ทำไมคนเราถึงต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิต วัดผลไปแล้วได้อะไร?
เรื่องของเหตุผลที่คนเราต้องวัดค่าความดันโลหิต ส่วนใหญ่แล้วมาจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเจ็บป่วย มีไข้ไม่สบาย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือในอนามัย แต่ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาได้นั้น จะต้องมีการวัดส่วนสูง วัดน้ำหนักและวัดค่าความดันโลหิตก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นสำหรับใครที่สงสัยว่าควรวัดความดันตอนไหน ตอบได้อย่างง่ายๆเลยก็คือวัดก่อนที่จะเข้าทำการรักษา สำหรับการวัดค่าความดันโลหิตในปัจจุบันนั้นสามารถวัดด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้แพทย์หรือพยาบาลมาวัดให้ โดยสามารถวัดได้จากเครื่องวัดความดันดิจิตอล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้อย่างถูกต้องแม่นยำถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยอย่างแท้จริง
ในปัจจุบันเครื่องวัดความดันถือว่ามีหลากหลายชนิด หลากหลายประเภท มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนปรอท แบบที่เป็นขดลวดและแบบดิจิตอล ที่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน สามารถใช้งานได้ง่ายมากกว่าเครื่องวัดความดันแบบอื่นๆ เพราะแค่สอดแขนเข้าไปแล้วทำการกดปุ่มทำงานที่เครื่อง เครื่องก็จะทำงานพร้อมแสดงค่าความดันออกมาที่หน้าจอ สำหรับค่าความดันที่แสดงออกมาให้เห็นหลักๆแล้วจะมีอยู่ 3 ค่า หรือพูดง่ายๆก็คือมีตัวเลขอยู่ทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกคือเลขตัวบน หรือ Systolic Blood Pressure คือค่าความดันสูงสุดในหลอดเลือดแดงระหว่างที่หัวใจบีบตัวและทำการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งค่าความดันโลหิตเลขตัวบนนี้ต้องไม่เกิน 120 mmHg ถ้าเกินขึ้นไปมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน นั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง ส่วนที่ 2 คือเลขตัวล่าง หรือ Diastolic Blood Pressure คือค่าความดันต่ำสุดในหลอดเลือดแดงระหว่างที่หัวใจบีบตัวและทำการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งค่าความดันโลหิตเลขตัวล่างนี้จะต้องไม่เกิน 80 mmHg ถ้าหากว่าสูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าทั้งสองค่านี้ต่ำกว่าปกติมากจนเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนเช่น โรคความดันโลหิตต่ำ ในส่วนของตัวเลขส่วนที่ 3 ก็คืออัตราการเต้นของหัวใจ Pulsation มีเกณฑ์อยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที
ควรวัดความดันตอนไหน ดีที่สุดสำหรับคนรักสุขภาพ
สำหรับการวัดค่าความดันโลหิตในคนทั่วไปกับผู้สูงอายุ ถือว่ามีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เพราะค่าความดันโลหิตจะเปลี่ยนไปตามเกณฑ์อายุ หากเป็นผู้สูงอายุ ค่าความดันก็จะไม่เหมือนกันกับคนทั่วไป โดยคนทั่วไปนั้น ค่ามาตรฐานความดันของเลขตัวบนที่อ่านได้จากเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล ไม่ควรเกิน 120 mmHg ส่วนเลขตัวล่างไม่ควรเกิน 80 mmHg แต่สำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ค่าความดันปกติของเลขตัวบนไม่ควรเกิน 160 mmHg ส่วนเลขตัวล่างไม่ควรเกิน 90 mmHg แต่ถ้าหากว่าวัดค่าความดันแล้วตัวเลขทั้งบนและล่างสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะมีสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการวัดค่าความดันอยู่บ่อยๆ เพื่อเช็คดูว่าค่าความดันนั้นสูงกว่าหรือต่ำหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ สำหรับช่วงเวลาที่หลายคนสงสัยว่าควรวัดความดันตอนไหน ข้อสงสัยนี้ก็มีคำตอบ ซึ่งโดยหลักการแล้วการวัดความดันควรวัดอยู่ 2 เวลา นั่นก็คือช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยในช่วงเช้าควรวัดหลังจากตื่นนอน 1 ชั่วโมง และควรปัสสาวะให้เรียบร้อย เพราะถ้าอั้นปัสสาวะเอาไว้ จะทำให้ค่าความดันโลหิตนั้นคลาดเคลื่อน ส่วนอีกช่วงเวลาหนึ่งนั่นก็คือช่วงเย็น ควรวัดหลังจากที่ทานอาหารเย็นเรียบร้อยแล้ว และในส่วนของการวัดค่าความดันของคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยแต่ละช่วงควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งควรห่างกันครั้งละ 1 นาทีขึ้นไป และควรจะวัดติดต่อกันอย่างน้อย 3 วันขึ้นไป แต่ถ้าจะให้ดีควรวัดติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันขึ้นไป ในที่นี้สำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงบางคน ถ้าหากกลัวว่าจะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงตอนกลางคืน อาจจะเพิ่มการวัดความดันในรอบค่ำก่อนเข้านอนเพิ่มอีก 1 รอบได้
สิ่งที่ควรและไม่ควรทำก่อนใช้งาน เครื่องวัดความดัน
สิ่งที่ควรทำก่อนวัดความดัน
- ควรพักผ่อนร่างกายก่อนวัดความดัน 5-15 นาที
- ควรปัสสาวะก่อนทำการวัดความดันให้เรียบร้อย
- ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด โกรธหรือโมโห
- ควรทำร่างกายให้อยู่ในท่าที่สบาย ไม่เกร็งเกินไป
- ควรวัดความดันตอนไหน คือควรวัดหลังจากตื่นนอน 1 ชั่วโมง
สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนวัดความดัน
- ไม่ควรดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ไม่ควรสูบบุหรี่ ก่อนที่จะทำการวัดค่าความดัน
- ไม่ควรพูดมากเกินไป เพราะมีผลต่อค่าความดัน
- ไม่ควรขยับร่างกายมากเกินไป เพราะค่าความดันอาจคลาดเคลื่อน
แนะนำเครื่องวัดความดันโลหิตแบบไหนดี
1.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลเป็นเครื่องวัดความดันที่ใช้แบตเตอรี่ วัดความดันโดยใช้การพันปลอกแขนรอบแขน สามารถวัดค่าความดันได้อย่างแม่นยำ ข้อดีคือใช้งานง่าย น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก สำหรับใครที่กำลังดูเครื่องวัดความดันเพื่อมาใช้งาน เครื่องวัดความดันชนิดนี้ก็ดูจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
2.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบข้อมือ
เครื่องวัดความดันชนิดนี้จะวัดค่าความดันโลหิตที่บริเวณข้อมือ โดยจะสามารถวัดค่าความดันออกมาได้ถึง 3 ค่า เป็นเครื่องมือที่วัดค่าความดันได้แม่นยำ ข้อดีคือมีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาง่าย ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปหรือคนสูงอายุก็สามารถใช้งานได้ ควรวัดความดันตอนไหน สำหรับเครื่องมือนี้สามารถวัดความดันได้ทุกช่วงเวลา
3.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบมือบีบ
เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีการทำงานแบบ manual หลักการทำงานคือใช้มือบีบไปที่ลูกยางเพื่อให้ปลอกแขนที่พันแขนนั้นพองขึ้นแล้วทำการวัดค่าความดัน หลังจากที่วัดค่าความดันเสร็จจะมีการแสดงผลไปบนสมาร์ทโฟนหรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์ ข้อดีคือสามารถพกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา
4.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท
เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบ manual ซึ่งจะมีอยู่ 4 ส่วนก็คือ ส่วนปรอทวัดค่าความดัน ส่วนปลอกแขนที่จะใช้รัดแขน ส่วนหูฟังไว้ฟังค่าความดัน และส่วนสุดท้ายคือส่วนลูกยางที่เอาไว้บีบ ข้อดีคือวัดค่าความดันโลหิตได้ค่อนข้างตรง ใช้งานไม่ยากเกินไปด้วย
5.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดแขน
เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นเครื่องวัดความดันแบบนี้ได้บ่อยๆในโรงพยาบาลหรืออนามัย ข้อดีของเครื่องวัดความดันชนิดนี้คือสามารถวัดค่าความดันได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถปริ้นค่าความดันออกมาเป็นกระดาษได้