ควรรู้! ไตวายจากเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่คุณอาจยังไม่รู้

ไตวายจากเบาหวาน

เชื่อว่าในปัจจุบัน มีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าไตวายคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะคนส่วนใหญ่มองสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายจากการกินเค็ม โดยเชื่อกันว่าการกินเค็มทำให้ค่าไตเพิ่มสูงขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้ว โรคเบาหวานก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะไตวาย เรียกว่า ไตวายจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เป็นอย่างมาก

โรคเบาหวาน คืออะไร อันตรายแค่ไหน

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถแปรเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้ตามปกติ โดยสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานก็มาจากหลายปัจจัย ทั้งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้ ทำให้ร่างกายขาดอินซูลิน ซึ่งส่งผลต่อระบบการเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานโดยตรง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้คนที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีพอ ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ง่าย เพราะร่างกายต้องการอินซูลิน เมื่อร่างกายขาดอินซูลินจะทำให้ตับอ่อนทำงานหนักขึ้น

สำหรับคนที่ทานยาที่มีสารเคมีเป็นประจำ ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูง เพราะการที่รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ตับและไตทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงของเบาหวานกับไตวาย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นแล้ว อันตรายย่อมเกิดตามมา เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย ไตวายจากเบาหวาน รวมไปถึงโรคต่างๆอีกมากมาย

บทความน่าสนใจ : ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เบาหวานขึ้นตา ไม่ดูแลให้ดีเสี่ยงถึงขั้นตาบอดได้เลย

ไตวายจากเบาหวาน มีผลอย่างไรบ้าง

ไตวายจากเบาหวานมีผลต่อร่างกายหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหลอดเลือดฝอยที่ไต เพราะน้ำตาลจะไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบและอุดตัน หลังจากนั้นความสามารถในการกรองของเสียของไตจะเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ เริ่มเสื่อมลงเรื่อยๆ จนสามารถพบการรั่วไหลของโปรตีนในปัสสาวะได้จากการตรวจปัสสาวะ นอกจากเบาหวานจะส่งผลต่อหลอดเลือดฝอยที่ไตแล้ว ไตวายที่เกิดจากโรคเบาหวาน ยังส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทและระบบการสั่งงานของสมอง เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ประสิทธิภาพการสั่งงานของสมองจะลดลง เพราะเส้นประสาทถูกทำลาย เมื่อเส้นประสาทถูกทำลาย ผู้ป่วยก็จะเริ่มไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด ส่งผลกระทบไปถึงกระเพาะปัสสาวะ เพราะเมื่อไร้ความรู้สึก ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ว่าต้องทำการขับถ่ายปัสสาวะออกไป ทำให้ของเสียอย่างปัสสาวะยังคงค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้ไตถูกทำลาย นอกจากนี้การที่ปัสสาวะค้างอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานยังส่งผลให้มีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ต่อเนื่องไปยังทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ไตถูกทำลายไปมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สังเกตไตวายจากเบาหวาน

วิธีสังเกตอาการ ไตวายจากเบาหวาน

การสังเกตอาการของผู้ที่เป็นไตวายจากเบาหวาน อย่างแรกคือการตรวจปัสสาวะ หากว่าตรวจพบโปรตีน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นไตวายจากเบาหวานได้ การที่ตามมาหลังจากเป็นไตวายคืออาการบวม โดยจะเริ่มมีอาการบวมขึ้นตามอวัยวะต่างๆที่พบเห็นได้ง่ายก็คือมือและเท้า ตอนแรกอาจจะบวมไม่มาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป อาการบวมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีการบวมทั่วทั้งตัวเลยก็เป็นได้ สำหรับการสังเกตในส่วนต่อมาให้สังเกตดูว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบปัสสาวะหรือไม่ หากว่าปัสสาวะออกน้อย ต้องออกแรงเบ่ง เบ่งนานกว่าที่ปัสสาวะจะออก หรือเมื่อมีการตรวจปัสสาวะพบว่ามีแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวปะปนอยู่ในปัสสาวะ ก็จะถือได้ว่าผู้ป่วยเริ่มเป็นไตวายจากเบาหวาน แต่การสังเกตผู้ป่วยว่าว่ามีโอกาสที่จะเป็นไตวายจากเบาหวานหรือไม่ วิธีการสังเกตง่ายๆก็คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องวัดน้ำตาล โดยควรตรวจวัดน้ำตาลเป็นประจำ เพื่อให้รู้และเพื่อที่จะทำการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นไตวายจากเบาหวาน เพราะจริงๆแล้วไตวายจากเบาหวานสามารถป้องกันได้

Original price was: 2,975.00 ฿.Current price is: 2,100.00 ฿.
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page Quick View
สินค้าหมดแล้ว
Original price was: 1,190.00 ฿.Current price is: 990.00 ฿.

ไตวายจากเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นไตวายจากเบาหวาน จะมีอยู่หลายระยะ หากผู้ป่วยเป็นไตวายในระยะเริ่มต้น จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ก็จะเริ่มมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆเพิ่มเข้ามามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการบวมจากการที่มีโปรตีนในเลือดต่ำ รวมไปถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้ขับปัสสาวะออกมาได้ยากกว่าปกติ เมื่อเริ่มเข้าสู่การเป็นไตวายเรื้อรังจากเบาหวาน อาการแทรกซ้อนเหล่านี้ก็จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้น เพราะเนื้อไตและหลอดเลือดเริ่มจะเสื่อมสภาพ ไตจะเริ่มทำงานช้าลง จนไม่สามารถคืนประสิทธิภาพการทำงานให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เมื่อไตทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจะเริ่มน้ำหนักลด รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ผิวจะเริ่มซีด รู้สึกเบื่ออาหาร คันตามผิวหนัง ชาตามปลายมือปลายเท้า มีน้ำท่วมปอด ถ้าหากว่ามีอาการแทรกซ้อนอย่างไตอักเสบจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้น รู้สึกปวดหลัง หากว่าผู้ป่วยเป็นไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปัสสาวะออกน้อย มีของเสียคั่งค้างในเลือด เมื่อมีอาการแทรกซ้อนต่างๆเหล่านี้ร่วมกับการเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีภาวะกระดูกบาง ที่จะทำให้มีการปวดตามข้อ ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จนอาจจะมีอาการชักหรือหมดสติ จากภาวะที่มีของเสียค้างในร่างกายสูง หากไม่ได้รับงานรักษาโดยเร็วก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *