ไม่ว่าจะลุกเดิน ลุกนั่ง บิดหลังกระดูกดัง ขยับตัวแต่ละครั้ง กระดูกดังก๊อบแก๊บขึ้นมาทันทียิ่งเมื่อเริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีอาการกระดูกดังก๊อบแก๊บทั้งตัว ทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าอาการเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ หรือจะเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อเสื่อม วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก ก่อนอื่นเราไปดูสาเหตุของการเกิดเสียงดังก๊อบแก๊บของกระดูกกันก่อนเลยดีกว่า
เสียงกระดูกดังก๊อบแก๊บเกิดจากอะไร
กระดูกเสียงดัง โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนท่า หรือเวลาที่เราขยับตัว บิดตัว หรือแม้แต่เวลาเดินเสียงกระดูกดังได้เช่นกัน บางคนเมื่อมีการบิดตัวเมื่อมีการเปลี่ยนท่าก็จะทำให้กระดูกหลังดังก๊อบแก๊บได้ ซึ่งการดังของกระดูกส่วนต่าง ๆ ในร่างกายด้วยสาเหตุดังกล่าวนั้นมักจะไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย หากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวด บวม เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวร่วมด้วยควรพบแพทย์ทันที
เสี่ยงแค่ไหน ถ้ากระดูกดังก๊อบแก๊บ บ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคข้อต่อเสื่อม
หากเมื่อไหร่ที่คุณสังเกตตนเองว่ามีเสียง กระดูกดังกึกๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณไหนของร่างกายก็ตาม ให้คุณสังเกตอาการร่วมด้วยก่อนเลย เช่น มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณ กระดูกดัง และมีเสียง กระดูกดังก๊อบแก๊บ บ่อย ๆ นั่นหมายความว่าคุณอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ แต่จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การมีน้ำหนักตัวที่หนัก การนั่งอยู่กับที่ในท่าเดิมนาน ๆ เป็นต้น หากเป็นแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมได้สูงมาก
วิธีรักษากระดูกมีเสียงดัง
กระดูกเสียงดัง หรือ ข้อกระดูกดัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากใครที่เกิดอาการ กระดูกดังก๊อบแก๊บสามารถรักษาได้ด้วยแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งยอง ๆ คุกเข่า หรือแม้แต่การนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศนาน ๆ เพราะการอยู่ในท่าที่ต้องงอเข่าเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการตึง และน้ำในเข่าแห้ง ส่งผลให้เกิดเสียงในกระดูกดัง และอาจเกิดอาการปวดข้อตามมาได้ เพราะฉะนั้นควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เดินบ่อย ๆ จะช่วยรักษาอาการกระดูกมีเสียงดังได้
- เลือกทานอากการเสริม ที่ช่วยในเรื่องของข้อโดยตรง เพราะหากจำเป็นที่จะต้องอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคข้อเสื่อมได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การทานอาหารเสริมสามารถช่วยรักษากระดูกมีเสียงได้ และยังช่วยเสริมให้กระดูกแข็งแรงอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด อย่างเช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์แบบฉีดเพื่อลดการอักเสบของข้อ และหากใครที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน ๆ จะยิ่งทำให้ข้อเสื่อมเร็วมาก ทั้งยังทำให้กระดูกบางลงได้ด้วย จนนำไปสู่ปัญหากระดูกเปราะได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรลดการใช้ยาประเภทนี้จะช่วยรักษากระดูกให้แข็งแรง และไม่ทำให้กระดูกเสียงดังก๊อบแก๊บได้ด้วย
- ควบคุมน้ำหนัก เพราะน้ำหนักก็มีผลต่อข้อกระดูกของร่างกายด้วย เพราะยิ่งมีน้ำหนักมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เกิดเสียงดังก๊อบแก๊บในกระดูกได้ง่าย ดังนั้นการรักษาไม่ให้เกิดเสียงดังก๊อบแก๊บในกระดูกก็คือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในปริมาณที่พอดี
ดูแลกระดูกให้แข็งแรง ห่างไกลโรคกระดูกและข้อต่อเสื่อม
เมื่อเริ่มมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกและข้อเสื่อม ดังนั้นเพื่อการมีกระดูกที่แข็งแรงและมีสุขภาพที่แข็งแรง และเพื่อไม่ให้ ข้อกระดูกดัง หรือ กระดูกเสียงดัง บ่อย ๆ ควรดูแลกระดูกให้ดี ด้วยวิธีดังนี้
1.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
แคลเซียมถือเป็นสารอาหารสำคัญต่อกระดูกเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อเสื่อม หรือเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เช่น ผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 1000 มิลลิกรัม หรืออายุมากกว่า 50 ปีควรได้รับ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยสามารถหาได้จากอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นม ชีส งาดำ ถั่วแดง เป็นต้น หรือการทานอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน
2.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกไม่ว่าจะเป็นข้อเสื่อม กระดูกเสียงดังก๊อบแก๊บ หรือแม้แต่โรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ ชา กาแฟ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ลดลง และที่สำคัญก็คือลดการใช้ยาสเตียรอยด์ และยาลูกกลอน เพราะจะยิ่งทำให้กระดูกเปราะบางได้ง่าย
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดข้อกระดูกเสียงดังบ่อย ๆ ควรดูแลตนเองให้ดี ด้วยการอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ไม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ควรเดินบ่อย ๆ และไม่ควรบิดตัวแรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับกระดูก ควรหมั่นดูแลสุขภาพตนเองและกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ๆ หรือก่อนช่วยวัยอายุ 30 ปี และควรเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมไม่ควรหักโหมจนเกินไป ที่สำคัญควรทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนั่นเอง