การเจ็บป่วยอย่างการเป็นไข้ เป็นเรื่องที่เราสามารถพบและเป็นกันได้อยู่ป่วยครั้ง ยิ่งในยุคที่มีโรคระบาดอย่างโรคโควิด19 การตรวจ เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้จึงการเป็นเรื่องสามัญธรรมดาที่เราควรจะต้องมีความรู้ติดไว้ ซึ่งในยุคก่อนการวัดไข้จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือปรอทที่เป็นเครื่องมือวัดไข้ที่ค่อนข้างจะใช้งานยาก แต่ทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องใช้งานเครื่องวัดยาก ๆ อีกต่อไป เพราะในปัจจุบันมีปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายและใช้ได้ง่าย และในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาดูกันว่า วิธีใช้ปรอทวัดไข้ดิจิตอล นั้นทำอย่างไร
วิธีใช้ปรอทวัดไข้ดิจิตอล
เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายหลายคนคุ้นชินตามสถานพยาบาลต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้เครื่องที่วัดไข้กลายเป็นของสามัญประจำบ้านไม่ว่าจะใช้วัดไข้เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้หรือเป็นหวัดได้บ่อย ๆ หรือตัวเราเองก็ควรที่จะต้องมีเก็บไว้เช่นเดียวกัน แต่หลายคนก็มีความสงสัยว่า ที่วัดไข้ใช้ยังไง ซึ่งวิธีใช้ที่วัดไข้สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- เปิดปุ่มเปิดเครื่องค้างไว้จนหน้าจอ LED แสดงผลขึ้นมา
- หลังจากนั้นให้ทำการสังเกตหน้าจอที่จะบอกอุณหภูมิปัจจุบันของห้องเพื่อให้เราทราบ หากอยู่ในสถานะ LO หรืออุณหภูมิต่ำกว่า 32 องศา จะถือว่าเครื่องพร้อมทำงาน
- โดยทั่วไปแล้วที่วัดไข้ วิธีใช้จะมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ
- อมใต้ลิ้น หรือทางช่องปาก : ก่อนทำการวัดไข้ควรทำความสะอาดเครื่องให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้อมไว้ให้ตัวปลายของที่วัดไข้อยู่ใต้โคนลิ้น และหลังจากนั้นให้อมไว้และระมัดระวังให้ปากของเรานั้นปิดสนิทอยู่ตลอดเวลา อมไปจนกระทั่งเครื่องมีเสียงร้องปี๊ป หลังจากนั้นก็สามารถอ่านผลการวัดอุณหภูมิได้จากหน้าจอได้เลย
- เหน็บรักแร้ : ก่อนเริ่มทำการวัดไข้ควรทำความสะอาดที่วัดไข้ และทำความสะอาดบริเวณรักแร้ข้างที่ต้องการที่จะวัดไข้ให้สะอาดเรียบร้อย หลังจากนั้นให้เหน็บค้างไว้ประมาณ 2 นาทีหลังจากนั้นให้ตรวจสอบดูว่าตัวเลขบนหน้าจอหยุดกระพริบแล้วหรือไม่ หากหยุดกระพริบแล้วสามารถตรวจสอบค่าอุณหภูมิบนหน้าจอได้ทันทีเลยเช่นกัน
วิธีการเก็บรักษาและการดูแลการเปลี่ยนแบตเตอรี่
แน่นอนว่าก่อนหรือหลังจากการใช้งานทุกครั้งเราควรมีการทำความสะอาดตัวปรอทที่วัดไข้อยู่เสมอ ซึ่งวิธีการทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นทำความสะอาดไปให้ทั่วบริเวณ นอกจากนี้ยังมีคำถามยอดฮิตที่ว่า ที่วัดไข้ใช้ได้กี่ครั้ง ซึ่งสามารถตอบได้เลยว่าโดยทั่วไปแล้วที่วัดไข้จะสามารถใช้งานได้ยาวนานเป็นปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งานของแต่ละบ้าน ซึ่งหากถ่านหมดแล้วก็สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ๆ ด้วยการดึงปลอกออกและใช้ถ่าน ขนาด 1.5 โวลต์ (LR41)เข้าไป เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้เหมือนใหม่แล้ว
ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลธรรมดากับแบบอินฟราเรด ต่างกันอย่างไร
ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างวิธีใช้ปรอทวัดไข้ terumo ซึ่งเป็นปรอทวัดไข้แบบธรรมดา กับ วิธีการใช้เครื่องวัดไข้ omron ซึ่งเป็นปรอทวัดไข้แบบอินฟราเรดว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร อย่างแรกเลยก็คือเวลาที่เราไปตรวจร่างกายตามโรงพยาบาลเรามักจะพบเห็นว่าพยาบาลมักจะนำเครื่องวัดไข้มาจ่อที่หูของเราและจะสามารถแสดงผลของอุณหภูมิได้เลยทันที ซึ่งเครื่องวัดไข้ประเภทนี้จะเป็นเครื่องวัดไข้แบบอินฟราเรด ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะการตรวจวัดจะอาศัยการสั่นที่มีความแม่นยำกับการวัดไข้ทางปาก และที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้มากกว่า 2500เลยทีเดียว และเปรียบเทียบกับแบบธรรมดา แบบธรรมดาจะเป็นปรอทที่ใช้สามัญภายในบ้านได้ทั่วไป ราคาถูกกว่า แต่มีความยุ่งยากและขั้นตอนที่มากกว่าแบบอินฟราเรดเพราะจำเป็นที่จะต้องวัดจากทางปากและทางรักแร้เท่านั้น
เทอร์โมมิเตอร์ หรือที่วัดไข้ สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นหวัด
และสำหรับใครที่ยังลังเลบอกเลยว่าการวัดไข้ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไป เพราะบางครั้งในยุคปัจจุบันการดูแลตัวเองและคนที่เรารักให้เข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ก่อนใครและสามารถทราบความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยด้วยตนเอง ที่วัดไข้ ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลจึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องที่จำต้องมีไว้ติดบ้าน ซึ่งหากท่านมีคำถามสงสัยทางการแพทย์อย่างเช่น ที่วัดไข้ใช้ยังไง ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ Rakmor ที่เป็นศูนย์รวมอุปกรณ์จำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์อย่างครบวงจร