10 ท่าทาง การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ( Passive Exercise ) แบบที่ช่วยลดแผลกดทับ ทำตามแล้วมีโอกาสหายสูง

10 ท่าทาง การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเดียง ( Passive Exercise ) แบบที่ช่วยลดแผลกดทับ ทำตามแล้วมีโอกาสหายสูง

การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง

การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการดูแลและรักษาผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ จำเป็นจะต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงทำให้ผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อ กล้ามเนื้อฝ่อ โรคข้อเข่าเสื่อม และภาวะเครียดหรือซึมเศร้า เป็นต้น

ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ก็อาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดจึงช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการขยับและเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการนอนนิ่งๆ เป็นเวลานานได้

การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร

การทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงให้แข็งแรงขึ้น และลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการต้องนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน โดยการทำกายภาพบำบัดจะเป็นการทำเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการขยับร่างกายเล็กน้อย ด้วยการทำ Passive exercise ผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งจะเป็น ท่าออกกำลังกายผู้ป่วยติดเตียง ที่สามารถให้ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวทำได้เองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และไม่ต้องใช้แรงเยอะ จึงสามารถทำให้กับผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงได้เลย แต่ถึงอย่างนั้นก็จำเป็นต้องทำให้ถูกวิธี ทำอย่างระมัดระวัง และต้องอยู่ภายใต้ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงของแพทย์ด้วย

ผู้ป่วยติดเตียงที่ทำกายภาพบำบัด มีโอกาสหายไหม ?

ผู้ป่วยติดเตียงที่ทำกายภาพบำบัด มีโอกาสหายไหม ?

สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีการทำกายภาพบัดอย่างถูกวิธี และมีการทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็มีโอกาสที่จะหายกลับมาเป็นปกติได้ แต่ถึงอย่างนั้นอาการหรือความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยแต่ละรายเป็นก็จะมีความแตกต่างกัน และมีหลายระดับ ทั้งผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการไม่หนัก ไปจนถึงผู้ป่วยที่มีอาการหนักและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย

ดังนั้นรูปแบบและระยะเวลาในการทำกายภาพบำบัดของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน รวมถึงโอกาสในการหายก็ไม่เท่ากันด้วย โดยหากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก ก็จะมีโอกาสสูงที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หากมีการทำกายภาพบำบัดเป็นประจำ ก็มีโอกาสหายและอาการดีขึ้นได้ ซึ่งในบางรายก็อาจจะไม่ได้หายกลับมาเป็นปกติ 100% แต่ก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากขึ้น

แนะนำ 10 ท่าการทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง ทำง่าย ๆ ทำเองที่บ้านได้

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย จากนั้นผู้ดูแลใช้มือจับบริเวณข้อศอก และข้อมือของผู้ป่วยให้หงายขึ้น จากนั้นยกแขนผู้ป่วยขึ้นเหนือศรีษะให้สุดและขนานไปกับหู เมื่อเสร็จแล้วให้ค่อยๆ วางแขนผู้ป่วยกลับไว้ที่เดิม

2.ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยบริเวณข้อศอก แล้วกางแขนออกมาด้านข้าง จางนั้นค่อย ๆ ยกเหยียดแขนขึ้นไปใกล้ศรีษะ จากนั้นประคองแขนลงมาแนบข้างลำตัวตามเดิม

3.ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยกางออกมาและตั้งขึ้นประมาณ 90 องศา หลังจากนั้นให้ค่อยๆ ดันแขนผู้ป่วยขึ้น-ลงสลับกัน จากนั้นจึงนำแขนผู้ป่วยกลับมาวางไว้ที่ตำแหน่งเดิม

4.ให้ผู้ป่วยนอนหงายและวางแขนแนบกับลำตัว จากนั้นงอข้อศอกขึ้นให้มือผู้ป่วยถึงบริเวณไหล่ หลังจากนั้นค่อยๆ เหยียดแขนออกจนสุดช้าๆ

5.ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยให้ตั้งศอกขึ้น แล้วจึงใช้มือบิดหมุนข้อมือผู้ป่วยให้คว่ำและหงายสลับกันไปมา

6.ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยให้ตั้งศอกขึ้น หลังจากนั้นทำการดันข้อมือออกจากตัวให้อยู่ในท่าแบมือ จากนั้นให้ทำการดันข้อมือเข้าหาตัวผู้ป่วยพร้อมกับกำมือ

7.ท่านี้จะเป็นท่าสำหรับการกายภาพบำบัดขาท่าแรก ซึ่งจะให้ผู้ดูแลจับบริเวณข้อเท้าและหัวเข่าของผู้ป่วย จากนั้นค่อยๆ งอเข่าขึ้นเข้าหาตัวจนสุด หลังจากนั้นคลายออกและนำจับมาวางไว้ในท่าเดิม

8.ให้ผู้ดูแลจับบริเวณข้อเท้าและหัวเข่าของผู้ป่วย จากนั้นให้จับขากางออกไปทางด้านข้าง แล้วค่อยๆ นำกลับมาชิดกันเหมือนเดิม ทำสลับกันไปมาให้ครบสองข้าง เสร็จแล้วก็จัดให้ผู้ป่วยนอนตามเดิม

9.จับบริเวณข้อเท้าและหัวเข่าด้านบนของผู้ป่วย แล้วทำการยกขาขึ้นให้ทำมุมประมาณ 90 องศาหรือตั้งฉาก จากนั้นทำการหมุนขาเข้าด้านใน และหมุนออกด้านข้างสลับกัน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ประคองขามาไว้อยู่ในท่าเดิม

10.ให้ผู้ดูแลจับประคองขาของผู้ป่วยตรงบริเวณข้อเท้าและหน้าแข้ง จากนั้นให้ออกแรงดันข้อเท้าขึ้นและดันลงสลับกัน เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ค่อยๆ ประคองขาของผู้ป่วยวางลง และทำซ้ำเหมือนเดิมกับขาอีกข้าง

ท่าการทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียง

แม้ว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงจะเป็นการรักษาในระยะยาวที่ต้องใช้เวลานาน แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีบวกกับมี การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะหายและสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิม รวมถึงการทำกายภาพบำบัดก็ยังช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนิ่งเป็นเวลานานๆ ได้อีกด้วย

ซึ่งท่าการทำกายภาพบำบัดที่นำมาแนะนำทั้ง 10 ท่านี้ เป็นท่าที่สามารถทำได้ง่ายบนเตียงผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการทำ และเป็นท่าการทำกายภาพบำบัดแบบเบา ๆ ไม่ได้ใช้แรงมาก ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลสามารถทำให้กับผู้ป่วยได้เองที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงได้มีการขยับร่างกาย เพื่อออกกำลังกายและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และลดการติดขัดตามข้อต่อต่าง ๆ

แต่การทำกายภาพบำบัดบนเตียงผู้ป่วย ต้องคำนึงถึงโครงสร้างของเตียงผู้ป่วยด้วยว่ามีความแข็งแรงมาก-น้อยแค่ไหน ยังไงก็ตามการเลือกซื้อเตียงนอนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญมาก ก่อนจะเลือกซื้อต้องคำนึงถึงลักษณะอาการของผู้ป่วยให้ดี ว่าเหมาะกับเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า มากกว่ากัน

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

2 thoughts on “10 ท่าทาง การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ( Passive Exercise ) แบบที่ช่วยลดแผลกดทับ ทำตามแล้วมีโอกาสหายสูง

  1. อัครพล says:

    อาหารสำเร็จที่มีขายทั่วไปเพียงพอหรือไม่ ตัองเสร็มอะไรเพิ่มไหม ผู้ป่วยสูงอายุ

    • Rakmor Medical (Admin BossNook) says:

      เรียนคุณ : อัครพล

      การเสริมอาหารให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแต่ละบุคคล มีความต้องการสารอาหารไม่เท่ากันครับ ลูกค้าต้องนำอาหารสำเร็จที่ให้ผู้สูงอายุรับประทานอยู่ปัจจุบันไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำว่าต้องเสริมอาหารด้านใดเพิ่มเติมครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *