ภาวะหัวใจหยุดเต้น
ภาวะหัวใจหยุดเต้น อันตรายถึงชีวิต หัวใจอวัยวะที่สำคัญมีหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายโดยสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน เมื่อไหร่ก็ตามที่หัวใจทำงานผิดปกติไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นหมายความว่าเลือดจะไม่ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย การทำงานของอวัยวะจึงผิดปกติ ที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนเลยคือสมอง เมื่อเลือดไม่มาเลี้ยงสมองเกิดการหมดสติซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จากสถิติพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นสูงถึงปีละ 54,000 คนเลยทีเดียว เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน
สาเหตุ การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
สาเหตุของหัวใจหยุดเต้นพบว่ามีหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ พันธุกรรม ผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป อาจป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดแดงหัวใจอุดตันเฉียบพลันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในที่สุด นอกจากนั่นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 35 มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือเส้นเลือดหัวใจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด วงจรไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนั้นภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันยังอาจเกิดกับผู้ที่มีโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งต้องดูว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในข้างต้นหรือไม่ ภาวะหัวใจหยุดเต้นสามารถเกิดได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานรวมถึงผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย นอกจากพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ยังสามารถประเมินความเสี่ยงได้ด้วยการทดสอบหรือการตรวจสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การตรวจเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาล ไขมัน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ รวมถึงการเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
อาการ และกลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้น
เมื่อมีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหัวใจไม่บีบตัว เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ลักษณะของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดทำงาน ผู้ป่วยจะหมดสติภายในระยะเวลารวดเร็วหรือภายในระยะเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นและถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือแบบทันทีทันใด อาจมีอันตรายร้ายแรงหรือทำให้เสียชีวิตได้เลย ดังนั้นต้องได้รับการช่วยเหลือทันทีทันใดต้องช็อคด้วยกระแสไฟฟ้าหรือใช้เครื่อง AED เครื่องมือกระตุกหัวใจ เรามักพบเห็นเครื่องมือนี้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน สนามกีฬา โรงเรียน เป็นต้น แม้แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมพนักงานยังต้องเข้ารับการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นเรียนรู้การใช้งานเครื่อง AED
ใครบ้างเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น มักเกิดกับคนที่ดูปกติแต่อาจมีโรคแอบแฝงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงที่สามารถเกิดได้ทั้งคนที่อายุมากและคนอายุน้อย โดยปกติปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจ การบีบตัว 1 ครั้ง เลือดสูบฉีดออกไปประมาณ 50-70% แต่คนที่เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นมีเพียงน้อยกว่า 30%
ป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้น
ป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างไร เราสามารถป้องกันภาวะนี้ได้และถ้าไม่รีบป้องกันตั้งแต่ตอนนี้อาจสายเกินไป รู้หรือไม่ ภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งหรืออุบัติเหตุเลย ภัยเงียบที่คร่าชีวิตของใครหลายคนไปแล้ว สำหรับแนวทางการป้องกันที่ดี เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลัน โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ปลา ธัญพืช เป็นต้น
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- งดสูบบุหรี่ รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุกๆ ปี
นอกจากป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วควรจัดอุปกรณ์หรือเครื่อง AED เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลัน เครื่องนี้มีขนาดพกพามักติดตั้งในชุมชน พื้นที่สาธารณะ โรงพยาบาล ฯลฯ เครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต สนใจสั่งซื้อเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าหรือเครื่อง AED สั่งซื้อได้เลยที่ Rakmor แหล่งจำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำหน่ายเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก