ภาวะหายใจล้มเหลว คืออะไร ?
ระบบหายใจล้มเหลว หรือภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure) คือ ภาวะเซลล์ขาดออกซิเจน หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินไป เกิดจากระบบทางเดินหายใจที่ทำงานผิดปกติไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ และไม่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดได้ เมื่อออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน หรือเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายสูง เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกายทำให้ร่างกายเสียสมดุล จนนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวในที่สุด
ภาวะหายใจล้มเหลว มีกี่ประเภท
1.ภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ
ภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำหรือการแลกเปลี่ยนแก๊สล้มเหลว คือ ปริมาณออกซิเจนในขณะที่หายใจเข้าต่ำ โดยมีค่าความดันย่อยของออกซิเจนต่ำกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท
2.ภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
ภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง หรือการระบายอากาศล้มเหลว โดยมีค่าความดันย่อยของคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท
ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว เกิดจากอะไร ?
ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีหลายปัจจัยเสี่ยง บางครั้งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตสำหรับสาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลว มีดังนี้
- การสูบบุหรี่ เสพสารเสพติดและดื่มสุรา
- การสูดดมควัน สำลักควัน เช่น ควันจากไฟไหม้
- การบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อหรือซี่โครงบริเวณปอด
- โรคที่เกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ โรคโควิด-19
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ
- โรคเรื้อรังทางพันธุกรรมทำให้การสร้างเสมหะข้นในปอด
- เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
- การได้รับบาดเจ็บบริเวณทรวงอกหรือกระดูกสันหลัง
- ร่างกายขาดโปรตีนโดยมีภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ
- ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือเคยผ่านการทำเคมีบำบัดมาก่อน
- เกิดจากการติดเชื้อที่ในกระแสเลือด
- ได้รับอุบัติเหตุบริเวณไขสันหลังและลำคอ
อาการของภาวะหายใจล้มเหลว
ภาวะหายใจล้มเหลวมีอาการอย่างไร อาจพบได้หลายอาการ อาการเมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำและอาการเมื่อมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงนั้น แตกต่างกัน สำหรับอาการมีดังนี้
- ออกซิเจนในเลือดต่ำ
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ขึ้น
- ริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้าเป็นสีเขียว
- คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
- มองภาพเบลอไม่ชัดเจน
- เกิดอาการสับสน
- ปวดศีรษะ
- หัวใจเต้นเร็ว
การตรวจวินิจฉัยภาวะหายใจล้มเหลว
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเราหรือคนในครอบครัวมีภาวะหายใจล้มเหลวต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค 3 วิธีหลักๆ ดังนี้
1.การเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง
แพทย์จะเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดงเพื่อดูค่าความดันก๊าซ ทั้งก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนได้ออกไซด์ โดยค่าความดันออกซิเจนนั้นจะต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือพบว่าค่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท
2.การตรวจเลือด Arterial blood gas
การตรวจเลือด Arterial blood gas สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันหรือภาวะหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง หากพบว่าเลือดเป็นกรดหรือมีค่า pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่ามีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน แต่หากมีค่า pH ลดลงเพียงเล็กน้อย อาจบ่งบอกว่าผู้ป่วยเป็นมานานหลายวันแล้ว
3.การตรวจดูปริมาณเม็ดเลือดแดง
นอกจากการตรวจเลือด Arterial blood gas และการเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดงแล้วยังสามารถการตรวจดูปริมาณเม็ดเลือดแดงเพื่อวินิจฉัยโรคได้ หากพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกตินั้นแสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลวมานานแล้ว
การรักษาภาวะหายใจล้มเหลว
ภาวะหายใจล้มเหลวรักษาได้ หลายคนสงสัยว่ารักษาที่บ้านได้ไหม จำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ แนวทางการรักษาภาวะหายใจล้มเหลว แบ่งแนวทางการรักษาเป็น 2 วิธี ดังนี้
1.การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันหรือมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและต้องนอนโรงพยาบาลแพทย์ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยเคสนี้จะอยู่ในโซนผู้ป่วยวิกฤตหรือห้องไอซียู แพทย์จะทำให้ออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้นหรือทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ร่วมกับการให้ออกซิเจนเพื่อบำบัด ตั้ง PEEP ช่วยควบคุมความดันภายในปอดช่วยลดการบาดเจ็บของปอดจากการใช้งานเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น รวมถึงการจัดการของเหลวในร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ หากมีมากไปของเหลวอาจสะสมในปอดแต่ถ้ามีน้อยอาจทำให้อวัยวะและหัวใจตึงช็อกได้
2.การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังและไม่รุนแรง
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาหารเรื้อรังแต่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถรักษาที่บ้านได้หรือแพทย์อนุญาตให้กลับไปนอนพักรักษาตัวที่บ้าน โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการรักษา เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน สายให้ออกซิเจน หน้ากากครอบสำหรับให้ออกซิเจน เป็นต้น บางเคสต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย อย่างไรก็ตาม การพักรักษาตัวที่บ้านผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทานเองเด็ดขาดต้องทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เมื่อแพทย์นัดจะต้องไปตามนัด ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อการรักษาภาวะหายใจล้มเหลวอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อความปลอดภัย
📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 8 วิธีดูแลปอด ช่วยฟื้นฟูปอดให้แข็งแรง มีสุขภาพดี ห่างไกลโรคร้าย
วิธีป้องกันและดูแลตัวเองจากภาวะหายใจล้มเหลว
ภาวะหายใจล้มเหลวแม้จะพบบ่อยในผู้สูงอายุแต่อย่าลืมว่าคนอายุน้อยหรือเด็กๆ มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้เช่นกัน โรคภัยไข้เจ็บไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเราและครอบครัวของเรา ดังนั้น จำเป็นต้องหาแนวทางการป้องกันอย่างถูกต้องหรือถ้าเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยหรือดูแลตนเองอย่างถูกวิธี สำหรับการป้องกันและการดูแล มีดังต่อไปนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ งดพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด เป็นต้น
- หันมาทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ทานผักผลไม้ ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำเป็น และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมในทุกๆ 5 ปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอด
- จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องผลิตออกซิเจน เป็นต้น ศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัยเลือกอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ดีมีประสิทธิภาพสูง
- เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบ หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อยล้า หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะรุนแรง หรือมีอาการอื่นๆ ที่รุนแรงไม่ควรชะล่าใจต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตอาการ
ภาวะหายใจล้มเหลว คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีรักษาอย่างไร พร้อมแนวทางการดูแลและป้องกัน หวังว่าจะเป็นแนวทางดีๆ ทำให้ทุกคนคงรู้แล้วใจมากขึ้น หากเกิดภาวะนี้ขึ้นกับตัวเองหรือคนในครอบครัวจะสามารถรับมือได้อย่างถูกต้อง ไม่ตกใจเกินกว่าเหตุแต่ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยแม้จะพบได้มากในผู้สูงอายุแต่ไม่ได้หมายความว่าคนอายุน้อยจะรอดพ้น
อย่างไรก็ตามภาวะหายใจล้มเหลวสามารถรักษาได้โดยการพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงหรือเครื่อง High Flow อุปกรณ์ที่สำคัญ ช่วยฟื้นฟูและบำบัดผู้ป่วยทำให้หายใจสะดวกขึ้น สามารถสั่งออนไลน์ได้ง่ายๆ ที่ Rakmor ในราคาคุ้มค่า ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูง พร้อมการรับประกันสินค้า
แหล่งข้อมูล :