อัมพาตครึ่งซีก คืออะไร
โรคอัมพาตครึ่งซีก เป็นโรคที่จะทำให้ผู้ที่ป่วยสูญเสียการควบคุมร่างกายข้างใดข้างหนึ่งไป ซึ่งอาการจะสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่หัว ตา ปาก แขน ขา ไปจนถึงปลายนิ้ว ซึ่งนั่นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะขยับร่างกาย พูด หรือกะพริบตา ในข้างที่เกิดปัญหาได้ ซึ่งโรคนี้สาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดมาจากหลอดเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างทั่วถึง ซึ่งสมองในแต่ละด้านก็จะทำหน้าที่ต่างกันแน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นฝั่งใดฝั่งหนึ่งฝั่งตรงข้ามก็จะไม่สามารถใช้งานได้ทันที โดยภาวะนี้จะเรียกว่าอัมพาตครึ่งซีกนั่นเอง
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีกี่ประเภท
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทโดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษาบางรายหากเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วอาการก็จะไม่รุนแรง ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
- ระดับเบา – สามารถรักษาหายขาดและช่วยเหลือตัวเองได้ หรืออาจมีติดขัดเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตโดยรวม
- ระดับกลาง – เริ่มมีความยากลำบากในการใช้ชีวิต เริ่มเคลื่อนไหวหรือเดินไปยากมากยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่ต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้ด้วยตนเอง เช่น ไม้เท้าหรือรถเข็น
- ระดับรุนแรง – ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือและดูแลอย่างต่อเนื่อง บางรายรุนแรงจนต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถแม้กระทั่งลุกขับถ่ายหรือทานอาหารได้ด้วยตัวเอง โดยในเคสที่รุนแรงที่สุดอาจรวมไปถึงการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
นอกจากจะแบ่งเป็นระดับความรุนแรงแล้วก็ยังสามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้อีก 2 ประเภทดังนี้
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ เส้นเลือดในสมองอุดตัน – อาการสำหรับการเป็นอัมพาตที่เกิดจากสาเหตุนี้จะเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นแบบไม่เฉียบพลันเท่าไหร่ ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น อาจรู้สึกชาหรือเป็นอัมพาตครึ่งซีกซ้ายหรือเป็นอัมพาตครึ่งซีกขวา แบบไม่รุนแรง บางรายอาจมีอาการหนังตาตกหรือพูดไม่ชัด ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยทันที
- โรคหลอดเลือดในสมองแตก – สำหรับโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบในร่างกายที่รอวันที่จะปะทุขึ้นมา เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นนั้นแทบจะไม่มีอาการบ่งบอกได้เลย ซึ่งโอกาสที่จะเป็นอันตรายได้สูง
ผู้ป่วย อัมพาตครึ่งซึก อาการเบื้องต้นสังเกตได้อย่างไร
เมื่อได้ทราบถึงความน่ากลัวและความรุนแรงของโรคนี้กันไปบ้างแล้ว เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากที่จะให้ตนเองและคนใกล้ชิดต้องเผชิญหน้ากับโรคนี้อย่างแน่นอน แต่เราจะมีวิธีป้องกันและสังเกตอาการเบื้องต้นได้อย่างไร ซึ่งในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมเอาเทคนิคการสังเกตมาฝากทุกคนได้ดังนี้ด้วยวิธี FAST
F:Face – สังเกตบริเวณใบหน้า หากมีอาการตาตก ปากเบี้ยว มุมปากตกข้างใดข้างหนึ่ง มีน้ำลายไหล
A:Arm – สังเกตแขนขา หากแขนขาฝั่งไหนมีอาการอ่อนแรงควรรีบพบแพทย์ทันที
S:Speak – การพูด หากเริ่มมีอาการพูดไม่ชัดหรือพูดติดขัด แสดงว่าเริ่มมีอาการเริ่มต้นของการเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีกแล้ว
T:Time – หลังจากที่สังเกตพบอาการข้างต้นแล้ว ควรรีบจับเวลาและรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมงหากช้ากว่านี้อาการอาจจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลา แต่หากไปได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยให้ลดความรุนแรงและสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
หากคนในครอบครัวเป็น อัมพาตควรรับมืออย่างไร
สิ่งของจำเป็นอันดับแรก ถ้าหากคนในครอบครัวเกิดเป็นอัมพาต แน่นอนว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย ดังนั้นหากคนในครอบครัวเกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาแล้ว เราควรจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อใช้ในการทำกิจวัตรต่าง ๆ เช่น เตียงผู้ป่วยเพื่อสะดวกในการปรับระดับการนอนและการลุกนั่ง หรือ รถเข็นผู้ป่วยสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังที่ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว
อัมพาตครึ่งซีกรักษาหายไหม ทำได้จริงหรือเปล่า
แน่นอนว่าอาการป่วยจากการเป็นอัมพาตนั้นสามารถที่จะรักษาได้ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับชีวิตปกติ หรือในรายที่หนักมากก็อาจฟื้นฟูได้จนสามารถลุกนั่งและช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น อัมพาตครึ่งซีกการรักษานั้นต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่างซึ่งหนึ่งในสิ่งสำคัญในช่วงแรกของการรักษาก็คือกำลังใจและความพร้อมของผู้ดูแลไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาหรือไปจนถึงเรื่องอุปกรณ์ก็ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นเดียว แน่นอนว่าเมื่อสิ่งเหล่านี้มารวมกันโอกาสในการรักษาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้การดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อเราป่วยขึ้นมานอกจากร่างกายจะไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว คนใกล้ชิดก็ยังต้องกังวลไปร่วมไปด้วย ดังนั้นหากมีอาการตามที่เรากล่าวไว้ข้างต้น จึงควรรีบพบแพทย์โดยทันที ไม่เพียงสังเกตอาการของตนเองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราก็ยังคงต้องสังเกตอาการของคนใกล้ตัวเราด้วย เพื่อไม่ให้โรคร้ายนี้ต้องเกิดขึ้นกับใครและช่วยให้ทุกคนปลอดภัยและห่างไกลโรคนี้ได้อีกด้วยเช่นกัน
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical