เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ๆ เพราะเป็นเครื่องมือแพทย์ที่เอาไว้ใช้วัดค่าออกซิเจนในเลือด เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องตรวจวัดค่าออกซิเจนในร่างกายเป็นประจำ ในบทความนี้ Rakmor จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักที่วัดออกซิเจนปลายนิ้วกันให้มากขึ้นว่า เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว คืออะไร มีหลักการทำงานในการวัดค่าอย่างไรบ้าง ไปอ่านข้อมูลกันเลย
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว คืออะไร
เป็นที่รู้กันดีว่าประโยชน์เครื่องออกซิเจนปลายนิ้วนั้นมีประโยชน์มากมาย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว คือ เครื่องมือในการตรวจปริมาณของออกซิเจน เพื่อวัดว่าออกซิเจนภายในเลือดของแต่ละบุคคลนั้นมีค่าเท่าไรบ้าง ซึ่งมีกลุ่มคนและผู้ป่วยหลากหลายประเภทที่จะต้องใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้วเหมาะสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ไม่สามารถลุกขึ้นไปตรวจวัดได้ รวมถึงผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องวัดค่าออกซิเจนอย่างเป็นประจำ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การใช้งาน เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วดีไหม ส่งผลดีต่อการตรวจวัดอย่างไรบ้าง
ศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนการวัดออกซิเจนในเลือด
ก่อนลงมือวัดค่าออกซิเจน อยากให้ลองทำความเข้าใจกับศัพท์ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการวัดค่าออกซิเจนในเลือดกันสักนิดค่ะ
- ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) : ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำส่งออกซิเจนไปที่เซลล์ รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย
- ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) : ฮีโมโกลบินที่จับตัวกับออกซิเจนภายในเลือด
- ดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) : ฮีโมโกลบินที่ไม่ได้จับตัวกับออกซิเจนภายในเลือด
หลักการทำงานเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
การวัดค่าออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว นั้นสามารถวัดได้ทั้งหมด 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1.การตรวจสอบและการแยกฮีโมโกลบินที่จับ-ไม่จับกับออกซิเจน
2.การตรวจสอบและจับออกซีฮีโมโกลบินที่อยู่ในเส้นเลือดแดง
การแยกฮีโมโกลบินที่จับและไม่จับกับออกซิเจนนั้นจะใช้แสงในการแยก ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “Light Absorption” โดยเป็นกระบวนการที่นำแสงฉายลงไปที่อุปกรณ์ เพื่อให้ตัวฮีโมโกลบินสามารถจับและดูดแสงไป ทำให้สามารถคัดแยกได้ว่าฮีโมโกลบินที่ตรวจจับได้นั้นเป็นชนิดที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งที่ต้องการส่วนใหญ่มักจะเป็น “Oxyhemoglobin” หรือ ฮีโมโกลบินที่จับตัวอยู่ในออกซิเจนนั่นเอง โดยแสงที่จะใช้ในการคัดแยกชนิดของฮีโมโกลบินนั้นจะเป็นแสงชนิดที่แตกต่างกัน ต้องเป็นแสงเฉพาะประเภทที่ฮีโมโกลบินแต่ละชนิดสามารถดูดซับได้เท่านั้น
ถ้าสังเกตที่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ตัวเครื่องจะมีด้านบนและด้านล่าง เวลาต้องการจะใช้ก็นำมาหนีบที่ปลายนิ้วทั้งด้านบนและล่าง ซึ่งด้านบนนั้นมีช่องสำหรับการปล่อยแสงเพื่อแยกประเภทฮีโมโกลบิน นอกจากนี้แล้วลำแสงก็ยังส่องทะลุลงไปถึงด้านล่างของเครื่องมือได้อีกด้วย ส่วนฮีโมโกลบินประเภทที่ไม่สามารถดูดซับแสงประเภทนั้นได้ ก็จะทะลุแสงไปนั่นเอง
เมื่อได้ค่าออกซิเจนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำมาคำนวณเพื่อหาค่าความเข้มข้นของออกซิเจนภายในเลือด โดยใช้ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่จับตัวในออกซิเจน และดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่ปล่อยหรือไม่ได้จับตัวกับออกซิเจนนั่นเอง
สูตรคำนวณ = O2 Saturation from Fingertip Pulse Oximeter (SpO2) = Oxyhemoglobin/(Oxyhemoglobin + Deoxyhemoglobin) x 100
เมื่อได้ทราบประเภทของออกซิเจน ค่าออกซิเจน และค่าความเข้มข้นของออกซิเจนเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลตรงนี้จะปรากฏเป็นค่าออกซิเจนในเลือด ซึ่งบนหน้าจอแสดงผลของเครื่องวัดนั้นก็จะแสดงผลเป็นจำนวนออกซิเจนทั้งหมดที่อยู่ภายในเลือดของผู้ป่วย ทำให้ทางบุคลากรทางการแพทย์สามารถทราบผลการตรวจวัดได้ทันที แถมยังมีความแม่นยำสูงอีกด้วย
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียบร้อยแล้ว กระบวนการสุดท้ายในการหาค่าและประมวลผลออกซิเจนในเลือด ของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ก็คือ การแยกออกซิเจนที่มาจากเลือดในช่องทางที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบว่าที่มาของออกซิเจนนั้น แต่ละแหล่งที่มาจะมีปริมาณออกซิเจนเท่าไร มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งจะใช้วิธีในการตรวจออกซิเจนในเลือดที่เหมือนกับวิธีการที่กล่าวไปข้างต้น
การวัดค่าเส้นเลือดแดง (Artirial Blood) และ เส้นเลือดดำ (Vernous Blood)
ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การวัดค่า Artirial Blood ซึ่งค่าตัวนี้เป็นการวัดปริมาณของเลือดทั้งหมดที่อยู่ในเส้นเลือดแดง และค่า Vernous Blood หรือการวัดปริมาณเลือดทั้งหมดที่อยู่ในเส้นเลือดดำนั่นเอง ซึ่งความแตกต่างของการหาออกซิเจนในเลือด และการวัดปริมาณของเลือดในเส้นเลือดทั้งหมดนั้น ก็คือ การเปรียบเทียบระยะเวลาการเต้นของชีพจรนั่นเอง
การวัดค่า Artirial Blood และ Vernous Blood นั้น ใช้วิธีการเปรียบเทียบระยะเวลาในการเต้นของชีพจร แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังวัดระยะเวลาระหว่างจังหวะเวลาที่ความแรงของชีพจรนั้นอยู่ในระดับสูงสุด และวัดระยะเวลาระหว่างจังหวะเวลาที่ความแรงของชีพจรนั้นอยู่ในระดับต่ำสุดด้วย จากนั้นก็นำตัวเลขที่แสดงค่าความแรงของชีพจรทั้งสองค่านั้นมาคำนวณเพื่อหาค่าออกซิเจนในเลือดเป็นรูปแบบเปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งได้ค่าการเต้นของชีพจรเป็นจำนวนครั้งต่อนาทีด้วย
การทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว นั้นถือว่าได้รับความนิยมมาก ๆ ในสถานพยาบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์จะนำที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไปหนีบที่ปลายนิ้วของผู้ป่วยแล้วให้ตัวเครื่องทำงาน ข้อมูลทั้งหมดหลังจากการประมวลผลก็จะแสดงผลมายังหน้าจอ เพื่อแสดงค่าออกซิเจนในเลือด และแสดงอัตราการเต้นของชีพจร ทำให้สามารถตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดให้กับผู้ป่วยได้อย่างสะดวกสบาย แถมยังมีความแม่นยำอีกด้วย
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical