เฝ้าระวังผู้สูงอายุติดเตียง ควรระวังปัจจัยเสี่ยงทั้ง 5

ผู้สูงอายุติดเตียง หรือ bedridden elderly คืออะไร ?

ผู้สูงอายุติดเตียง คือ ผู้ที่มีอายุมากเจ็บป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้หรือเคลื่อนไหวได้เล็กน้อยต้องนอนบน เตียงนอนคนแก่ ตลอดเวลา อาจได้รับบาดเจ็บหรือป่วยเรื้อรังด้วยอายุที่เพิ่มสูงขึ้นจึงยากต่อการฟื้นฟูร่างกาย หรือต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรในการฟื้นฟู ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงบางรายสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง ขยับแขน ขยับขาได้ แต่บางรายช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลยต้องมีผู้ช่วยหรือคนคอยดูแลตลอดเวลา เช่น  ป้อนอาหาร ช่วยล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำ ฯลฯ รู้หรือไม่ว่าการที่ ผู้สูงอายุนอนติดเตียง นานๆ มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

บทความน่าสนใจ : เตียงผู้ป่วยมีกี่ประเภท เตียงผู้ป่วย เตียงคนไข้ เตียงพยาบาล คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
5 ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังเมื่อมีผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน

5 ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังเมื่อมีผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน

           ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็น ผู้สูงอายุติดเตียง อาจเกิดขึ้นจากโรคเรื้อรัง โรคประจำตัว ตลอดจนได้รับอุบัติเหตุ ผู้สูงอายุเจ็บป่วยสภาพร่างกายยากต่อการฟื้นฟูหรืออาจใช้ระยะเวลานาน ไม่เหมือนหนุ่มสาวหรือเด็กที่ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อผู้สูงอายุป่วยติดเตียงเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ต้องดูแล การนอนป่วยติดเตียงนานๆ มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้างเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรศึกษา จนนำไปสู่การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ได้อย่างถูกวิธี รวมถึงการรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ช่วยให้สามารถหาแนวทางป้องกันได้

1.แผลกดทับ

       เมื่อผู้สูงอายุป่วยติดเตียง ปัญหาหลักๆ ที่มักเจอคือ แผลกดทับ สาเหตุของการเกิดแผลกดทับคือการนอนนานๆ จนทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงยังผิวหนัง เซลล์ผิวหนังอาจตายจนกลายเป็นแผลไปเรื่อยๆ แผลกดทับนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น สะบัก ท้ายทอย สะโพก ส้นเท้า กระดูกก้นกบ ฯลฯ ระยะแรกผิวหนังจะลอก นานวันเข้าจะลอกไปจนถึงกล้ามเนื้อ บางรายลึกถึงชั้นกระดูกเลยทีเดียว แผลกดทับมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงแผลกดทับควรให้ผู้ป่วยพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ ดูแลทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้นตลอดจนการจัดหาที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อการรองรับสรีระร่างกายที่เหมาะสม

2.สภาพแวดล้อม

      ห้องนอนของผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง อาจมีสภาพแวดล้อมไม่ดีนัก เช่น การจัดวางของใช้ไม่เป็นระเบียบ ฯลฯ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนี้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหดหู่ ไม่มีกำลังใจ ไม่อยากสู้ต่อหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ดังนั้น ห้องนอนของผู้ป่วยติดเตียง การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้ดูแลควรเก็บกวาดให้ดี จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม จัดวางข้าวของหรือสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ วางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนั้นการจัดวางสิ่งของต่างๆ ให้เป็นระเบียบยังช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงในภาวะฉุกเฉินทำได้ง่าย รวดเร็วขึ้นด้วย

3.สุขภาพจิตใจ

         ผู้สูงอายุที่ป่วยต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาแน่นอนว่าสุขภาพจิตใจย่ำแย่ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักมีอาการเบื่อหน่าย หน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง หรือลูกหลานคือการให้กำลังใจ สร้างความอบอุ่น หรือสามารถหากิจกรรมอะไรทำร่วมกันกับผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลาย ได้มีรอยยิ้ม ช่วยลดความเศร้าลงได้ดีเลยทีเดียว ส่งผลให้สุขภาพด้านจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้น หรือผู้ดูแลอาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วย ขอคำแนะนำในการดูแล กิจกรรมไหนสามารถทำร่วมกันได้ หรือไม่ได้ อะไรควรหลีกเลี่ยง

4.ความสะอาด

       การขับถ่ายและการชำระล้างร่างกาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปข้างในร่างกายมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้ดูแลจำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุกๆ 2-4 สัปดาห์รวมถึงการทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะด้วย สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ควรทำความสะอาดทุกครั้งหากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่น ข้น หรือกรณีที่ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที หมั่นดูแล ทำความสะอาดในการขับถ่ายรวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วย

5.อาหารการกิน ( ภาวะกลืนลำบาก )

      ภาวะกลืนลำบาก คือ หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เกิดจากความผิดปกติทางช่องปากและคอหอย พบได้มากในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเลือดสมอง รวมถึงภาวะสมองเสื่อม เมื่อกลืนลำบากมีความเสี่ยงทำให้เกิดการสำลักได้ง่าย และอาจทำให้ปอดอักเสบหรือติดเชื้อได้เนื่องจากเศษอาหารได้หลุดเข้าไปในหลอดลม บางรายเกิดภาวะหลอดลมอุดตันเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเตียง 45-90 องศา ใช้หมอนดันหลังให้ทรงตัว  รวมถึงการปรับอาหารให้เหมาะสม ให้ผู้ป่วยทานอาหารอ่อนเคี้ยวง่าย กลืนง่าย เช่น โจ๊กปั่น ผู้ดูแลต้องไม่รีบเร่งป้อนอาหาร ให้ผู้ป่วยก้มคอกลืนอาหาร ห้ามแหงนคอไปข้างหน้า กรณีที่ผู้ป่วยมีการสำลักให้หยุดป้อนอาหารทันที 

——- 

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

Original price was: 13,000.00 ฿.Current price is: 11,900.00 ฿.
Original price was: 20,500.00 ฿.Current price is: 15,500.00 ฿.
สินค้าหมดแล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *