ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภัยเงียบที่อันตรายต่อชีวิต เราไปดูกันว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดจากอะไร มีกี่แบบ อันตรายมากแค่ไหน การประเมินตรวจวินิจฉัย วิธีการรักษา รวมถึงอีกหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เรามีคำตอบ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA) คือ ความผิดปกติในการหายใจขณะที่นอนหลับ หรือเรียกว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบลง มาจากกายวิภาคของกล้ามเนื้อช่วงคอ หรือลิ้นหย่อนปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ส่งผลทำให้อากาศและออกซิเจน ไม่เข้าไปสู่ปอดและสมอง ระดับของออกซิเจนในร่างกายต่ำ มีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดจากอะไร
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ อากาศไม่สามารถไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ เป็นผลมาจากอวัยวะในระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น จมูก ช่องคอ หรือผนังคอหอย เป็นต้น ทำให้ระบบทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบลง เมื่อหายใจเกิดการสั่นสะเทือน กลายเป็นเสียงกรน หากการอุดกั้นเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์จะเกิดเป็นภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะนี้มีอันตรายมาก ไม่ควรปล่อยไว้นานต้องการได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

หยุดหายใจขณะหลับ อันตรายแค่ไหน
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการนั้นรุนแรงอันตรายมากกว่าที่คิด เสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ หรือมีผลข้างเคียงจากการนอนพักผ่อนไม่เพียงต่อ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ง่วงนอนตลอดเวลา มีปัญหาต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน อีกทั้งภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือกระทบต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น
ประเภทของภาวะหยุดใจขณะหลับ มีกี่แบบ
1.เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ (OSA)
ประเภทอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบได้มากที่สุด มาจากระบบทางเดินหายใจที่แคบลง
2.เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (CSA)
ประเภทความผิดปกติจากสมองส่วนกลาง เป็นประเภทที่พบได้น้อยที่สุด เกิดจากสมองส่วนกลางไม่สั่งการ กล้ามเนื้อในขณะนอนหลับ อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือผลจากการทานยาที่กระทบต่อสมองส่วนกลาง
3.ประเภทที่เกิดจากการผสม (Mixed Sleep Apnea)
ภาวะหยุดหายใจตอนนอน ประเภทแบบผสม เกิดขึ้นจากสาเหตุสมองส่วนกลางและการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจร่วมกัน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีวิธีรักษาอย่างไร
1.ควบคุมน้ำหนักตัว
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ส่งผลให้มีการหย่อนของกล้ามเนื้อช่วงลำคอ ดังนั้น ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อลดปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ
2.การเข้าผ่าตัด
นอนแล้วหยุดหายใจ รักษาอย่างไร รักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนด้วยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ที่มีอาการรุนแรง เป็นการผ่าตัดเอาส่วนเนื้อเยื่อที่หย่อนออก บริเวณลิ้นไก่และเพดาน บางรายมีปัญหาต่อมทอนซิลโตต้องผ่าตัดออกเพื่อให้ช่องทางเดินหายใจขยาย
3.ใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP
เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก ช่วยแก้ปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับช่วยเปิดขยายทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วยการเป่าลมผ่านทางท่อสายยาง เข้าสู่จมูก ทำให้ออกซิเจนไหลเข้าสู่ปอดได้สะดวกขึ้น ช่วยลดปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและการนอนกรนได้เป็นอย่างดี
4.รักษาที่ต้นเหตุ
รักษาปัญหาที่ต้นตอ หากพบว่าโรคร้ายที่คนไข้หรือผู้ป่วยเป็นอยู่นั้น ส่งผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ต้องรักษาที่โรคนั้นๆ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น
FAQs About Obstructive Sleep Apnea: OSA (โรคหยุดหายใจขณะหลับ)
การรักษาโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ด้วยการทำ Sleep Test เบิกประกันสังคมได้ แต่แพทย์ต้องวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องทดสอบการนอนหลับ และต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือข่ายของประกันสังคมหรือสถานพยาบาลที่ได้รับการยอมรับจากประกันสังคมเท่านั้น
เช็กว่าตัวเองมีอาการผิดปกติหรือไม่ สอบถามจากคนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา หรือบุตรที่นอนด้วยกัน หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพ ทดสอบการนอนหลับ sleep test โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยโรค
การป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ให้พยายามควบคุมน้ำหนัก กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เปลี่ยนท่านอน พยายามนอนหงาย ศีรษะต้องอยู่สูงกว่าลำตัว พักผ่อนให้เพียงพอ งดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น
นอนกรนเสียงดังมาก ตื่นด้วยอาการหอบเหนื่อย สำลักกลางดึก คนรอบข้างบอกว่ามีอาการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือง่วงหนักตอนกลางวัน ไม่สามารถควบคุมให้ตัวเองตื่นได้
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจต้องรักษาด้วยหลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อให้อาการดีขึ้น ใช้ชีวิตได้ปกติ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการ ระดับความรุนแรง และต้องพิจารณาโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจการนอนหลับ Sleep Test หากมีอาการหยุดหายใจตอนนอนมากกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง นับว่ามีอาการรุนแรงมาก ซึ่งมีความเสี่ยงที่อันตรายได้ถึงชีวิต ต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำการรักษาต่อไป
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อันตรายกว่าที่คิด โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับต้องรีบรักษาเร่งด่วน ยิ่งมีระดับความรุนแรงมาก ยิ่งอันตรายมาก การรักษาทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้เครื่อง CPAP เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก แก้อาการนอนกรนและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เครื่อง CPAP มีหลายประเภท ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งาน สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาเครื่องช่วยหายใจ ที่ Rakmor เรามีจำหน่าย ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ทุกชนิด ราคาประหยัด สินค้าแบรนด์ชั้นนำ มั่นใจประสิทธิภาพ การรับประกับคุณภาพ พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำ สามารถติดต่อเราได้ที่ Rakmor.com