เครื่องวัดสัญญาณชีพคือ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบสัญญาณชีพของผู้ป่วย ประเมินสภาพของผู้ป่วยและติดตามการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังถูกใช้เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงให้กับผู้ป่วย ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องวัดสัญญาณชีพ จะมีรูปร่างคล้ายกับโทรทัศน์ มีหน้าจอขนาดใหญ่ โดยในหน้าจอจะแสดงสัญญาณชีพของผู้ป่วย พร้อมทั้งแสดงค่าต่างๆในร่างกายของผู้ป่วย และในส่วนของตัวเครื่องก็จะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับผู้ป่วย ซึ่งอุปกรณ์จะแตกต่างกันไปตามรุ่นและตามยี่ห้อ แต่โดยส่วนใหญ่เครื่องวัดสัญญาณชีพประกอบไปด้วย ผ้าพันแขน,เทอร์โมมิเตอร์, Pulse oximeter และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
ในส่วนของการตรวจวัดค่าต่างๆของร่างกายโดยใช้ เครื่องวัดสัญญาณชีพ (vital sign monitor) เครื่องมือทางการแพทย์นี้สามารถตรวจวัดค่าต่างๆได้ดังนี้
- อัตราการเต้นของหัวใจ วัดได้โดยใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- ความดันโลหิต วัดได้โดยใช้ผ้าพันแขนที่พันรอบต้นแขน
- อัตราการหายใจ วัดได้โดยใช้เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของหน้าอก
- อุณหภูมิร่างกาย วัดได้โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ใส่ไว้ในปาก ใต้แขน หรือในทวารหนักของผู้
เครื่องวัดสัญญาณชีพเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่เหมาะกับการดูแลผู้ป่วยหลายประเภท ตั้งแต่ผู้ใหญ่ เด็ก และทารก โดยทั่วไปจะใช้ตรวจสอบผู้ป่วยในระหว่างกระบวนการทางการรักษาของแพทย์ เช่น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาจากแพทย์ นอกจากนี้เครื่องวัดสัญญาณชีพยังเหมาะกับผู้ป่วยที่เกิดเหตุฉุกเฉิน รวมไปถึงผู้ป่วยอาการป่วยเรื้อรังที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน ที่จำเป็นต้องติดตามสัญญาณชีพตลอดเวลา
ประโยชน์ของ เครื่องวัดสัญญาณชีพ
ในปัจจุบัน เครื่องตรวจสัญญาณชีพเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้วัดและแสดงสัญญาณชีพของผู้ป่วย ตั้งแต่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และอุณหภูมิ นอกจากนี้เครื่องวัดสัญญาณชีพยังมีประโยชน์มากมายดังต่อไปนี้
- ตรวจหาปัญหาสุขภาพได้ ครื่องวัดสัญญาณชีพ สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพของผู้ป่วย โดยสามารถบ่งชี้ถึงปัญหาทำให้ผู้ป่วยรู้ปัญหาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อรู้ปัญหาสุขภาพก็จะทำให้สามารถรักษาได้อย่างถูกวิธี และการรักษาก็จะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
- การเฝ้าติดตามสุขภาพผู้ป่วย โดยเครื่องวัดสัญญาณชีพมีประโยชน์ในการเฝ้าติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วย โดยสามารถติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทำการรักษาหรือดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ทำให้แพทย์ตัดสินใจในการรักษาได้ดีขึ้น เนื่องจากเครื่องวัดสัญญาณชีพ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดค่าต่างๆของร่างกายได้อย่างแม่นpe จึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถตัดสินใจในการรักษาได้ดีขึ้น เพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
- ช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ด้วยการที่เครื่องวัดสัญญาณชีพ เป็นเครื่องมือแพทย์ที่สามารถ ตรวจสอบสัญญาณชีพ และค่าต่างๆของร่างกายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จึงทำให้แพทย์สามารถช่วยปรับปรุงความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายที่ร้ายแรง
- ประหยัดเวลาในการทำงานของแพทย์ เครื่องวัดสัญญาณชีพ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือแพทย์ที่ช่วยประหยัดเวลา ในการรักษาผู้ป่วยได้ดีมากๆ เพราะเครื่องวัดสัญญาณชีพทำงานแบบอัตโนมัติ จึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์มุ่งเน้นไปที่รักษาด้านอื่นๆ หรือดูแลผู้ป่วยในด้านอื่นๆได้
- ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว ในปัจจุบันเครื่องวัดสัญญาณชีพถูกออกแบบมาให้มีขนาดที่พอดี มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน อุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่องและผู้ป่วยก็เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอึดอัด เมื่อต้องใช้เครื่องวัดสัญญาณชีพ
วิธีใช้งาน เครื่องตรวจสัญญาณชีพ และเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน
เครื่องวัดสัญญาณชีพ เป็นหนึ่งในเครื่องมือแพทย์ที่มีวิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนมากมายนัก เพียงแค่ศึกษาและทำการฝึกฝนการใช้งาน ก็จะสามารถใช้งานเครื่องมือนี้ในการวัดค่าต่างๆของร่างกายได้อย่างถูกต้อง สำหรับขั้นตอนการใช้งานเครื่องตรวจสอบสัญญาณชีพ มีดังต่อไปนี้
- จัดเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม โดยให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าที่สบายที่สุด และต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย อยู่ในภาวะที่สงบ
- วางตำแหน่งอุปกรณ์ ซึ่งตำแหน่งขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพสัญญาณชีพ โดยวางอุปกรณ์ของเครื่องมือที่ข้อมือ แขน นิ้ว หน้าอก หรือหน้าผากของผู้ป่วยตามคำแนะนำของตัวเครื่อง
- เปิดเครื่องวัดสัญญาณชีพ โดยส่วนใหญ่เครื่องวัดสัญญาณชีพจะมีสวิตช์เปิด/ปิด หรือปุ่มที่ต้องกดเพื่อเปิดเครื่อง จากนั้นรอให้เครื่องบูตและเข้าสู่โหมดการใช้งาน
- เลือกฟังก์ชันที่จะวัด โดยเครื่องวัดสัญญาณชีพส่วนใหญ่ จะมีตัวเลือกในการวัดที่หลากหลาย สามารถวัดสัญญาณชีพปกติ, อัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, อัตราการหายใจ และอุณหภูมิได้ ซึ่งในที่นี้ผู้ตรวจวัดสามารถเลือกฟังก์ชันที่เหมาะสมตามสิ่งที่ต้องการวัดได้
- รอการอ่านและวิเคราะห์ โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องวัดสัญญาณชีพจะใช้เวลา 2-3 วินาที ถึง 1 นาที ในการอ่านและบันทึกข้อมูล
- บันทึกการอ่าน ด้วยการจดหรือบันทึกการวัดในแผนภูมิหรือบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วย
- ปิดอุปกรณ์ หลังจากที่ใช้งานเครื่องตรวจวัดเสร็จแล้ว ให้ปิดเครื่องและทำความสะอาดตามคำแนะนำของผู้ผลิต
หาซื้อเครื่องวัดสัญญาณชีพ จากไหนดี พร้อมรับประกันสินค้า
สำหรับใครที่ต้องการหาซื้อเครื่องวัดสัญญาณชีพที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ มีการรับประกันสินค้าให้กับผู้ซื้อ สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ที่ Rakmor เว็บไซต์และร้านขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการยอมรับในระดับสากล โดยภายในร้านมีเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ได้เลือกซื้อมากมาย สำหรับเครื่องตรวจสัญญาณชีพที่ทางร้านมีให้ได้เลือกซื้อคือ เครื่องตรวจสัญญาณชีพ Riester รุ่น RVS-100 เครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้รับการออกแบบมาให้พกพาสะดวกและใช้งานง่าย เหมาะที่จะใช้ในสถานพยาบาล โรงพยาบาล คลินิก หรือแม้แต่ที่บ้าน
Rakmor มีขายเครื่องมือแพทย์ครบครัน กดคลิกเลย!!!