การใช้งาน หูฟังแพทย์ หรือ สเต็ทโตสโคป ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการตรวจหาความผิดปกติและวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยในเบื้องต้น ซึ่งหูฟังแพทย์นั้นจะมีหน้าที่ในการใช้ฟังเสียงอวัยวะภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ปอด ลำไส้ หลัง หรือแม้แต่บริเวณเส้นเลือด โดยในการใช้งานแพทย์จะต้องใส่หูฟัง แล้วนำส่วนที่ใช้รับเสียงไปแนบกับร่างกายตรงบริเวณที่ต้องการฟังเสียง จากนั้นแพทย์ก็จะทำการฟังเสียง เพื่อนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และประเมินอาการ รวมถึงประเมินความผิดปกติหรือความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป
หูฟังแพทย์ ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง?
ก่อนที่จะไปดูส่วนประกอบของหูฟังแพทย์ ( Stethscope ) ควรรู้ข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนว่า Stethscope คืออะไร ? RAKMOR สรุปข้อมูลไว้แล้ว 😊
1. หูฟัง
หูฟัง คือ ส่วนที่แพทย์ใช้ในการฟังเสียงที่ตรวจวัดได้จากร่างกายผู้ป่วย โดยแพทย์จะต้องนำส่วนนี้มาแนบไว้ที่บริเวณหูก่อน จึงจะสามารถฟังเสียงต่าง ๆ ได้ ซึ่งเสียงที่ผ่านเข้ามาในหูฟัง จะมาจากไดอะเฟรมที่เป็นส่วนรับเสียงจากร่างกายหรืออวัยวะต่าง ๆ แล้วส่งผ่านท่อนำเสียงขึ้นมายังหูฟัง
2. ท่อนำเสียง
ท่อนำเสียง คือ ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างหูฟังกับไดอะเฟรม และทำหน้าที่ในการนำส่งเสียงที่วัดได้จากไดอะเฟรมไปยังหูฟัง โดยท่อนำเสียงจะมีลักษณะเป็นท่อยางที่มีความยืดหยุ่น และส่วนปลายด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Y เพื่อเชื่อมต่อกับหูฟังแพทย์ทั้งสองข้าง ซึ่งขนาดของท่อนำเสียง ทั้งความยาว ความกว้าง และความหนาจะต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์ระดับสากล เพื่อให้ท่อสามารถนำเสียงได้อย่างชัดเจน
3. ไดอะเฟรม
ไดอะเฟรม คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับเสียงจากอวัยวะภายในต่าง ๆ แล้วส่งต่อไปตามท่อนำเสียงและเข้าสู่หูฟังแพทย์ โดยในการใช้งานจะต้องนำไดอะเฟรมไปแนบกับบริเวณที่ต้องการฟังเสียง และใช้หลักการรับเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนภายในอวัยวะ ซึ่งไดอะเฟรมหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ 2 ด้าน ก็คือ ด้านที่ใช้ฟังเสียงของปอด และด้านที่ใช้สำหรับฟังเสียงของหัวใจ โดยแต่ละด้านก็จะมีคุณสมบัติและใช้วัสดุที่แตกต่างกันไป
คลิกอ่านเพิ่มเติม : Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ที่มี 2 ด้าน คืออะไร ทั้ง 2 ด้าน ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
สเต็ทโตสโคป ทำมาจากอะไร?
เนื่องจากสเต็ทโตสโคป หรือหูฟังทางการแพทย์ นั้นมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน จึงส่งผลให้แต่ละส่วนมีการใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปด้วย แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือการใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน
โดยในส่วนของบริเวณที่เป็นหูฟัง จะทำมาจากวัสดุที่เป็นพลาสติกที่มีความนิ่มอย่างยางซิลิโคน เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องเข้าใส่เข้าไปในหู จึงต้องมีความนิ่ม เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บหูขณะใช้งาน
สำหรับวัสดุที่ใช้ทำท่อนำเสียง จะนิยมใช้วัสดุที่เป็นโลหะ โดยเฉพาะโลหะที่สามารถนำเสียงได้ดี เช่น สแตนเลส อลูมิเนียม หรือทองเหลืองชุบโครเมี่ยม
และสุดท้ายในส่วนที่เป็นไดอะแฟรม หรือแผ่นรับเสียง หากเป็นด้านที่ใช้ฟังเสียงปอดจะทำมาจากวัสดุที่เป็นไฟเบอร์กลาสหรือพลาสติก ส่วนด้านที่ใช้ฟังเสียงหัวใจจะทำมาจากยางซิลิโคนหรือโพลีไวนิลคลอไรด์
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 4 วิธีใช้หูฟังทางการแพทย์ หรือ หูฟังสเต็ทโตสโคป ( stethoscope ) เพื่อฟังเสียงปอดและหัวใจ !
วิธีการเลือกซื้อหูฟังแพทย์ หรือ สเต็ทโตสโคป ควรดูจากส่วนประกอบอะไรบ้าง
1.ควรเลือกหูฟังแพทย์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดี และเพื่อความแม่นยำในการฟังเสียง รวมถึงยังช่วยให้สามารถส่วมใส่ได้สบาย และมีความทนทานต่อการใช้งานอีกด้วย
2.เนื่องจากสเต็ทโตสโคปนั้นมีหลายรุ่น หลายแบรนด์ให้เลือกใช้งาน ดังนั้นจึงควรเลือกหูฟังแพทย์ที่มีราคาเหมาะสมกับงบประมาณ และตอบโจทย์การนำไปใช้งาน
3.ควรเลือกซื้อหูฟังทางการแพทย์จากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อ และควรซื้อแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้หูฟังแพทย์ที่มีคุณภาพและเป็นของแท้ สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการใช้หูฟังแพทย์นั้นถือเป็นขั้นตอนแรก ๆ เลยที่แพทย์ใช้ในการตรวจผู้ป่วย เพื่อเป็นการตรวจเช็กสภาพของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด หรือลำไส้ ฯลฯ ซึ่งอวัยวะเหล่านี้มักเป็นบริเวณที่พบความผิดปกติได้บ่อย และหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะเหล่านี้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหรืออาการอื่น ๆ ตามมาได้ง่าย ดังนั้นการใช้หูฟังแพทย์ฟังเสียงตามอวัยวะต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยได้
สำหรับท่านไหนที่ต้องการซื้อหูฟังทางการแพทย์แต่ไม่แน่ใจว่าควรเลือกซื้อแบบไหนดี ? ก็สามารถทักมาปรึกษากับร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ของเราได้เลยนะคะ เราพร้อมให้คำแนะนำเสมอ ☺️
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical