางทางปาก จะมีรูปแบบที่คล้ายกับการใช้สายให้อาหารทางจมูก แต่จะเปลี่ยนมาเป็นการใส่สายยางเข้าไปทางปากแทน และเชื่อมต่อไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วย

3.การให้อาหารทางสายยางทางหน้าท้อง

            สำหรับการให้อาหารทางสายยางทางหน้าท้อง จะเป็นการใส่สายยางเข้าไปในสายเจาะผ่านหน้าท้องที่เชื่อมไปถึงกระเพาะอาหาร โดยวิธีนี้จะเหมาะกับการให้อาหารผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดการระคายเคืองบริเวณจมูกและคอ

การเตรียมตัวในการให้อาหารทางสายยางกับผู้ป่วย ต้องทำอย่างไรบ้าง?

  1. เตรียมอาหารเหลวและอุปกรณ์ในการให้อาหารให้พร้อม
  2. จัดให้ป่วยนอนในท่าที่ศรีษะสูงประมาณ 45 องศา หรืออยู่ในท่านั่งก่อนเริ่มให้อาหารทางสายยาง
  3. ตรวจเช็กตำแหน่งของสายยาง และเช็กสภาพพลาสเตอร์ยึดติดสายด้วย
  4. พับสายยางให้อาหารก่อนเปิดจุกสาย เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวไหนย้อนขึ้นมาจากกระเพาะ

อุปกรณ์ให้อาหารทางสายยาง มีอะไรบ้าง

  • กระบอกหรือถุงให้อาหาร
  • สายยางสำหรับให้อาหาร
  • อาหารเหลวหรืออาหารอ่อน
  • สำลี และ แอลกอฮอล์ สำหรับเช็ดทำความสะอาด

วิธีการให้อาหารทางสายยาง แบบที่ถูกต้อง

            วิธีการให้อาหารทางสายยางแบบถูกต้อง จะเริ่มจากการตรวจสอบก่อนว่าสายยางนั้นอยู่ในกระเพาะอาหารจริงๆ ด้วยการใช้กระบอกฉีดยาฉีดเข้าไปในกระเพาะ จากนั้นให้ทำการตรวจสอบปริมาณอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะของผู้ป่วย เพื่อเช็กว่าผู้ป่วยพร้อมสำหรับการให้อาหารหรือไม่ โดยการใช้กระบอกฉีดยาดูดย้อนกลับขึ้นมา หากพบว่ามีปริมาณอาหารค้างมากกว่า 100 ซีซี แล้วจึงค่อยกลับมาลองดูดใหม่ หากไม่พบอาหารค้างจึงสามารถให้อาหารกับผู้ป่วยได้ โดยทำการต่อถุงอาหารเหลวหรือกระบอกสูบที่มีอาหารเข้ากับสายยาง แล้วนำไปห้อยไว้ด้านบนของผู้ป่วย เพื่อให้อาหารเหลวค่อยๆ ไหลลงไปตามแรงโน้มถ้วง หลังให้อาหารเสร็จแล้วจะต้องให้น้ำตามด้วย

วิธีการให้อาหารทางสายยาง แบบที่ถูกต้อง

การฟีด (Feeding) อาหารทางสายยาง หมายความว่าอะไร ?

            การฟีด (Feeding) หมายถึง การให้อาหารฝู้ป่วยผ่านทางสายยางโดยใช้ สายfeedอาหาร ซึ่งการfeedอาหารทางสายยาง นั้นเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้ให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารได้เอง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอย่างครบถ้วน

ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายยาง มีอะไรบ้าง

            ในการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง หากทำการให้อาหารไม่ดีหรือไม่ระวัง ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การสำลักอาหาร หรือสำลักเสมหะที่ติดค้างอยู่ในช่องคอ เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการให้อาหารทางสายยางนั้น จะมีระบบการกลืนอาหารที่ไม่ดี จึงทำให้อาจเกิดการสำลักได้ง่าย รวมถึงหากมีอาหารไปติดค้างอยู่ในหลอดลม ก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้อีกด้วย

การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง ต้องทำอย่างไร

  • ล้างทำความสะอาดมือและอุปกรณ์ก่อนเริ่มให้อาหารผู้ป่วย
  • ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ยึดติดสายยางเป็นประจำ เพื่อให้สายยางแนบสนิทกับผิวหนังและช่วยป้องกันการเลื่อนหลุด
  • ทำความสะอาดช่องจมูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำมูกหรือเสมหะมาอุดตัน
  • ควรทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วย ด้วยการแปรงฟันตามปกติหรือบ้วนปาก เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ การให้อาหารทางสายยาง มีอะไรบ้าง

  • ระวังไม่ให้สายยางหลุดออกนอกกระเพาะ เพราะหากสายยางไม่ได้อยู่ในกระเพาะ เมื่อให้อาหารทางสายยางก็อาจจะทำให้อาหารหลุดเข้าไปยังหลอดลมได้
  • หากสายยางเลื่อนหลุดออกและไม่ได้อยู่ในกระเพาะอาหาร ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการเปลี่ยนสายให้ ไม่ควรเปลี่ยนสายเอง
  • หากผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหาร ให้รีบหยุดให้อาหารทันที
  • ควรให้อาหารกับผู้ป่วยช้าๆ ไม่ควรให้เร็วจนเกินไป
  • หลังให้อาหารเสร็จแล้ว ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งประมาณ 1 ชม. เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อนกลับของอาหาร

แม้ว่า การให้อาหารทางสายยาง จะเป็นวิธีการดูแลผู้ป่วยที่สามารถทำได้เองที่บ้าน แต่ถึงอย่างนั้นผู้ดูแลก็ควรจะต้องเรียนรู้วิธีการให้อาหารอย่างถูกต้อง และมีความระมัดระวังในการให้อาหารด้วย เพื่อจะได้สามารถทำการให้อาหารได้อย่างปลอดภัย และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติขึ้นขณะให้อาหาร จะต้องหยุดให้อาหารทันที และรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *