โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) – อันตรายใกล้ตัวและวิธีการขนย้ายผู้ป่วยกับสาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

als คืออะไร – โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร?

               ALS หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แม้ชื่อของโรคนี้จะสื่อถึงกล้ามเนื้อแต่แท้ที่จริงแล้วโรค ALS นี้ไม่มีเกิดมาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อแต่อย่างใด แต่โรคนี้เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์ประสาท ด้วยเหตุนี้ทำให้กล้ามเนื้อในส่วนที่สารสื่อประสาทไม่สามารถเข้ามาได้เกิดการเสื่อมและเซลล์ในบริเวณนั้นก็ได้ตายลงจนในที่สุดกล้ามเนื้อก็ไม่สามารถที่จะสั่งการได้ในที่สุด นอกจากจะทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรงแล้วโรคนี้ยังสามารถส่งผลทางอ้อมต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเรื่องระบบการหายใจและระบบทางเดินอาหารได้ด้วยเช่นกัน

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

               อย่างที่เราได้บรรยายไว้ข้างบนแล้ว หลายคนก็คงจะทราบสาเหตุเบื้องต้นในการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกันได้บ้างแล้ว แต่หลายคนก็คงยังมีความสงสัยว่าอะไรกันที่เป็นสาเหตุให้สารสื่อประสาททำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จากผลงานวิจัยพบว่าอายุก็มีส่วนการเกิดโรคด้วยเช่นกัน เพราะ โรคนี้มักจะพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ก็ยังสามารถเกิดร่วมได้กับปัจจัยทางพันธุกรรม หรือสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตได้ด้วย อย่างเช่นในกลุ่มคนที่มีประวัติในการสัมผัสหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นโลหะหนักสูงก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าด้วยนั่นเอง

วิธีขนย้ายผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอะไรบ้าง

               หลายต่อหลายคนเมื่อพบว่าตัวเองมีอาการที่สามารถบ่งชี้ถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้นั้น ก็พบว่าตัวเองได้สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายไปแล้ว ซึ่งนั่นทำให้เหล่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยต้องมีความจำเป็นในการมองหาอุปกรณ์ช่วยทุ่นแรงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้อยู่ในองศาหรือมุมที่สบายตัว ซึ่งวิธีขนย้ายผู้ป่วย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรใช้ วีลแชร์ หรือเตียงสำหรับขนย้ายผู้ป่วย เพราะในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นร่างกายส่วนต่าง ๆ จะไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวได้เลย ดังนั้น รถเข็นผู้ป่วยก็จะช่วยเคลื่อนย้ายในท่านั่งได้ หรือหากผู้ป่วยยังมีความสามารถในการขยับนิ้วเหลืออยู่รถเข็นไฟฟ้าก็ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน

คำถามที่ผู้ป่วยมักจะถามเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

               หากคุณมีคนใกล้ชิดที่กำลังสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และกำลังมองหาแนวทางในการปฏิบัติตนหรือกำลังมองหาคำตอบเพื่อคำข้อสงสัยหรือความกังวลใจ ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมเอาคำถามที่มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาฝากกัน

  1. ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่ได้กี่ปี – คำถามนี้เรียกได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิตเลยว่าหลายท่านเมื่อทราบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ต่างก็กังวลว่าคนที่เรารักจะสามารถมีอายุอยู่ต่อได้อย่างยืนยาวเช่นเดิมไหม อย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่แล้วว่าโรคนี้เป็นโรคที่โจมตีระบบประสาทโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ไม่เป็นปกติ เพราะในผู้ป่วยจะพบว่ามักมีอาการอ่อนแรงตามร่างกายจนไม่สามารถขยับหรือช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนี้ก็ยังมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ตลอดไปจนถึงความยากลำบากในการหายใจหรือการกลืนอาหาร จนทำให้ในคนไข้บางรายจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจได้เลยทีเดียว และด้วยอาการต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้พบว่าผู้ป่วยโรค ALS มักจะมีชีวิตอยู่ต่อหลังจากเกิดอาการแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-5 ปี อย่างไรก็ตามค่านี้ก็ไม่สามารถบ่งบอกได้เสมอไปเพราะบางก็สามารถมีชีวิตได้มากกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับร่างกาย กำลังใจและการดูแลของแต่ละคนด้วยนั่นเอง
  2. ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาหายไหม ? – แน่นอนว่าความหวังของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทุกคนก็ย่อมอยากที่จะมีโอกาสในการรักษาโรคให้หายขาด แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวิธีที่จะรักษาให้หายขาดได้ แพทย์ทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น
  3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากกรรมพันธุ์จริงไหม ? – แท้ที่จริงแล้วสาเหตุในการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจริง ๆ ยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์ที่ชัดเจนมากนัก แต่เรื่องของการเกิดจากพันธุกรรมก็เป็นหนึ่งในข้อสันนิษฐานหนึ่งทางการแพทย์ที่มีปัจจัยร่วมและดูจะมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มากด้วยนั่นเอง

               ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมนุษย์เป็นอย่างมาก และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเองก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความน่ากลัวและอันตรายที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้ขาดหายได้ ซึ่งในปัจจุบันเราก็คงทำได้เพียงดูแลตัวเองและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญทุกคนควรจะต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพราะหากเราพบโรคต่าง ๆ ได้อย่างทันที เราก็จะสามารถหาวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้อาการของโรคนั้นรุนแรงมากขึ้นไปกว่านี้ได้ และสำหรับใครที่มีคนที่รักและคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้อยู่ก็อย่าพึ่งเสียกำลังใจ เพราะหากเรามีกำลังใจที่ดีและพร้อมอยู่เคียงข้างผู้ป่วยในตอนที่เขาต้องการกำลังใจสูงสุดได้และผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะสามารถมีชีวิตต่อไปได้อย่างยืนยาวแน่นอน

——- 

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

Original price was: 13,000.00 ฿.Current price is: 11,900.00 ฿.
สินค้าหมดแล้ว
Original price was: 20,500.00 ฿.Current price is: 15,500.00 ฿.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *