ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารเองได้

ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง

ทำไมต้องให้อาหารทางสายยาง การให้อาหารทางสายยางจำเป็นต้องให้อาหารเหลวหรืออาหารอ่อนเพื่อให้ผู้ป่วยย่อยง่ายอาหารเหลวจะไหลผ่านสายให้อาหาร ผ่านเข้าไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วย ทั้งนี้ การให้อาหารทางสายยางสามารถทำได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารทางสายยางผ่านจมูก ปากหรือหน้าท้อง แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสม การให้อาหารผ่านทางสายยางต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย นั่นคือ เครื่องให้อาหารทางสายยาง เราจะมาดูกันว่า ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยางมีอะไรบ้าง มาดูกัน

การให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยางเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารได้ตามปกติหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อย่างเช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ตลอดจนผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น ต้น ผู้ป่วยอาจไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้เหมือนคนปกติ มีภาวะกลืนลำบาก หากร่างกายขาดสารอาหารอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้ร่างกายจะเจ็บป่วยไม่สามารถทานอาหารได้ แต่ร่างกายยังคงต้องการสารอาหารเพื่อรักษาฟื้นฟูและพยุงอาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยใส่สายให้อาหารเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ผู้ดูแลต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง

  • เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอหรือสำลัก ไม่ควรให้อาหารต่อต้องหยุดให้อาหารทันที หลังจากนั้นผู้ดูแลต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากอาการผิดปกติต่างๆ หายไปสามารถให้อาหารต่อไปได้แต่ถ้ายังไม่หยุดมีอาการไอหรือลำสัก อาเจียนออกมาต้องหยุดให้อาหารมื้อนั้นทันที ให้ตะแคงหน้าผู้ป่วยไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันอาหารที่อาเจียนออกมาไหลเข้าไปในหลอดลมและให้เช็ดทำความสะอาดช่องปาก
  • ในกรณีที่อาหารเหลวแช่ในตู้เย็นต้องนำออกมาอุ่นก่อนทุกครั้งหรือนำมาแช่น้ำอุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเหลวหนืดอาจทำให้สายให้อาหารอุดตันได้
  • ในกรณีที่ผู้ดูแลดูดอาหารที่ค้างอยู่แล้วพบว่ามีสีผิดปกติ เช่น มีสีแดง สีน้ำตาลคล้ำต้องให้ผู้ป่วยพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ไม่แน่ใจว่าสายให้อาหารอยู่ในตำแหน่งใด สายให้อาหารนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์
  • การให้อาหารทางสายยางต้องจัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยให้นอนศีรษะสูงอย่างน้อย 30 องศา หรือนั่งต่อไปก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง ป้องกันการไหลกลับของอาหาร
  • การให้อาหารทางจมูกต้องดูดเสมหะหรือน้ำลายออกก่อน หากผู้ป่วยไม่สามารถไอออกมาเองได้
  • หลังจากให้อาหารเหลวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ยาและน้ำตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง ให้พับสายให้อาหารโดยยกสายให้สูงก่อนเพื่อไม่ให้น้ำค้างภายในสาย
  • ก่อนให้อาหารผู้ดูแลควรทดสอบปริมาณอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหารผู้ป่วยก่อนทุกครั้งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมถึงตรวจสอบตำแหน่งของสายให้อาหารด้วย พับสายให้อาหารและดึงจุกปิดปลายสายออก ป้องกันไม่ให้ลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร ใช้กระบอกให้อาหารที่สวมเข้ากับลูกสูบอยู่ ต่อเข้ากับสายยาง จากนั้นค่อยๆ ดึงลูกสูบออกอย่างช้าๆ ถ้ามีอาหารหรือมีน้ำออกมาหมายความว่าสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารหากมีมากกว่า 50 ซีซี เลื่อนเวลาให้อาหารออกไปประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง 

เครื่องให้อาหารทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ 2023

การให้อาหารทางสายยางมีข้อควรระวังอย่างไร สิ่งเหล่านี้หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับผู้ดูแลได้ สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่าง ข้อนี้สำคัญมาก ซึ่งเราอาจไม่ได้กล่าวถึงในข้างต้นนั่นคือ การเลือกซื้อเครื่องให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยจะปลอดภัยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอหากใช้เครื่องให้สายอาหารทางสายยางที่มีประสิทธิภาพสูง เครื่องให้อาหารทางสายยางมีให้เลือกหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ยกตัวอย่างรุ่นที่ขายดี ได้แก่

สนใจสั่งซื้อ คลิก

เครื่องให้อาหารทางสายยาง  Beaconn รุ่น BN-700A เครื่องให้อาหารอัตโนมัติทางสายยาง ดีไซน์ทันสมัยเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารเองได้ เครื่องรุ่นนี้ทันสมัยมาพร้อม หน้าจอแสดงผล 2.8 นิ้ว ระบบ TFT ปรับเสียงแจ้งเตือนได้ถึง 8 ระดับ มีระบบคีย์ล็อคด้วย ความแม่นยำในการให้สารอาหาร บวกลบ 10% อัตราความเร็วในการไหลสามารถปรับได้ 1-500ml/hr ของเหลวหนืดปรับได้ 1-300 ml/hr ปริมาตรของเหลวปรับได้ 0-9,999 มิลลิลิตร 

สนใจสั่งซื้อ เครื่องให้อาหารทางสายยาง Beaconn รุ่น BN-700A หรือจะเป็นรุ่นอื่นๆ แบรนด์ดังระดับโลก เครื่องให้อาหารทางสายยาง ที่ดี มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพงต้องสั่งซื้อที่ Rakmor เท่านั้น สั่งซื้อสินค้าได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ สินค้ารับประกันนานคุ้มค่า ไม่ผิดหวัง เครื่องให้อาหารผ่านทางสายยางที่มีแม่นยำสูงและปลอดภัยต่อการใช้งาน 100% 

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *