เครื่องวัดความดันโลหิต สำคัญมากแค่ไหน? ทำไมสายรักสุขภาพต้องมี

เครื่องวัดความดันโลหิต

ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่ทุกคนคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว “เครื่องวัดความดันโลหิต” นั้นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สามารถช่วยประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้นได้ บางคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้วการวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งที่สมควรกระทำทุกวัน เพราะหากตรวจพบความผิดใดๆก็จะได้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษากันอย่างทันท่วงทีนั่นเอง สำหรับใครที่สนใจจะซื้อเครื่องวัดความดัน ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักอุปกรณ์ชิ้นนี้กันให้มากขึ้น พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันให้ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด

บทความน่าสนใจ : อันตราย! น้ำเข้าหู สิ่งที่ไม่ควรทำและมีวิธีรักษาเมื่อน้ำเข้าหูได้ยังไง

เครื่องวัดความดันโลหิต คืออะไร

                เครื่องวัดความดันโลหิต คือ เครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิตหรือค่าความดันของกระแสเลือดภายในหลอดเลือดแดง ค่าความดันจะมีอยู่ 2 ตัวได้แก่ค่าความดันตัวบนซึ่งจะได้ในขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดและค่าความดันตัวล่างที่จะได้เมื่อหัวใจคลายตัว โดยทั่วไปแล้วเครื่องวัดความดันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. เครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติ แบ่งแยกย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภท คือ
  • เครื่องวัดความดันแบบดิจิตัล เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย แสดงผลได้ค่อนข้างแม่นยำ เครื่องจะมีสายรัดแขนซึ่งเมื่อจะใช้งานก็แค่เพียงพันสายรัดที่แขนแล้วกดปุ่มให้เครื่องทำงานเท่านั้น เครื่องจะใช้เวลาวัดไม่นานมากนักและแสดงผลทางหน้าจอ ราคาไม่แพง เด็กหรือผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้สบาย
  • เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน มีการวัดผลที่แม่นยำกว่าเครื่องวัดความดันดิจิตัล เครื่องมีขนาดใหญ่ เมื่อจะใช้งานต้องสอดแขนเข้าไปในเครื่องด้วยท่าทางที่ถูกต้อง แต่ด้วยความแม่นยำและระบบการทำงานของเครื่องทำให้เครื่องวัดความดันประเภทนี้มีราคาสูงและนิยมใช้กันในโรงพยาบาลเท่านั้น
  1. เครื่องวัดความดันแบบแมนนวล สามารถวัดค่าความดันได้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกัน แต่ต้องสูบลมไปยังผ้าพันแขนด้วยมือ ทำให้การใช้งานซับซ้อนมากกว่าเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ จึงเหมาะสำหรับใช้งานตามสถานพยาบาลมากกว่าใช้ที่บ้าน เครื่องวัดความดันประเภทนี้แบ่งออกได้ 2 ชนิด ดังนี้
  • เครื่องวัดความดันแบบปรอท ลักษณะเด่นคือเครื่องจะมีแท่งปรอทเอาไว้สำหรับอ่านค่าความดัน มีผ้าพันแขนและลูกยางสำหรับบีบลม เมื่อใช้งานก็ต้องบีบลมไปยังผ้าพันแขนให้โป่งพองเต็มที่แล้วอ่านค่าความดันจากปรอท แสดงผลได้แม่นยำ แต่การใช้งานซับซ้อนเล็กน้อยและเครื่องวัดต้องวางบนพื้นราบเท่านั้น
  • เครื่องวัดความดันแบบเข็ม เครื่องมีหน้าปัดสำหรับแสดงค่า ผ้าพันแขน ลูกยางบีบลมและบางรุ่นอาจมีหูฟังสำหรับฟังเสียงความดันด้วย เมื่อใช้งานต้องบีบลมไปยังผ้าพันแขนเช่นเดียวกัน จากนั้นค่อยดูผลบนหน้าปัด ใช้วัดได้ทั้งบริเวณข้อมือและแขน วัดค่าได้แม่นยำ ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบาและราคาไม่แพง แต่การใช้งานซับซ้อน ไม่เหมาะสำหรับซื้อมาใช้ที่บ้าน

หากใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ค่าวัดควรอยู่ที่เท่าไหร่

                เมื่อต้องวัดความดันโลหิต หลายคนคงสงสัยว่าค่าวัดความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ซึ่งก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าในแต่ละช่วงอายุจะมีระดับความดันปกติที่ไม่เท่ากัน ดังนี้

  • อายุต่ำกว่า 3 ปี : ความดันไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
  • อายุระหว่าง 3-6 ปี : ความดันไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
  • อายุระหว่าง 7-17 ปี : ความดันไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • อายุตั้งแต่ 18-60 ปี : ความดันไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป : ความดันไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท

การที่มีความดันสูงหรือต่ำกว่าค่าความดันปกติสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ความเหนื่อยล้า สภาพอากาศ การใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบผิดวิธี เป็นต้น แต่ถ้าไม่มีปัจจัยภายนอกอย่างอื่น ค่าความดันที่ผิดปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ในกรณีที่ความดันต่ำ อาจจะมีอาการหน้ามืด ตาลาย หูอื้อ วิงเวียนศีรษะ มือเท้าเย็น เป็นลม เป็นต้น แต่ถ้าความดันสูงกว่าปกติจะมีอันตรายมากกว่า หากความดันสูงมากก็จะมีความเสี่ยงที่เส้นเลือดในสมองจะแตก อาจเป็นอัมพฤกษ์ อมพาตหรืออาจถึงแก่ชีวิตกันได้เลยทีเดียว เมื่อความดันต่ำหรือสูงผิดปกติมักจะมีอาการใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คนไข้หลายรายทราบว่าตัวเองป่วยก็ต่อเมื่ออาการหนักแล้ว อาจจะหกล้มหรือเส้นเลือดในสมองแตกไปแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเสียชีวิตจึงมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากมายในแต่ละปี แต่ถ้ามีเครื่องวัดความดันโลหิต ก็จะช่วยให้รู้เท่าทันโรคภัยเหล่านี้มากขึ้นนั่นเอง

ทำไมถึงหมั่นใช้เครื่องวัดความดันโลหิตบ่อยๆ

                ในผู้ที่อายุยังน้อยอาจไม่จำเป็นต้องวัดความดันโลหิตเป็นประจำ แต่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45-50 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นควรเริ่มตรวจความดันโลหิต ส่วนในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งควรตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากความดันมีความเปลี่ยนแปลงกะทันหันจะได้พาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ในประเทศไทยมีคนวัยกลางคนมากมายที่ไม่เคยรู้ตัวเองว่ากำลังป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง แม้จะปวดศีรษะอยู่บ้างแต่อาจคิดว่าแค่เจ็บป่วยธรรมดา หลายคนกว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็เส้นเลือดในสมองแตกไปแล้ว กว่าจะได้รับการรักษาตัวก็อาการหนักมากแล้ว ยิ่งรู้ช้าโอกาสเสียชีวิตยิ่งสูง การวัดความดันโลหิตจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก บ้านไหนที่มีสมาชิกเป็นผู้ป่วย ผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีอายุ 45-50 ปีขึ้นแนะนำให้ซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านเอาไว้จะช่วยให้อุ่นใจมากกว่า

บทความน่าสนใจ : เสียงกระดูกดังก๊อบแก๊บ เสียงข้อต่อดัง เสี่ยงเป็นโรคข้อต่อเสื่อมหรือไม่

การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต ควรสังเกตอะไรบ้าง

  • ประเภทของเครื่องวัดความดันโลหิต หากจะซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้งานที่บ้าน ควรเลือกรุ่นที่มีการใช้งานไม่ซับซ้อน แม้จะเป็นผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้ ดังนั้นประเภทที่เหมาะสมมากที่สุดควรจะเป็นเครื่องวัดความดันอัตโนมัติแบบดิจิตัล ทั้งนี้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขนจะสามารถวัดได้แม่นยำมากกว่าเครื่องที่วัดบริเวณข้อมือ
  • เลือกตามลักษณะการใช้พลังงาน เครื่องวัดความดันไฟฟ้าจะใช้งานง่าย แต่เสียบปลั๊กก็ใช้งานได้ทันที ระบบมีการทำงานที่เสถียรเพราะไม่ต้องกลัวถ่านหมด แต่อาจไม่สะดวกมากนักหากต้องพกพาไปใช้งานนอกบ้าน ดังนั้นหากเน้นใช้งานแบบพกพาควรเลือกซื้อแบบที่ใช้ถ่านจะดีกว่า หรือหากไม่ติดขัดเรื่องงบประมาณก็เลือกซื้อเครื่องวัดความดันที่สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและถ่านในเครื่องเดียวกันได้เลย
  • มาตรฐานเครื่องวัดความดัน เลือกซื้อยี่ห้อที่มีสัญลักษณ์ CE (European Conformity) หรือ UL (Underwriters’ Laboratories) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่การันตรีมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป หรือในกรณีที่เป็นเครื่องแบรนด์ไทยก็สังเกตที่สัญลักษณ์ มอก. ได้เลย
  • ฟังก์ชันการทำงาน เลือกซื้อเครื่องวัดความดันที่มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากที่สุด ซึ่งเครื่องวัดความดันที่ดีนอกจากจะวัดค่าความดันได้แล้วควรบอกค่าเฉลี่ยความดันได้และมีระบบบันทึกข้อมูลย้อนหลัง ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสังเกตตัวเองนั่นเอง
  • ขนาดผ้าพันแขน ผ้าพันแขนที่ไม่พอดี พันแล้วหลวมจนเกินไปอาจทำให้การวัดความดันแสดงผลคลาดเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันที่มีผ้าพันแขนยาวประมาณ 20-32 เซนติเมตร กว้างอย่างน้อย 40% ของขนาดต้นแขน จึงจะมีความเหมาะสมต่อการใช้งาน

สรุปได้ว่าเครื่องวัดความดันโลหิตเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุประมาณ 45-50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่ีโรคประจำตัวและผู้สูงอายุ เพราะแม้ความดันโลหิตต่ำจะไม่อันตรายมากนัก แต่การป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นอันตรายกว่ามากและคนทุกคนมีความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ เพราะฉะนั้นการมีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านเอาไว้จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้นั่นเอง

——- 

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *