ถ้าพูดถึง โรคออฟฟิศซินโดรม ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตของชาวมนุษย์เงินเดือน และหากมีการปล่อยไว้ให้เกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรัง ก็จะทำให้ใช้เวลารักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome ) ยาวนานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ ตามอีกด้วยเช่นกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จึงต้องมีวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ บทความนี้ก็จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 5 สัญญาณเตือนว่าคุณนั้นมีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ พร้อมวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างถูกวิธี
5 สัญญาณเตือนว่าคุณเข้าข่ายโรคออฟฟิศซินโดรม ( Officesyndrome )
1.ปวดคอ
อาการการปวดที่บริเวณคอนั้นเรียกได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนข้อแรกเลยก็ว่าได้ ว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างมาก เนื่องจากมีการนั่งทำงานในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานหรือมีการใช้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอซ้ำๆ และมักจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนนี้อยู่ตลอดเวลา หากมีการปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่หาทางรักษา ก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นๆตามมาอีกได้เช่นกัน
2.ปวดไหล่
อาการปวดไหล่โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่ควบคู่มากับอาการปวดคอและหลัง เนื่องจากมีการนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการยืดเส้นยืดสายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ
3.ปวดหลัง
อาการปวดหลังนี้เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตของชาวพนังงานออฟฟิศเลยก็ว่าได้ เนื่องจากพนังงานเหล่านี้ต้องมีการนั่งหรือยืนทำการติดต่อกันเป็นเวลานาน ยิ่งหากมีการนั่งในท่าที่ไม่สบายตัวหรือนั่งไม่ถูกอิริยาบถอย่างถูกต้องก็อาจจะทำให้มีอาการปวดหลังมากขึ้นอีก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องมีการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำหรือมีการใส่รองเท้าส้นสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะมีอาการเมื่อยเท้าแล้วอาการที่เลี่ยงไม่ได้อีกอาการเลยก็คืออาการปวดหลังนั้นเอง
4.สายตาพร่ามัว
เมื่อต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ก็อาจจะทำให้เกิดอาการสายตาพร่ามัวได้ เนื่องจากมีการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการพักสายเลย หรือที่เรียกอาการแบบนี้ว่าเป็นอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากจะทำให้เกิดสายตาพร่ามัวแล้วยังอาจจะมีอาการอื่นๆตามมาได้อีกด้วยเช่น มีอาการมึนงง ขนลุก หูอื้อในบริเวณที่ปวดได้อีกด้วย
5.มือชา เท้าชา
เกิดจากการมีอาการของการกดทับของปลายประสาท จึงทำให้ร่างกายในบางส่วนนั้นเกิดอาการมือชา เท้าชา รวมถึงอาจจะมีอาการของการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายเนื่องจากมีการกดทับของเส้นประสาทมากและนานเกินไป
วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ต้องทำยังไง
1.หาเวลาเพื่อออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดคลายกล้ามเนื้อเป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายมีความแข็งแรง นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้วก็ ควรมีการพักผ่อนให้เพียงพอกับความต่อการของร่างกายด้วยเช่นกัน
2.ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น มีการปรับระดับโต๊ะ เก้าอี้ หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่พอดีกับสายตาและสรีระของร่างกาย นั่งทำงานในท่าทางหรืออิริยาบถที่ถูกต้อง จัดโต๊ะทำงานให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก
3.รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการทานยา หรือทำกายภาพบำบัด
รับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัด ตามความเหมาะสมของร่างกาย ในกรณีนี้หากมีอาการปวดที่รุนแรงควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการประเมินและทำการรักษาเพื่อเป็นการป้องกันการเกิด โรคออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรัง
ยารักษาที่แก้อาการ โรคออฟฟิศซินโดรม ใช้ยาตัวไหนได้บ้าง
1. สเปรย์แก้ออฟฟิศ ซินโดรม (Happy Work Spray)
สเปรย์ตัวนี้เป็นสเปรย์ที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ มีกลิ่นหอม ช่วยลดความตึงเครียด ปวด เมื่อย ล้า จากการทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่เหนียวเหนะหนะ สามารถฉีดบนเสื้อผ้าได้เลยโดยไม่กลัวว่าจะทิ้งคราบไว้บนเสื้อผ้า
2. B-COMFORT
เป็นยารักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ใช้สมุนไพรในการรักษา มีจำหน่ายแบบเป็นเซ็ต ช่วยรักษาอาการปวด เมื่อย ล้า อีกทั้งยังช่วยบำรุงกล้ามเนื้อของร่างกายให้กลับมาแข็งแรงอีกด้วย
ท่าบริหารป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
ท่าที่ 1 นำมือประสานกันกันด้านหลัง เหยียดศอกให้ตึง ดึงสะบักเข้าหากัน ดันมือไปทางด้านหลัง ยืดอก เงยหน้าเหลือบมองบนค้างไว้ 3 วิ แล้วผ่อนกลับไปท่าเดิม
ท่าที่ 2 นำมือมาประสานกันแล้วเหยียดแขนให้สุดขึ้นเหนือศีรษะ กระดกข้อมือวาดแขนเหยียดตรงไปทางด้านหลัง พร้อมยืดอกเหลือบหน้ามองบน แขม่วท้องและค่อยๆวาดแขนลงอย่างช้าๆ
ท่าที่ 3 กางแขน งอศอกประมาณ 90 องศา หันหน้าไปทางตรงกันข้ามพร้อมทำการหมุนไหล่กว้างๆ ดันไปด้านหน้าให้เป็นจังหวะพร้อมๆกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : Samitivej Hospitals
จะเห็นได้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมนั้น ถ้ามีการรักษาและป้องกันมาตั้งแต่เริ่ม ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ อีกทั้งในปัจจุบันก็มี วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ที่หลากหลายวิธีมาก ทั้งการรักษาด้วยตนเองด้วยการรับประทานยาหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกายภาพ การฝังเข็ม แต่หากมีอาการปวดที่รุนแรงและไม่มีท่าทีว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้น ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินทำการรักษา เพื่อป้องกันการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรัง
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical