หัวใจทารกในครรภ์เต้นช้า
ความผิดปกติอย่างหัวใจทารกในครรภ์เต้นช้า เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในบางกรณี ซึ่งวิธีที่จะทำให้รู้ว่าหัวใจทารกเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ผ่านอุปกรณ์ หรือกระบวนการทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งการตรวจฟังเสียงหัวใจ ก็จะทำให้รู้จังหวะการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ว่าเต้นช้าหรือเต้นเร็วเกินกว่าปกติหรือไม่ ในกรณีที่เต้นช้า ถือว่าหัวใจทารกทำงานผิดปกติ ไม่เป็นผลดี ต้องมีตรวจหาสาเหตุ และต้องรีบทำการติดตาม วินิจฉัย เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
หัวใจทารกในครรภ์เต้นช้าเท่าไหร่ ? ถึงเรียกว่าผิดปกติ
การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ จะความแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ซึ่งเราสามารถตรวจวัดการเต้นของหัวใจได้จากเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ผ่านการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วในช่วงสัปดาห์ที่ 25-28 หัวใจทารกจะเต้นประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที จนมาถึงช่วงสัปดาห์ที่ 28 ขึ้นไปหัวใจทารกจะเต้นประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเกิดว่าหัวใจทารกในครรภ์เต้นช้ากว่าปกติในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์เหล่านี้ แสดงว่าหัวใจทารกเต้นผิดปกติ ควรจะได้รับการรักษาโดยด่วน
ทำไมหัวใจทารกเต้นช้า มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
หัวใจทารกในครรภ์เต้นช้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งโดยหลักๆแล้ว สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หัวใจทารกเต้นช้า มีดังนี้
- ปัญหาทางสรีระวิทยา เช่น การตรวจพบว่าระบบไฟฟ้าในหัวใจไม่ทำงานปกติ หรือการติดต่อระหว่างเซลล์ของหัวใจไม่เพียงพอ
- อาจเกิดจากปัญหาทางพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาทางระบบไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ทารกในครรภ์ติดเชื้อไวรัสในขณะตั้งครรภ์ หรืออาจติดโรคต่างๆ มาจากผู้เป็นแม่
- ทารกป่วยเป็นโรคหัวใจในเด็ก โดยโรคนี้จะเกิดขึ้นในช่วงการพัฒนาหัวใจ ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างหัวใจมีความผิดปกติ หรือทำให้หลักการทำงานของหัวใจเปลี่ยนแปลง จนส่งผลให้หัวใจทารกเต้นช้า และยังส่งผลต่อการเติบโต และพัฒนาของทารกในครรภ์
หัวใจทารกในครรภ์เต้นช้า มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ?
การตรวจสอบการเต้นของหัวใจช้าทารกในครรภ์ ทำได้หลายวิธี แต่หลักๆแล้ว แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะนิยมตรวจสอบด้วย 3 วิธีนี้
1.ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก (Fetal Doppler)
การตรวจสอบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ด้วยเครื่องฟังเสียงหัวใจทารก เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะช่วยให้สามารถติดตามความสมบูรณ์ และติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ในช่วงเวลาต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งโดยส่วนใหญ่เครื่องมือนี้จะถูกใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 12 ขึ้นไป
📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 5 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก ยี่ห้อไหนดี ? ที่ตอบโจทย์การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
2.ใช้หูฟังแพทย์ (Stethoscope)
หูฟังแพทย์ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ได้ โดยในปัจจุบันวิธีการตรวจสอบการเต้นของหัวใจวิธีนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพราะช่วยให้แพทย์ได้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อประเมินความเร็ว จับจังหวะการเต้น และคุณลักษณะของเสียงพิเศษ ที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพต่างๆ นอกจากนี้การตรวจสอบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ยังด้วยวิธีนี้ เพราะมีผลต่อการวินิจฉัย และมีผลต่อการติดตามสุขภาพของหัวใจของทารกในครรภ์อีกด้วย
3.ทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
การทำอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจสอบการเต้นหัวใจทารกในครรภ์ เป็นวิธีที่นิยม และเป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่เลือกทำ เพราะทำให้แพทย์วินิจฉัยและติดตามสภาพของหัวใจทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อทารกและแม่ แต่การทำอัลตร้าซาวด์จะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลครรภ์เท่านั้น
การที่หัวใจทารกในครรภ์เต้นช้า ถือเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขและรักษาโดยเร็ว เพราะมีผลต่อสุขภาพร่างกาย และชีวิตของทารกในครรภ์ ดังนั้นการฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยด้วยเครื่องฟังเสียงหัวใจทารก เพื่อตรวจเช็คอัตราการเต้นของหัวใจในระหว่างการตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่แม่หรือแพทย์ผู้ดูแลควรทำเป็นประจำ เพราะจะทำให้รู้จังหวะการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ส่วนคุณแม่ท่านใดที่ต้องการฟังเสียงหัวใจลูกน้อย เพื่อประเมินและติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ แนะนำให้ซื้อเครื่องฟังเสียงหัวใจทารกจาก Rakmor ไปใช้งาน เพราะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง ทำให้คุณแม่ฟังเสียงหัวใจลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างชัดเจน และปลอดภัยกับลูกน้อยอย่างแน่นอน
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก