การฉีดอินซูลินเป็นการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่การรักษาโรคเบาหวานจะต้องควบคุมอาหาร เน้นทานเมนูอาหารลดน้ำตาลในเลือดควบคู่ไปด้วย รวมถึงการออกกำลังกาย ในบทความนี้เราจะพูดถึงการฉีดอินซูลิน ว่ามีอันตรายหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูลจนเกิดความรู้และความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง
ฉีดอินซูลินอันตรายไหม
การฉีดอินซูลินด้วย เข็มฉีดยาอินซูลิน โดยสามารถฉีดเข้าใต้ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ต้นแขน หน้าขา หน้าท้องและสะโพก ตำแหน่งที่ดีที่สุดก็คือ หน้าท้อง เนื่องจากการดูดซึมของยาจะคงที่ แต่ควรฉีดห่างจากรอบสะดือประมาณ 1-3 นิ้วและหมุนเวียนเปลี่ยนจุดที่ฉีด ไม่ควรฉีดซ้ำในตำแหน่งเดิมและไม่ควรนวดหรือประคบน้ำร้อนบริเวณที่ฉีด
อินซูลินมากเกินไปจะเกิดอาการอะไร อันตรายไหม
อินซูลิน คือ : ฮอร์โมนชนิดหนึ่ง หากฉีดอินซูลินมากจนเกินไปจะมีผลข้างเคียงการฉีดอินซูลินอย่างไร ฉีดอินซูลินเกินขนาดอันตรายหรือไม่ โดยหลักๆ แล้วพบว่าผู้ที่ได้รับปริมาณอินซูลินหรือฉีดอินซูลินมากเกินไปนั้นจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
1. หัวใจเต้นเร็ว
หากฉีดอินซูลินมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วได้ ซึ่งภาวะหัวใจเต้นเร็วทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้
2. วิงเวียนศีรษะ
อาการวิงเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดอินซูลินมากเกินไปซึ่งมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองตื้อไม่แจ่มใส มีอาการมึนงง และการทรงตัวไม่ดี บางรายมีอาการบ้านหมุน รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริงๆ
3. อาการสับสน มึนงง
อาการสับสนมึนงง อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับอินซูลินมากจนเกินไปหรือการฉีดอินซูลินมากเกินไป ทำให้มีอาการสับสนกระวนกระวาย รู้สึกมึนงงทางความคิด ความจำสั้น สมาธิสั้นแล้วอาจทำให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ ตามมาได้ เช่น นอนไม่หลับ เฉื่อยชา เป็นต้น
4. เหงื่อออก
แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนหรือทำงานหนัก แต่เมื่อฉีดอินซูลินมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติได้ ซึ่งเหงื่อที่ออกมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคผิวหนังติดเชื้อ ผิวหนังมีกลิ่นอับ เป็นต้น
5. เกิดภาวะซึมเศร้า
ถ้าเกิดภาวะซึมเศร้า หลายคนจะรู้สึกหดหู่หรือมีพลังงานเชิงลบ ดังนั้น ต้องหาวิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความคิดในแง่ลบ เพื่อให้มีความสุขมากขึ้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ภัยเงียบ ! โรคซึมเศร้า ความเศร้ารุนแรงที่เป็นอันตราย ระวังไว้ก่อนจะสายเกินแก้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลมาจากการฉีดอินซูลินมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเกิดเป็นอาการต่าง ๆ ตามมา นอกจากนั้นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก็ยังอาจเกิดอาการปวดศีรษะ ผิวซีด หรือรู้สึกหิวมากกว่าผิดปกติได้ อาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การฉีดอินซูลินควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ การฉีดอินซูลินมากเกินไปหรือน้อย
เกินไปสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักหรือหมั่นติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เช่น ตรวจวัดระดับน้ำตาลด้วย “ เครื่องตรวจน้ำตาล ” เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองง่ายๆ ที่บ้าน ทำให้ทราบผลการตรวจได้แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำ
ฉีดอินซูลินกับกินยาต่างกันอย่างไร
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หากได้รับยาเม็ดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด 2-3 ชนิดแล้วปรากฏว่ายังไม่ดีขึ้น ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แพทย์อาจเพิ่มการฉีดอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 300-350 มก/ดลน้ำตาลสะสม (HbA1C) > 10-12% อาจต้องเริ่มรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเลยร่วมกับการรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดควบคู่ไปด้วย และหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาด้วยการทานยาเม็ดเพียงอย่างเดียวได้ โดยไม่ต้องฉีดอินซูลิน
เข็มฉีดยาอินซูลินใช้ได้กี่ครั้ง ใช้ซ้ำอันตรายไหม
เข็มฉีดอินซูลินที่ใช้แล้ว อาจทิ้งไปเลยหรือใช้ได้ต่อ 2-3 ครั้งจนรู้สึกเจ็บโดยไม่ต้องทำความสะอาดเข็ม เนื่องจากจะทำให้ซิลิโคนที่เคลือบอยู่หลุดออกและก่อนจะนำขยะไปทิ้งควรปิดปลอกเข็มให้สนิท หาภาชนะใส่ให้มิดชิด หรือเก็บรวบรวมให้เรียบร้อยแล้วนำมาให้ทางโรงพยาบาลกำจัดทิ้ง เนื่องจากเป็นขยะติดเชื้อ
ใครเคยฉีดอินซูลินตอนท้องบ้าง อันตรายไหม
การฉีดอินซูลินในคนท้อง ทำได้ไหม? สตรีมีครรภ์สามารถใช้อินซูลินในการรักษาหรือฉีดอินซูลินได้แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร การใช้อินซูลินนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่มักใช้อินซูลินน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ อินซูลินที่ใช้จะไม่ตกค้างในน้ำนมและไม่ส่งผลต่อทารก
ฉีดอินซูลินอันตรายไหม ผลข้างเคียงจากการฉีดอินซูลินมาก มีอาการอย่างไร คนท้องสามารถฉีดอินซูลินได้ไหม ทั้งหมดนี้หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคน รวมถึงสาระน่ารู้ต่างๆ เกี่ยวกับการฉีดอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด หรือรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด สามารถใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถใช้ได้ง่าย ๆ ด้วยตนเองที่บ้าน ทำให้ทราบผลการตรวจได้อย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำอีกด้วย
หากคุณกำลังมองหาที่ตรวจน้ำตาลในเลือดที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทั่วโลกให้การยอมรับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงแต่เลือกไม่ได้ว่าจะซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลยี่ห้อไหนดี ก็สามารถสอบถามข้อมูลกับร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ของเราได้ตลอดเวลา เราพร้อมช่วยคุณเลือกเครื่องวัดความน้ำตาลที่ดีที่สุดไปใช้งานเสมอ 😊
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical