โรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome ) คืออะไร มาทำความเข้าใจ โรคที่เป็นภัยเงียบของชาวออฟฟิศ

โรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome ) คืออะไร มาทำความเข้าใจ โรคที่เป็นภัยเงียบของชาวออฟฟิศ

โรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome ) นั้นถือว่าเป็นโรคยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนอย่างพนักงงานออฟฟิศเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในยุคนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องทำผ่านเทคโนโลยีกันเกือบจะทุกอย่าง  ทำให้ในปัจจุบันนี้จำนวนของพนักงานออฟฟิศอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ของคนที่ทำงานออฟฟิศนั้นจะมีอาการปวดตาม คอ ไหล่ หลัง กันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เนื่องจากต้องนั่งทำเอกสารทั้งวัน ตัดต่องาน วีดีโอ อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน 

หลายๆ คนคงสงสัยกันใช่ไหมล่ะว่า โรคออฟฟิศซินโดรมนั้น คืออะไร ? ในบทความนี้ก็จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคออฟฟิศซินโดรมให้มากขึ้น เช่น โรคออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร แอบบอกนิดนึงว่าวันนี้เรามีวิธีการป้องกัน และรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมาบอกด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยค่ะ

โรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome ) คืออะไร

โรคออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ที่มีการใช้งานจากกล้ามเนื้อมัดเดิมอยู่ซ้ำๆ กันในระยะเวลานานต่อเนื่องกัน รวมไปถึงอาจมีอาการปวด เหน็บ ชา ตามแขนขาได้อีกด้วย เนื่องจากมีการกดทับของปลายประสาท เมื่อมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายตามจุดต่างๆ จึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร

1.อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่เกิดจากการกล้ามเนื้อมัดเดิมอยู่ซ้ำ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

2.ท่าในการทำงาน การวางมือ ศอก ในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง

3.เกิดจากการบาดเจ็บซ้ำ ๆ กัน หรือมีระยะเวลาในการทำงานที่นานเกินไปจนทำให้เกิดการล้า

4.มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นลักษณะของโต๊ะและเก้าอี้ในการทำงานควรปรับให้สามารถนั่งในท่าที่สบายขึ้น หรือมีการปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหน้าจอ ให้มีความพอดีและอยู่ในระดับสายตาพอดี

โรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร

โรคออฟฟิศซินโดรม อันตรายไหม

โรคออฟฟิศซินโดรมก็มีลักษณะที่เหมือนกับอาการปวดกล้ามทั่วๆ ไปที่เหมือนจะไม่อันตรายต่อร่างกายใช่ไหมล่ะ ?

แต่จริงๆแล้วโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นเรียกว่า อันตรายมากๆ เลยก็ว่าได้

เพราะเมื่อปล่อยให้มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อไปในเวลานานๆ อาจจะกลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรัง ทำให้มีอาการปวดมากกว่าเดิม อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นๆอีกมาก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า ที่มาจากความเครียดความกดดันและบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน โรคกระดูกสันหลังคด โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคแขนขาอ่อนแรง รวมไปถึงอาจเป็นโรคไขมันในเลือดสูงเนื่องจากมีการทานขนมอาหารจุบจิบในเวลางาน อีกทั้งยังไม่มีเวลาออกกำลังกายทำให้เกิดการสะสมของไขมัน 

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม 

1.จะมีการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเป็นบริเวณกว้างที่ไม่สามารถบอกหรือระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน เช่น บริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก สามารถมีอาการปวดล้าได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปวดมาก อาจมีอักเสบของเส้นเอ็นที่บริเวณ ศอก นิ้วมือ ข้อมือ

2.อาจส่งผลต่อการเกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วยได้ เช่น มีอาการชา มึนงง วูบ เหน็บ ซีด เย็น ขนลุก เหงื่อออก หูอื้อ ตาพร่า ในบริเวณที่ปวดได้

3.อาจมีอาการการกดทับของปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชาของมือและแขน รวมถึงอาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายเนื่องจากมีการกดทับของเส้นประสาทนานเกินไป

วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

ในปัจจุบันนี้วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายวิธีมาก ๆ เช่น

  • การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยการรับประทานยา เพื่อให้เกิดการบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อ
  • การฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดและเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • การออกกำลังกายเพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ก็ควรจะมีการพักผ่อนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • การทำกายภาพบำบัด เช่น การเลเซอร์เพื่อรักษา การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า รวมไปถึงการประคบร้อนและการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงานมากขึ้น เช่น มีการปรับอิริยาบถต่างๆ ให้มีความถูกต้องมากขึ้น จะทำให้ลดโอกาสของการเกิดออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรังได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : Samitivej Hospitals

วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

1.ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

ควรมีการออกกำลังกายด้วยความสม่ำเสมอท่าที่เหมาะสมกับอาการ หรือขณะการใช้งานควรมีการยืนเพื่อยืดเส้นยืดสายถือเป็นการยืดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของร่างกายโดยตรง

2.ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมในการทำงานมากขึ้น เช่น มีการปรับโต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้สามารถนั่งได้ท่าที่สบายในการทำงาน ปรับหน้าจอของคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาพอดี ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีแสงสว่างที่พอดีไม่สว่างมากหรือน้อยเกินไป

3.เปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อนั่งทำงาน

เปลี่ยนพฤติกรรมในการในการทำงาน เช่น ควรมีการเดินยืดเส้นยืดสายเพื่อเป็นการยืดคลายกล้ามเนื้อ หรือควรเปลี่ยนอิรยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้เกิดการผ่อนคลายมากขึ้น

4.หมั่นพักสายตาจากการทำงานเป็นประจำ

เมื่อต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือเมื่อมีการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานานๆ ควรมีการพักสายตาอย่างน้อยทุกๆ 10 นาที เพื่อไม่ให้สายตาเกิดการอ่อนล้ามากเกินไป

5.หมั่นเข้าทำกายภาพบำบัดเมื่อเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรม

เมื่อเริ่มมีอาการปวดเมื่อยควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เช่น ทำการนวดเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยหรือควรได้รับการปวดอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ทำการฝั่งเข็ม เพื่อลดควาเสี่ยงที่เกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

จะเห็นได้ว่า โรคออฟฟิศซินโดรม นั้นหากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีการพักผ่อนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย รวมทั้งมีการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ท่านั่งในการทำงานให้มีความถูกต้อง ลุกขึ้นยืนหรือเดินเพื่อยืดกล้ามเนื้อบรรเทาเอาการเมื่อยต่างๆ ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมกับตัวเรามากขึ้น

นอกจากนี้ก็หวังว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมไม่มากก็น้อย  ยังไงก็แล้วแต่เมื่อมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็อย่าลืมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายกันด้วยนะคะ 😊

และใครก็ตามที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็อย่าลืมมอง ” ที่วัดความดันดิจิตอล ” ยี่ห้อดี ๆ สักยี่ห้อเอาไว้ตรวจเช็คค่าความดันเลือดกันด้วยล่ะ จะได้รู้ว่าค่าความดันของเรานั้นยังโอเค อยู่ในระดับปกติหรือไม่ ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อ เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ก็สามารถสอบถามข้อมูลกับ ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ RAKMOR ได้เลยนะคะ เราพร้อมให้คำแนะนำที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานเสมอ 🥰 

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *