7 สิ่งที่ควรระวัง เมื่อมีผู้ป่วยติดเตียงนอนอยู่ที่บ้าน ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

"7 สิ่งที่ควรระวัง เมื่อมีผู้ป่วยติดเตียงนอนอยู่ที่บ้าน ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด "

ผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะที่เสื่อมโทรมทำให้ต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา อาจนอนรักษาที่โรงพยาบาลหรือนอนติดเตียงอยู่ที่บ้าน สาเหตุผู้ป่วยติดเตียงมีหลายสาเหตุ ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ คนไข้ติดเตียงบางรายสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน ขยับร่างกายได้บ้างเล็กน้อยแต่บางรายไม่รู้สึกตัวเลย สิ่งที่ตามมาจากการนอนติดเตียงคือผลข้างเคียงต่างๆ อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว มาดูกันว่ามีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยติดเตียงแต่ก่อนอื่นเรามาดูกันว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีกี่ประเภท   

บทความที่น่าสนใจ : 

6 แนวทาง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร และปัญหาที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ?
10 ท่าปลอดภัย การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเดียง ลดแผลกดทับ มีวิธีอย่างไร 

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียงมีกี่ประเภท

1.ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังรู้สึกตัว

ผู้ป่วยติดเตียงประเภทแรกคือผู้ป่วยติดเตียงที่ยังรู้สึกตัว โดยผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัวดีอยู่แต่อาจช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือช่วยเหลือตนเองได้เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังรู้สึกตัวดี บางรายสามารถขยับเขยื้อนตัวเองได้บ้างแต่บางรายต้องพึ่งพาผู้ดูแลเกือบ 100%

2.ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่รู้สึกตัว

ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่รู้สึกตัวหรือผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียการรู้สึกตัวเป็นผู้ป่วยติดเตียงโดยสมบูรณ์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยต้องพึ่งพาผู้อื่น 100% เรามักคุ้นเคยกับการเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่าเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา

วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร ให้ปลอดภัยและเจ็บน้อยที่สุด !

7 ปัยจัยเสี่ยงของ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ควรต้องเผ้าระวัง มีอะไรบ้าง

1.แผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง จากการนอนอยู่เฉยๆ

ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ คือเรื่องของการเกิดแผลกดทับเพราะผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน สาเหตุของการเกิดแผลกดทับคือการที่ผู้ป่วยนอนนานๆ นี่เองบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ ต้องระวังให้ดีเพราะหากขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังก็จะทำให้เซลล์บางตัวตาย จนเกิดแผลไปเรื่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดในร่างกาย อาทิเช่น สะโพก ท้ายทอย สะบัก ศอก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า เป็นต้น ระยะแรกอาการอาจไม่หนักแต่พอนานวันเข้า แผงอาจลึกปถึงชั้นกล้ามเนื้อหรืออาจลึกถึงชั้นกระดูกเลยทีเดียว จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้นและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ป้องกันได้ด้วยเตียงลมสําหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือใช้ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงป้องกันแผลกดทับโดยเฉพาะ

2.ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ผู้ป่วยติดเตียงบางรายมีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในร่างกาย เพื่อช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้นแต่มีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายเช่นเดียวกัน ผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำทุก 2-4 สัปดาห์ รวมถึงการทำความสะอาดสายด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ทุกครั้ง หากพบว่าสายปัสสาวะมีสีขุ่นข้นหรือปัสสาวะไม่ออกจะต้องพาผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันทีหมั่นดูแลรักษาความสะอาดในการขับถ่ายด้วยเพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย

3.สภาพแวดล้อมไม่สะอาด

อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังคือเรื่องของสภาพแวดล้อมห้องนอนที่ไม่สะอาด ควรจัดให้เหมาะสมกับการใช้งานและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วย ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงจะทำได้อย่างรวดเร็ว หมั่นทำความสะอาดห้องนอนอย่างสม่ำเสมอให้อากาศถ่ายเทอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ และป้องกันการติดเชื้อ

4.ผู้ป่วยติดเตียงมือบวม

อาการมือบวมในผู้สูงอายุหรือเท้าบวม เกิดจากร่างกายของคนชรานั้นไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้ น้ำในร่างกายมีปริมาณมากเกินปกติจึงทำให้มีอาการบวมตามมือและเท้าขึ้นนั่นเอง ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการโรคไตหรือไตเสื่อม ทำให้การขับน้ำจากร่างกายนั้นน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในวัยอื่นๆ วิธีสังเกตว่าผู้สูงอายุท่านนั้นมีอาการมือเท้าบวมหรือไม่ให้ลองเอามือกดที่แขน มือ ขาหรือเท้า กดแช่ทิ้งไว้ 5-10 วินาทีแล้วปล่อย โดยเนื้อตรงส่วนนั้นมันไม่คืนรูปหรือยังบุ๋มอยู่อาการนี้จะแสดงว่าเป็นอาการบวมน้ำแต่อาจยังเป็นโรคอื่นได้เช่นกัน ทางที่ดีควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

5.ปัญหาสุขภาพจิต

ผู้สูงอายุติดเตียงมักมีปัญหาเรื่องสุขภาพทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ สำหรับปัญหาด้านสภาพจิตใจนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ดูแลต้องใส่ใจ ไม่ควรละเลย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละโรค มีภาวะอาการที่แตกต่างกัน สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่าย ความทุกข์ที่เกิดขึ้น ผู้ดูแลควรหากิจกรรมต่างๆ มาให้ผู้ป่วยทำได้ผ่อนคลาย ลดความเศร้าลงได้

6.ปัญหาสุขภาพช่องปาก

อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงคือปัญหาสุขภาพช่องปาก อาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ผู้ดูแลควรเฝ้าระวังการเกิดเชื้อราในช่องปาก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

7.กลืนลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงที่มักเจอกับผู้ป่วยติดเตียงคือภาวะกลืนลำบาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของช่องปากและคอหอย กลืนลำบาก มักพบในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม การกลืนลำบากมีความเสี่ยงต่อการสำลักในขณะทานอาหารอาจทำให้ปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบได้เพราะเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลมและที่แย่ไปกว่านั้นคือเศษอาหารชิ้นใหญ่หลุดเข้าไปอุดหลอดลมทำให้เสียชีวิตได้

การใช้ เตียงผู้ป่วยติดเตียง ก็ช่วยให้ดูแล และฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ได้ง่ายขึ้น

Rakmor จึงขอแนะนำเตียงสําหรับผู้ป่วยติดเตียง เตียงผู้ป่วยที่มีโครงสร้างแข็งแรงทนทาน จำหน่ายเตียงผู้ป่วยติดเตียงที่มีทั้งแบบไฟฟ้าและแบบมือหมุน ราคาเตียงสําหรับผู้ป่วยแผลกดทับถูกมาก ขายไม่แพง จำหน่ายทั้งส่งและปลีก เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานในระดับสากล รองรับน้ำหนักได้เยอะ สามารถปรับท่าทางได้หลากหลาย ดีไซน์ทันสมัย นอกจากนั้นก็ยังมีที่นอนผู้ป่วยติดเตียงจำหน่ายด้วย ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ช่วยกระจายแรงกดทับในร่างกายทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเส้นเลือดฝอย บริเวณผิวหนังได้ ช่วยลดบาดแผลและรักษาบาดแผลให้หายเร็วขึ้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย สนใจสั่งซื้อเตียงนอนผู้ป่วยติดเตียง เข้าไปที่ Rakmor.com หรือ Shopee และ Lazada ขอข้อมูลเพิ่มเติม  ติดต่อเราได้ที่นี่ คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *