โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคือ?
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ โรคหนึ่งที่เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของสารสื่อประสาทจนทำให้เราไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อของเราได้อย่างปกติ จนทำให้ในที่สุดเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมจนไม่สามารถที่จะสั่งการได้นั่นเอง ไม่เพียงแต่กล้ามเนื้อเท่านั้นที่อ่อนแรง ในส่วนของการกลืน การพูดคุย หรือระบบหายใจเองก็จะไม่สามารถสั่งการหรือใช้งานได้เลยในที่สุด ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกต่อไป หากเริ่มสังเกตว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบชั่วคราวก็อย่าพึ่งนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์โดยทันที
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาหายไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ทางทีมแพทย์จะต้องประเมินอาการในแต่ละวัน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาได้ตามอาการและด้วยวิธีประคับประคองเท่านั้น ซึ่งวิธีการรักษาเบื้องต้นก็จะทำได้โดยการให้ยาเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ ให้ยารักษาตามอาการ เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การกลืนอาหารลำบากบางรายอาจต้องมีการเพิ่มการให้อาหารทางสายยางหรือบางรายไม่สามารถหายใจเองได้ทางแพทย์ต้องพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้เบื้องต้นญาติก็สามารถช่วยแพทย์ได้ด้วยการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อเป็นกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้
กล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเริ่มต้นมีอะไรบ้าง ?
ทุกคนคงเห็นและเข้าใจถึงความรุนแรงและความน่ากลัวของโรคนี้กันบ้างแล้ว แน่นอนว่าเราก็ไม่มีใครที่อยากเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างแน่นอน แต่เราจะมีวิธีสังเกตอาการเริ่มต้นของโรคนี้อย่างได้อย่างไร เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคนี้หรือสามารถที่จะรู้สาเหตุได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาการเบื้องต้นก็สามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้
- รู้สึกว่า ขา และ ขา ลีบหรือมีความอ่อนแรง
- รู้สึกว่าพูดสื่อสาร หรือ กลืนอาหารได้ลำบาก
- รู้สึกหายใจผิดปกติหรือทำได้ยากมากขึ้น
- มีอาการหนังตาตก หรือ มองเห็นเป็นภาพซ้อน
วิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ด้วยความที่โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ยังไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่นอนชัดเจนมากนั้น ในส่วนของการป้องกันจึงเป็นอะไรที่ไม่สามารถที่จะป้องกันได้เช่นเดียวกัน แต่แม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่เราก็ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – การทำสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมออย่างการออกกำลังกาย ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเท่านั้นยังสามารถป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีและโลหะหนัก – จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่ใกล้ชิดและสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานมีโอกาสในการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้มากกว่ากลุ่มคนทั่วไป ดังนั้นการที่เราหลีกที่ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นจึงเป็นการดีกับร่างกายของเรามากที่สุด
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ – นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์แล้วก็ควรที่จะต้องลดและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ ฯลฯ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ และทำให้ร่างกายอ่อนแอลงอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรค – แน่นอนว่าเชื้อโรคเป็นบ่อเกิดในการเกิดในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ นั่นหมายความ เราควรใส่ใจและดูแลสุขลักษณะให้ดีอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในกับผู้ป่วย
- ทำตัวเองให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ – ความเครียดถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของเราเสื่อมโทรม เราจึงควรควบคุมความเครียดอยู่เสมอ
อุปกรณ์เสริมสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยมีอะไรบ้าง
ถ้าหากมีคนใกล้ชิดมีอาการเริ่มต้นหรือป่วยเป็นโรคนี้อยู่ สิ่งที่สำคัญที่ผู้ดูแลจะต้องมองหาเลยก็คืออุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าโรคนี้เป็นโรคที่จะต้องรักษาตามอาการเท่านั้น เพราะในผู้ป่วยระบบประสาทจะค่อย ๆ อ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้เหมือนปกติ ดังนั้นอุปกรณ์เสริมเบื้องต้นควรมี เตียงผู้ป่วย หรือ รถเข็นสำหรับผู้ป่วย อย่างรถวีลแชร์ก็จะสามารถช่วยให้ผู้ดูแลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปนอกสถานที่ได้ โดยเราสามารถพกพารถเข็นผู้ป่วยไปได้ง่ายและช่วยให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลายและสบายตัวมากยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้งการมีอุปกรณ์เคลื่อนย้ายในลักษณะนี้ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสออกไปเปิดหูเปิดตาลดความเครียดในการนอนติดเตียง ซึ่งนั่นก็จะยิ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษามากยิ่งขึ้น
หากคุณหรือคนใกล้ชิดของคุณกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ อยากจะฝากให้ทุกคนอย่าพึ่งหมดกำลังใจและทางทีมงานก็อยากจะเป็นกำลังใจผู้ที่กำลังป่วยกับโรคนี้อยู่ด้วย เพราะกำลังใจเป็นยาที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นสามารถต่อสู้กับโรคได้ ส่วนเหล่าบรรดาผู้ดูแลก็ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงว่าเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจในมุมของผู้ป่วยและจะสามารถจัดหาวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม สุดท้ายนี้หากคุณและคนใกล้ชิดไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและอย่าลืมดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงและห่างใกล้โรคอยู่เสมอ
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical