ต้องรู้! เบาหวานลงเท้า ปล่อยไว้ ไม่ระวังให้ดี เสี่ยงต่อสุขภาพชีวิต

เบาหวานลงเท้า

โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคร้ายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเรื้อรัง รวมไปถึงคนที่มีภาวะการติดเชื้อ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทที่ปลายมือและเท้าสูญเสียความรู้สึกจนเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ยิ่งถ้าหากว่าเป็นเบาหวานลงเท้าแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี มีการเกิดแผลหรือมีภาวะติดเชื้อร่วมด้วย จะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น จนอาจจะต้องมีการตัดขาทิ้งในที่สุด ด้วยเหตุผลนี้เองที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องดูแลรักษาตัวให้ดี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ หากมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ

เบาหวานลงเท้า

เบาหวานลงเท้า คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน เป็นภาวะพบได้บ่อยในคนที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีพอ คนเหล่านี้จะมีความผิดปกติของเส้นประสาทบริเวณปลายเท้า โดยจะรับรู้ความรู้สึก เจ็บ ร้อน เย็น ได้น้อยลงเรื่อยๆ บางคนอาจจะไม่รู้สึกอะไร เมื่อเกิดบาดแผลที่เท้าก็ยังไม่รู้สึกเจ็บหรือปวด แต่เมื่อเกิดแผลขึ้นมาแล้ว แผลจะหายช้า หากติดเชื้อ หากรุนแรงจนเกินควบคุมก็มีโอกาสสูงที่จะต้องตัดขา เพื่อไม่ให้เชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายและเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เบาหวานขึ้นตา ไม่ดูแลให้ดีเสี่ยงถึงขั้นตาบอด
สาเหตุเบาหวานลงเท้า

สาเหตุที่ทำให้เป็น เบาหวานลงเท้า

  1. ภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน เป็นภาวะที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ทำให้เบาหวานลงเท้า
  2. ภาวะช็อก เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมากหรือลดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งการจะรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่เท่าไหร่ สามารถตรวจได้จากที่ตรวจน้ำตาล
  3. ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน เกิดขึ้นร่วมกันกับภาวะเลือดเป็นกรด
  4. ภาวะเบาหวานเรื้อรัง รวมไปถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดี ทำให้หลอดเลือดแดงและระบบประสาทเสื่อมสภาพ
  5. เส้นเลือดแดงตีบหรือเกิดการอักเสบ โดยผลที่ตามมาคือเส้นเลือดเปราะ ฉีกขาดง่าย ส่งผลให้เลือดถูกส่งมาเลี้ยงที่เท้าไม่เต็มที่ จึงทำให้เกิดภาวะเบาหวานลงเท้า
  6. เกิดจากระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมสภาพ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเบาหวานลงเท้า โดยผู้ป่วยจะรับความรู้สึกได้น้อยลง โดยเฉพาะที่บริเวณปลายเท้า

คนเป็น เบาหวานลงเท้า มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร

เบาหวานลงเท้าอาการที่มักจะพบเห็นได้บ่อยๆคืออาการชาเท้า โดยจะรู้สึกชาหรือเป็นเหน็บเริ่มจากบริเวณปลายนิ้วเท้าขึ้นไปยังหลังเท้า ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่เท้าทั้งสองข้างพร้อมๆกัน นอกจากจะมีอาการชาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยหลายคนก็จะเกิดอาการปวดแบบแปล๊บๆ เหมือนกับการถูกไฟช็อตที่เท้า สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นเบาหวานลงเท้า จะรู้สึกร้อนที่เท้า รู้สึกวูบวาบ ปวดแสบปวดร้อน ในผู้ป่วยบางราย เท้าจะเริ่มเปลี่ยนสี เริ่มจากซีดบริเวณหลังเท้าจากนั้นจะคล้ำไปเรื่อยๆจนสามารถสังเกตได้ง่าย ในส่วนของอาการของผู้ป่วยเบาหวานลงเท้าที่สามารถสังเกตได้ง่ายอีกอย่างก็คือผิวหนังบริเวณเท้าเริ่มแข็ง เกิดตาปลาขึ้น บางรายมีอาการเท้าผิดรูป ผิดรูปไปในลักษณะต่างๆ อาจจะนิ้วเท้างอหรือเท้าผิดรูปไปจนสามารถสังเกตเห็นกระดูกโปนขึ้นมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ควรรู้! ไตวายจากเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่คุณอาจยังไม่รู้
วิธีรักษาเบาหวานลงเท้า

วิธีรักษาและป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวานลงเท้า

1.ตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพราะการตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดจะทำให้รู้ว่าระดับน้ำตาลตอนนี้อยู่ในระดับไหน มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไร โดยผู้ป่วยสามารถทำการตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดได้จากเครื่องวัดน้ำตาล

2.ความสะอาดเท้าทุกวัน สำหรับการทำความสะอาดเท้าในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ควรใช้น้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิปกติในการล้างเท้า ไม่ควรใช้น้ำร้อน และไม่ควรแช่เท้าเอาไว้ เพราะอาจจะเกิดการพุพองและทำให้เกิดเป็นแผลขึ้นมาได้ ในระหว่างล้างเท้าให้ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์บางเบาถูไปที่เท้า ถูทุกซอกทุกนิ้ว ทำเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและนอน จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาด 

3.หากผิวแห้ง ให้ทาครีมบำรุงเท้า เป็นวิธีรักษาและป้องกันเบาหวานลงเท้า โดยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเท้าอยู่ตลอดเวลา เพราะเมื่อผิวหนังที่บริเวณเท้ามีความชุ่มชื้น อาการผิวแห้งก็จะลดลง ไม่เพียงเท่านั้นการทาครีมอย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นแผลที่เท้า แต่การทาครีมบำรุงเท้าก็มีข้อควรระวังอยู่คือห้ามทาบริเวณซอกนิ้ว เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความอับชื้นและส่งผลเสียต่อเท้าตามมา

4.ใส่ถุงเท้าสม่ำเสมอ การสวมถุงเท้าจะทำให้ช่วยลดการเสียดสี ไม่ว่าจะเป็นการเดินในบ้านหรือเดินไปในที่ต่างๆ ทำให้ไม่เกิดแผล อีกทั้งยังช่วยป้องกันเศษหินเศษดินต่างๆที่จะทำให้บาดแผลที่เท้าได้ แต่ก่อนที่จะใส่ถุงเท้าและรองเท้าทุกครั้ง ให้ตรวจสอบดูว่าในถุงเท้าและรองเท้ามีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่จะทำให้เกิดบาดแผลอยู่หรือไม่ หากว่ามีให้นำออกก่อน ค่อยใส่ถุงเท้าและรองเท้าในภายหลัง

5.หากมีบาดแผล ให้รีบพบแพทย์ ไม่ว่าจะเกิดบาดแผลขึ้นที่ส่วนใดของเท้าก็แล้วแต่ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที แต่ถ้าหากรู้สึกว่าผิวหนังที่บริเวณเท้าแข็งกว่าปกติ มีรอยแตก หรือมีตาปลาเกิดขึ้น ไม่ควรแก้ไขปัญหาเช่น ตัดตาปลาออกด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้เกิดแผลได้ เมื่อต้องการแก้ปัญหาหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเบาหวานลงเท้ารักษาอย่างไร ควรพบแพทย์หรือให้ผู้เชี่ยวชาญแก้ปัญหาให้จะดีที่สุด

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *