สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ที่เราทุกคนต้องเผชิญหน้ากันอยู่ในขณะนี้ และในประเทศไทยของเรา ก็มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อจำนวนไม่น้อย ผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะไม่รุนแรง ในขณะที่ผู้ป่วยหลายๆ รายมีภาวะรุนแรง เชื้อลงสู่ปอด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ เนื่องจากประสบปัญหาเตียงไม่เพียงพอ ทั้งโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลสนาม วันนี้เราจึงจะมาแนะนำผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องนอนรักษาตัวที่บ้านเพื่อรอเตียงว่าง ในระหว่างนี้ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
เตียงผู้ป่วยโควิด-19 เต็ม ! ดูแลตัวเองอย่างไรดี ?
1.รักษาระยะห่างกับคนที่บ้านทันที
ผู้ป่วยที่พบว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เนื่องจากประสบปัญหาเตียงไม่เพียงพอ อันดับแรกเลย ผู้ป่วยจะต้องรักษาระยะห่างกับคนในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย โดยผู้ป่วยจะต้องกักตัวอยู่ในห้อง ห้ามอาศัยอยู่ในห้องร่วมกับผู้อื่นเด็ดขาด ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรทำให้อากาศในห้องสามารถถ่ายเทได้สะดวก เช่น การเปิดหน้าต่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาด้วย
2.ดูแลรักษาความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ให้ดี
ต่อมาคือการดูแลรักษาความสะอาด ห้ามให้ผู้ป่วยใช้สิ่งของเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น โดยต้องแยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว ผู้ป่วยและคนอื่นๆ ภายในบ้านจะต้องหมั่นล้างมือด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพหรือใช้แอลกอฮอล์แบบฉีดพ่นใส่ขวดสเปรย์รวมไปถึงทุกคนในบ้านต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากผู้ป่วยอาศัยอยู่ในหอพัก คอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ไม่ควรกด ลิฟท์โดยตรงหรือยืนพิงผนังสัมผัสกับตัวลิฟท์
3.ดูแลรักษาร่างกายด้วยตัวเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์
ผู้ป่วยที่พบว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เนื่องจากเตียงเต็มทำให้ต้องกักตัวที่บ้าน จะต้องไม่เครียดมากเกินไปพยายามคลายความกังวล ดูแลร่างกายของตนเองให้ดี รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เน้นอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เมื่อรู้ตัวว่าติดโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร
- หากคุณไปตรวจคัดกรองแล้วพบว่าผลเลือดเป็นบวก อันดับแรกอย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจไปเกินกว่าเหตุ ให้กลับไปกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation จะมีเจ้าหน้าที่โทรหา แต่ถ้าคุณตรวจโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ โดยเป็นการตรวจหาเชื้อด้วยตนเองและพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ให้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการรักษา
- เตรียมเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารผลตรวจเชื้อโควิค-19
- ในระหว่างนี้อาจต้องกักตัวหรือนอนรอเตียงที่บ้าน รอเจ้าหน้าที่มารับตัวไปรักษา
- เมื่อพบว่ามีไข้สูงตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ยิ่งต้องดื่มน้ำให้มากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หมั่นเช็ดตัวบ่อยๆ
- หากมีอาการไอ ให้รับประทานยาบรรเทาอาการไอ พยายามนอนตะแคง หนุนหมอนสูงหลีกเลี่ยงการนอนราบ
- ในกรณีที่มีอาการคลื่นใส่ อาเจียนหรือท้องเสีย ให้ลดปริมาณอาหารแต่เพิ่มมื้ออาหารแทน งดอาหารจำพวกนม โยเกิร์ตหรืออาหารที่ย่อยยาก
- เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการหายใจไม่สะดวกหรือหายใจลำบาก ควรทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเท พยายามหายใจเข้าลึกๆ หรือซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนเพียงพอ สำหรับเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดก็สามารถใช้เฝ้าระวังอาการได้ ราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
ติดโควิด-19 สามารถติดต่อที่ไหนได้บ้าง
หากพบว่าติดเชื้อโควิค-19 สามารถต่อติดมายังสายด่วนโควิค-19 ได้ที่เบอร์ดังต่อไปนี้
- กรมการแพทย์ โทร 1668 ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น.
- สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 ติดต่อได้ 24 ชม.
- สปสช. โทร 1330 ติดต่อได้ 24 ชม.
- กรมควบคุมโรค โทร 1422 ติดต่อได้ 24 ชม.
- ประกันสังคม โทร 1506 ติดต่อได้ 24 ชม.
- Taxi Covid-19 รับส่งผู้ป่วยโควิด-19 โทร 096-771-1687 (แจ้งล่วงหน้าก่อน 1 วัน)
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิดออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สีเขียว สีเหลืองและสีแดง ในแต่ละระดับ มีอาการดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว
ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากหรือไม่รุนแรง เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง มีผื่นขึ้น ไม่มีโรคร่วม
- ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง
ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการที่รุนแรงหรือมีโรคร่วม เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โรคปอด โรคไตเรื้อรัง โรงหัวใจและหลอดเลือด ภาวะอ้วน เป็นต้น
- ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดง
ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีการเอกซเรย์แล้วพบว่าปอดอักเสบแบบรุนแรง หรือเชื้อลงปอด มีภาวะปอดบวม มีภาวะอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96%
ไปอยู่โรงพยาบาลสนาม ควรเตรียมอะไรไปบ้าง?
- เตรียมเสื้อผ้าไปอย่างน้อย 14 ชุด
- เตรียมของใช้ส่วนตัวไปด้วย เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ฯลฯ
- เตรียมยารักษาโรคประจำตัวไปด้วย
- เครื่องมือการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์การชาร์จ
- ปลั๊กไฟ ควรเตรียมไปด้วย โรงพยาบาลสนามบางแห่ง อาจมีจำนวนปลั๊กไฟไม่เพียงพอ
การรักษาแบบ Home Isolation เมื่อเตียงผู้ป่วยโควิด-19 เต็ม
ทำรักษาด้วยวิธี Home Isolation หรือ การกักตัวที่บ้าน ในกรณีที่เตียงผู้ป่วยเต็ม คือ อีกหนึ่งวิธีในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย โดยแพทย์จะทำการประเมินให้สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ การปฏิบัติตัวคือห้ามออกจากบ้าน ห้ามให้ใครมาเยี่ยม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร แยกห้องพัก ไม่ควรทานอาหารร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ แยกเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น
นอกจากนี้ก็อย่าลืมหาซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มาใช้งานเพื่อเช็คว่าออกซิเจนในเลือดด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่าค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าระดับ 95% หรือไม่
คลิกอ่านเพิ่มเติม : เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วดูยังไง อ่านค่าแบบไหน ค่าปกติควรมีลักษณะเป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ ก็คือ ข้อควรปฏิบัติในการเอาชีวิตรอดในยุค Covid-19 ที่เราเอามาแชร์ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคน ในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เราทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกัน ดูแลรักษาตนเองให้ดี รับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบผู้อื่นและหากพบว่าติดเชื้อ ก็อย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจ ให้ตั้งสติไว้แล้วทำตามคำแนะนำดังกล่าว แล้วเราจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical