ผู้ป่วยติดเตียงมีเสมหะ
การดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียงที่มีเสมหะอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาทางเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือการกลืน การดูดเสมหะ เพื่อระบายเสมหะนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการสำลักของผู้ป่วยได้ ช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น นอกจากนั้นยังลดปัญหาการติดเชื้อด้วย แต่การดูดเสมหะให้ผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ดูดเสมหะจะต้องมีความรู้ความเข้าใจหรือมีความชำนาญพอสมควร เพราะการดูดเสมหะอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งบทความในวันนี้ RAKMOR จะมาแนะนำว่าควรทำอย่างไรดีเมื่อผู้ป่วยติดเตียงมีเสมหะ
ผู้ป่วยติดเตียงมีเสมหะตลอดเวลา เกิดจากอะไร
- ผู้ป่วยติดเตียงที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยติดเตียงที่เจาะคอ จะมีเสมหะมากเป็นพิเศษ หรือเมือกไหลออกมาจนทำให้หายใจไม่สะดวก
- ผู้ป่วยติดเตียงซึ่งนอนอยู่บนเตียงโดยร่างกายไม่ขยับเขยื้อนหรือขยับเขยื้อนน้อยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทำให้เกิดเสมหะมากและเหนียวข้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : รู้สึก ! เหมือนมีเสมหะในคอตลอดเวลา จะเป็นอันตรายไหม ควรทำยังไงดีเพื่อลดเสมหะให้หมดไป
วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียงให้ปลอดภัย ต้องทำอย่างไร
การดูดเสมหะทางปากให้ผู้ป่วยติดเตียง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
- เครื่องดูดเสมหะ
- สายดูดเสมหะ
- ถุงมือตรวจโรคทั่วไป
- เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
- สำลีชุบแอลกอฮอล์
- น้ำสะอาด
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมและทดสอบแรงดันของเครื่องดูดเสมหะ
2.หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด
3.ถ้าเป็นผู้ป่วยสูงอายุต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบเสมอ
4.ใส่ถุงมือตรวจโรคหยิบสายดูดเสมหะทำการต่อเข้ากับตัวเครื่อง โดยมือข้างที่ถนัดจับปลายสายและอีกข้างจับสายระบายเสมหะ ระมัดระวังอย่าให้สายยางดูดเสมหะมีความสกปรกหรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ
5.ทำการเปิด เครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครั้ง
6.จากนั้นให้เปิดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y-Tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นเอาไว้ สอดสายยางเข้าไปในช่องปากอย่างเบามือด้วยความระมัดระวัง
7.ในขณะที่ดูดเสมหะไม่ควรดูดนาน ค่อยๆ ถอดสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบาๆ ให้มีช่วงจังหวะหยุดพักให้ผู้ป่วยหายใจหรือได้รับออกซิเจนบ้าง
8.ในระหว่างการดูดเสมหะให้สังเกตลักษณะของเสมหะ ปริมาณ สี รวมทั้งสังเกตดูว่ามีเลือดปนออกมาหรือไม่ สังเกตการหายใจและผิวของผู้ป่วย
9.หากผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเกร็ง สามารถใช้ mouth gag โดยสอดเข้าไปในช่องปากเพื่อนำทางสายยางดูดเสมหะได้ง่าย
10.เมื่อดูดเสมหะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำ จากนั้นเก็บสายยางดูดเสมหะและเก็บถุงมือทิ้งถังขยะ
11.ปิดเครื่องดูดเสมหะ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้จัดท่าผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย สังเกตลักษณะสีผิว อัตราการหายใจและการเต้นของชีพจรผู้ป่วย
การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม (Tracheostomy Tube) ให้ผู้ป่วยติดเตียง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
- เครื่องดูดเสมหะ
- สายดูดเสมหะ
- น้ำสะอาด
- สำลีแอลกอฮอล์
- เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
- ถุงมือสเตอร์ไรด์
ขอบคุณคลิปจาก : TROPMED Youtube
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม แจ้งให้ผู้ป่วยทราบกรณีมีเสมหะมากให้เคาะปอด เพื่อไล่เสมหะโดยจัดท่าผู้ป่วยตะแคงกึ่งคว่ำ
2.ล้างมือให้สะอาด ใส่ถุงมือโดยใช้ถุงมือสเตอร์ไรด์ ระมัดระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะสกปรกหรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ โดยมืออีกข้างจับสายระบายเสมหะไว้
3.เปิดเครื่องดูดเสมหะบอกให้ผู้ป่วยทราบอีกครั้ง
4.เปิดบริเวณข้อต่อ Y-Tube หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นไว้พร้อมสอดสายยางลงในหลอดหายใจเทียมโดยใส่ให้ลึกจนรู้สึกติดและดึงขึ้นมาเล็กน้อยค่อยๆ หมุนสายไปรอบๆ แล้วค่อยๆ ถอดสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบามือหรือนุ่มนวล
5.การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 วินาที หากดูดครั้งที่ 1 ผู้สูงอายุยังมีเสมหะอยู่ให้ผู้สูงอายุหายใจเข้าประมาณ 10 วินาที เมื่อผู้สูงอายุได้รับออกซิเจนแล้วให้ดูดเสมหะอีกครั้ง
6.กรณีที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงมีการเจาะคอ ควรดูดเสมหะจากหลอดทางเดินหายใจเทียมก่อน แล้วจึงดูดเสมหะในปากต่อ
7.เมื่อดูดเสมหะเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดินทางเดินหายใจโล่ง ให้ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสายจากนั้นเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิ้งถังขยะ
8.ปิดเครื่องดูดเสมหะ จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สบาย สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจร
การดูดเสมหะโดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะ
- ลูกสูบยางมีคุณสมบัติคือเอาไว้ดูดของเหลว หากคนไข้ติดเตียงที่มีเสมหะเยอะ จึงต้องดูดเสมหะออกที่กระพุ้งแก้ม ขั้นตอนแรกให้บีบลูกสูบยางก่อนใส่เข้าไปในปาก
- หลังจากที่คล้ายนิ้วมือของเหลวก็จะถูกดูดเข้ามาในลูกสูบยาง และสามารถบีบทิ้งในที่ที่เหมาะสมได้
- การบีบลูกสูบยางในกระพุงแก้มต้องไม่ให้ลูกสูบยางโดนกับกระพุงแก้มเพราะอาจจะทำให้เกิดรอยแผลได้ สามารถศึกษาวิธีการใช้งานและการล้างทำความสะอาดลูกสูบยางสำหรับดูดเสมหะได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลย
ขอบคุณคลิปจาก : TROPMED Youtube
ผู้ป่วยติดเตียงมีเสมหะตลอดเวลา ต้องทำอย่างไรดี
สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีเสมหะตลอดเวลา มีเสมหะเหนียวข้น แนะนำให้ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดเสมหะโดยผู้เชี่ยวชาญหรือศึกษาวิธีการขั้นตอนการทำด้วยตนเองให้ดีๆ เพราะหากใช้ผิดวิธีก็อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยติดเตียงได้และทำให้การดูดเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้ ก็คือ วิธีการดูดเสมหะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เชื่อว่าข้อมูลที่เราเอามาแชร์ในวันนี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกๆ คน ทำให้คุณสามารถดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้องถูกวิธี ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดูดเสมหะและช่วยให้การดูดเสมหะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ว่าคุณจะใช้วิธีการดูดเสมหะด้วยวิธีไหนก็ตาม ควรมีการศึกษาและเข้าใจขั้นตอนการทำอย่างละเอียดหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั่นเอง
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical