อันตราย! น้ำเข้าหู สิ่งที่ไม่ควรทำและมีวิธีรักษาเมื่อน้ำเข้าหูได้ยังไง

น้ำเข้าหู

น้ำเข้าหู เป็นสิ่งที่หลายคนเคยเจอแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำในสระหรือแม้แต่การอาบน้ำก็เกิดขึ้นได้ และเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เชื่อว่าแต่ละคนมักจะมีวิธีจัดการกับปัญหานี้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป แต่บางคนเมื่อ น้ำเข้าหูหูอื้อ กลับไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อเอาน้ำออกจากหูและเพื่อให้อาการหูอื้อนี้หายไป ต้องบอกก่อนเลยว่าการที่น้ำเข้าหูนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีเอาน้ำออก แต่จะทำอย่างไรนั้นวันนี้เรามีวิธีเอาน้ำออกพร้อมกับสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อในขณะที่น้ำอยู่ในหูมาฝาก ไปดูกันเลย 

น้ำเข้าหูได้ยังไงแล้วมีอาการอะไรบ้าง

น้ำเข้าหูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่แน่นอนเลยว่าเมื่อเกิดอาการน้ำเข้าหูทุกคนจะรู้สึกได้ทันที เพราะมีอาการชัดเจนดังนี้

  1. สาเหตุแรกที่ทำให้น้ำเข้าหูก็คือการทำกิจกรรมในน้ำในลักษณะท่าทางที่ผิด ซึ่ง อาการน้ำเข้าหู สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องสัมผัสได้ก็คือ น้ําเข้าหูแล้วหูอื้อ และมีเสียงดังจนรู้สึกรำคาญ
  2. ในบางคนอาจจะมีอาการรู้สึกเจ็บในหูและมีเสียงดังในหู เวลาพูดจะไม่ได้ยินเสียงตนเองชัดเจน เพราะจะรู้สึกหูอื้อไปหมด
  3. หลายคนนอกจากน้ำจะเข้าหูในขณะทำกิจกรรมในน้ำแล้วระหว่างการอาบน้ำก็สามารถเข้าหูได้ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากการรีบร้อนในการอาบน้ำทำให้ไม่ระวัง ซึ่งอาการเมื่อน้ำเข้าหูก็จะรู้สึกหูอื้อ มีเสียงดัง แต่หากรู้ตัวว่ามีน้ำเข้าหูระหว่างอาบน้ำก็สามารถเอาน้ำออกได้เองทันที 
บทความที่คล้ายคลึงกัน : มีเสียงวิ้งในหูตลอดเวลา เกิดจากอะไร

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อน้ำเข้าหู

เมื่อ น้ำเข้าหู สิ่งที่ไม่ควรทำหรือควรหลีกเลี่ยงก็คือ การใช้คอตตอนบัต เพราะจะยิ่งทำให้เป็นการดัน น้ำเข้าหูแล้วไม่ออก ทั้งยังเป็นการทำให้ขี้หูเข้าไปลึกขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญคือเสี่ยงต่อการทำให้เกิดแผลถลอกในหูได้อีกด้วย นอกจากนี้การใส่น้ำเข้าไปในหูแล้วเทออกมาซึ่งเป็นวิธีที่หลายคนชอบก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำด้วยเช่นกัน เพราะนั่นอาจเสี่ยงทำให้น้ำเข้าในหูเพิ่มมากขึ้นได้ ไม่เพียงแค่นี้เพราะคนจำนวนไม่น้อยเมื่อรู้ว่าน้ำเข้าหูและไม่รู้วิธีเอาน้ำออกก็มักจะใช้นิ้วหรือเล็บเขี่ยหู ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ควรทำด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรใช้วิธีที่ถูกต้องจะดีกว่า เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงเกิดอันตรายกับหูได้นั่นเอง 

วิธีแก้เมื่อน้ำเข้าหู จะเอาออกได้อย่างไร

น้ำเข้าหูแก้ไง

หลายคนเกิดความกังวลว่าเมื่อ น้ำเข้าหูหายเองได้ไหม ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นอันตรายมากนักหากเรารู้และเข้าใจ วิธีแก้น้ำเข้าหู ซึ่งก็มีวิธีแก้เมื่อ น้ําเข้าหู ดังนี้

  1. เริ่มจากการเอียงศีรษะให้หูข้างที่มีน้ำขนานกับพื้น จากนั้นก็เขย่าตัวเบา ๆ เพื่อให้น้ำไหลออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและสามารถทำได้ด้วยตนเองไม่ยาก ทั้งยังสามารถทำได้ทันทีเมื่อน้ำอยู่ในหู
  2. เอียงศีรษะข้างที่น้ำอยู่ในหูลงบนฝ่ามือจากนั้นก็ใช้ฝ่ามือกดที่หูเบา ๆ แล้วคลายออก จะช่วยให้น้ำออกมาและยังช่วยไม่ให้หูอื้ออีกด้วย
  3. ทำน้ำในหูให้แห้ง โดยการใช้เครื่องเป่าผมปรับค่าความต่ำสุดเข้าไปในหู ด้วยการรักษาระยะห่างของเครื่องเป่าผมกับหูให้อยู่ในระยะที่ดี เป็นวิธีที่หลายคนไม่รู้และไม่ค่อยใช้แต่ก็สามารถช่วยให้น้ำออกจากหูได้เช่นกัน 

 ป้องกันยังไงไม่ให้น้ำเข้าหู

เมื่อต้องทำกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้น้ำเข้าหู อย่างเช่น ว่ายน้ำน้ำเข้าหู หรือ สระผมน้ำเข้าหูหูอื้อ มีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูได้ดังนี้  

  • หากต้องทำกิจกรรมว่ายน้ำไม่ว่าจะเป็นการเรียนว่ายน้ำ หรือเล่นน้ำในสระเป็นเวลานาน ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ซิลิโคนปิดหูจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูได้
  • กิจกรรมว่ายน้ำหรือเล่นน้ำ การใส่หมวกสำหรับว่ายน้ำสามารถช่วยป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูได้ หรือหากเป็นการอาบน้ำการใส่หมวกก็สามารถช่วยป้องกันได้ แต่หากกังวลระหว่างตอนสระผมควรก้มสระอย่างระมัดระวังจะดีที่สุด

อย่างที่เราได้กล่าวไปว่าจริง ๆ แล้ว น้ำเข้าหู นั้นไม่ได้อันตรายจนเกินไป และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ระวัง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพราะใช้วิธีต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำไปข้างต้นได้เลย อย่างไรก็ตามหากทำตามวิธีต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำไปแล้ว แต่ไม่สามารถนำน้ำออกจากหูได้ หรือมีอาการที่ผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีทันที เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่เพื่อเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดในขณะที่อาบน้ำหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในน้ำ ควรระมัดระวังและป้องกันให้ดีจะดีกว่า เพื่อจะได้ไม่เกิดความกังวลนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : ประโยชน์ของ นาฬิกาออกกำลังกาย สำหรับสายสุขภาพ
——- 

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *